บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2020

กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

  กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่ นึกไม่ถึงว่า จะได้เจอตัวอย่างของหลุมพรางหรคุณจากการใช้งานจริง ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ผิดเพี้ยนไปในระดับหนึ่ง จนกระทั่งพบเจอปัญหาที่คุณเพิ่งหัดได้เคยตั้งคำถามเอาไว้ ขอย้อนกลับมาที่สูตรการหา hd จากปัญหาของคุณเพิ่งหัด ซึ่งเป็นดังนี้   hd=JD จุดกำเนิด - JD จุดเถลิงศก จศ. 0 =2443900.916667 - 1954167.96625 =489732.950417 ให้ hd เท่ากับ hd1=489732.950417 สูตรนี้ เมื่อประกอบเข้ากับสูตร มัธยมอาทิตย์แบบตัดพจน์ 373/800 ตามนี้ มัธยมอาทิตย์ = 360*800* hd/ 292207-3/60 เมื่อแทนค่ามัธยมอาทิตย์ไป ตามขั้นตอนจนถึงสูตรหาสมผุส พบว่า ได้อาทิตย์อยู่ราศี 9 มังกร : 12 องศา : 53 ลิปดา **************************************************** ขอให้เปรียบเทียบกับผลจาก ค่าหรคุณต่อไปนี้ ให้ดี hd2=489733.41667   เกิดจากหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ของวันที่ 27 ม.ค. ค.ศ. 1979 บวกทศนิยมเวลาคือ 10 :00:00 น. โดยค่าของหรคุณนี้ แท้จริงเป็นหรคุณวันประสงค์ของวันที่ 26 ม.ค. ค.ศ. 1979 แต่เป็นหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ของวันที่ 27 ม.ค. ค.ศ. 197

กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

  กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน   กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกันทั้งที่มาจากตำราเดียวกัน เรื่องนี้ แทรกอยู่ในกระทู้ ต้นฉบับ ตามนี้ http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id= 3638 มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart ) อันเป็นต้นทางของข้อมูลที่ใช้เรียบเรียงชุดสมการสุริยยาตร์ขึ้นมาใหม่ ที่มาของเรื่องนี้ มาจากการถามตอบกันระหว่างคุณ เพิ่งหัด กับ คุณทองคำขาว ท่านผู้รู้ แต่จากการวินิจฉัยของท่านผู้รู้ เมื่ออ่านแล้ว มีลักษณะมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ส่งผลให้คำตอบของคำถามแท้จริงก็ยังไม่ได้รับการตอบ ประการแรก ผู้ถามยังไม่ได้รับคำตอบชัดๆว่า ทำไมจึงไม่ตรงกัน แต่ได้รับคำตอบเป็นข้อสันนิษฐานเชิงวิชาการแทน เช่น วิธีการหาค่ามัธยม สมผุส การใช้เกณฑ์ประมาณค่าที่แตกต่างกัน ทั้งในคัมภีร์แต่ละฉบับและในแต่ละวิธีการคำนวณตามโปรแกรม เป็นต้น ประการที่สอง แทนที่คำถามแรกจะจบลง ผู้ถามกลับถามปัญหาอื่นตามเข้ามาด้วยคือเรื่องของสมผุสของดาวอื่นๆ ที่พบว่า มันไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นกัน ประกอบกับการตอบปัญหาแบบร่ายยาวจนมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ที่ผลสรุปก็คือ มีเลขเกณฑ์บางส่วนผิดพลาด ต้อ

Julian Date หรรษา

  Julian Date หรรษา   มาแปลกหน่อย สำหรับตอนนี้   ขอรวบรวมสูตรหา Julian Date ไว้สักนิด เพื่อ ประโยชน์ในการวิเคราะห์ค่าหรคุณแบบต่างๆ ในอนาคต  สูตร Julian Date (หรคุณจูเลียน)  เนื่องจากนิยามแท้จริงของ Julian Date คือ การกำหนดนับวันสะสม นิยาม ณ เวลาเที่ยงวัน ณ เมืองกรีนิช สูตรโดยส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเป็นไปตามนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นเลขจำนวนเต็ม แต่สามารถปรับเวลาให้เป็นเที่ยงคืนได้ด้วยการหักลบไปอีก 0.5  เพื่อให้ทางนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ได้ใช้งานกันอย่างเหมาะสม กล่าวคือ  หรคุณจูเลียน ณ วันเวลาใด ๆ มีค่าเท่ากับหรคุณจูเลียน ลดลงเสีย 0.5 (เพราะนับที่เที่ยงวันเป็นหลักต้องถอยไปที่เที่ยงคืน) แล้วจึงเอาเวลาเป็นทศนิยมนับแต่เริ่มวันนั้นบวกเข้า  ข้อความนี้นำมาจากส่วนหนึ่งของ https://th.wikipedia.org/wiki/หรคุณจูเลียน  อ่านดูแล้วเห็นว่า อธิบายได้ดี เลยขอนำมาใส่ไว้เสียเลย  สำหรับข้อกำหนดการใช้งานโดยสรุป คือ ใช้ ปีเป็น คริสต์ศักราช ส่วนเดือนที่ใช้ในการคำนวณ นับ 1 ที่เดือนมกราคม นับ 2 ที่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึง 12 ที่เดือนธันวาคม  และโดยมาก ปฏิทินที่เราใช้กันทั่วไปก็คือ ปฏิทินระบบเกรกอเรียน  หากต้องการใช้