บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2021

The Old Saram Correction Technic

  The Old Saram Correction Technic การปรับปรุงผลลัพธ์การคำนวณในคัมภีร์สารัมภ์ ที่ผ่านมา ผู้เขียนเคยบอกกล่าวไว้แต่เพียงย่อๆว่า ถ้าเป็นการคำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์ จะมีคำตอบอยู่ 2 แบบ กล่าวคือ คำตอบเพียวๆ ที่มาจากวิธีการตามคัมภีร์โดยตรง กับเทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงผลลัพธ์ ในตอนนี้ เราจะมาบอกเล่ากันถึงสิ่งนี้ แต่เทคนิคนี้ จะไม่นำออกมาใช้อีกแล้ว เพราะว่า จะลองหันกลับไปหาวิธีการแบบ Original ของมันดูบ้าง   เผื่อว่า จะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ถ้ามันรีบด่วนมากๆ ก็จะมีเทคนิคแบบเร่งด่วนให้ใช้แก้ขัดกันไปก่อน ซึ่งจะมีบอกอยู่ในภายหลังเช่นกัน เอาล่ะ เรามาเริ่มกันเลย

Way To Go 2022 For SaturnOwl

  Way To Go 2022 For SaturnOwl หันกลับมามองดูในความเป็นไปของเพจ พร้อมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการของโลกและของบรรดาผองอินทรีทั้งมวลแล้วก็ได้แต่เฝ้าดูกันต่อไป แต่ขอพื้นที่ไว้ให้เพจเล็กๆนี้ บ้างก็แล้วกัน จากเพจที่ริเริ่มทำเอามัน จากการตามหาปริศนา ณ หว้ากอ ว่าคิดกันมาได้อย่างไร สืบเสาะหาข้อมูลในบางส่วน และพบว่า บรรดาอินทรีและเหยี่ยวใหญ่ ก็สืบค้นตรงนี้ ไม่ต่างจากเรา แถมยังมีมุมมองของข้อมูลที่กว้างไกลกว่าเราเสียอีก ก็ได้แต่รับฟัง พิจารณาข้อมูลต่างๆที่มีเข้ามา จนที่สุด ก็เลยเลิกตามไป ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบรรดาอินทรีใหญ่เขาจัดการกันเอาเอง อย่างไรก็ดี บางทีเราก็อาจจะลองหาดูบ้าง แต่เป็นในแบบฉบับของเราเอง (ขอบคุณข้อมูลจากบรรดาอินทรีใหญ่ทั้งหลายเหล่านั้นไว้ด้วย ณ โอกาสนี้) สำหรับปัจจุบันนี้ เพจนี้ ก็จะอยู่ในลักษณะ Hybrid-Technology คือ มีทั้งเก่า ใหม่ ผสมผสาน ล้อกันไปกับโลกเทคโนโลยีอันก้าวหน้า ณ ปัจจุบัน อันไหนที่พอจะใช้คอมพิวเตอร์กระทำการได้ ก็จะดึงตรรกะต่างๆไปใช้งานกันเป็นอะไรที่น่าสนุก โดยไม่แบ่งแยกแล้วว่า ต้องเป็นดาราศาสตร์โบราณแต่เพียงอย่างเดียว คือ วิชามันต้องมีชีวิต ถ้าใช้งานไม่ได้ ก็เ

ว่ากันด้วยเรื่องของ Bug ภาค 2

รูปภาพ
  ว่าด้วย เรื่องของ Bug ภาค 2 ก่อนที่จะได้โพสเกี่ยวกับ Full Moon สุดท้ายของปี 2564 นี้ ได้พบกับความยากลำบากเนื่องจากไปเจอ Bug ของโปรแกรมตัวเอง(อีกแล้ว) แถมรอบนี้ หาที่ผิดไม่เจออีกด้วยต่างหาก เพราะไล่ตรวจโค้ด โค้ดมันก็ถูกทุกอย่าง แต่ไหงคำตอบมันออกมาเพี้ยนได้แบบสุดกู่ได้ล่ะ!!! ที่ประหลาดใจกว่านั้นอีก ก็คือ ชุดโค้ดในแบบ commandline ผ่าน nodejs กลับแสดงผลได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน ขณะที่ในแบบ GUI นั้นไม่!!! อะไรกันนี่!!!! (สันนิษฐานได้เลยว่า ต้องทำอะไรผิดไว้แน่ๆ แต่แค่ยังหาไม่เจอเท่านั้น แน่นอน!!!) เมื่อทุกอย่างงวดเข้ามา จนกระทั่งช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 18 ต่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564 เพื่อให้ได้ข้อมูลทำโพสของ Full Moon เลยตัดสินใจ ใช้ข้อมูลผ่านชุดโค้ดของ Commandline ทำงานร่วมกับ compiler online ในระบบอินเตอร์เน็ตแทนไปพลางก่อน และเข็นออกมาจนได้ในที่สุด

ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564

  ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564 เป็นการประกาศเฉยๆ เพราะขั้นตอนใดๆในการเกิดของมันนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่มันยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้าที่เมืองไทยครับ แต่ประเทศอื่นๆที่เข้าภาคกลางคืนไปก่อนหน้าเราก็คงจะเห็นมันอยู่ ผลการคำนวณอุปราคา จันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564 ช่วงเวลาบ่ายแก่ๆไปจนถึงก่อนอาทิตย์ตก คำนวณโดยใช้คัมภีร์สารัมภ์ พ่วงกับเทคนิคปรับปรุงผลลัพธ์ที่มีรายละเอียดตามนี้ การหาเวลาแรกจับและคลายออก ใช้วิธีพิจารณาจากทินาทอันเป็นส่วนครึ่งหนึ่งของทินประมาณพร้อมหาเวลากึ่งกลางคราสด้วยวิธีเฉลี่ย พบว่า วิธีนี้ ให้ค่าออกมาใกล้เคียงกับการคำนวณด้วยสูตรทางดาราศาสตร์ แม้จะไม่ใกล้กรายตัวเลขที่คำนวณได้จากทาง NASA เลยสักแอะ ก็ตาม สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 14 :20:12               เวลาคลายออก 17 :47:38               กึ่งกลางคราสจับเฉลี่ย 16 :03:55 สรุปข้อมูล Eclipse 19 November 2021 จากบรรดาข้อมูลทางดาราศาสตร์ ข้อมูลหลักจาก Nautical Almanac 2021 เป็นดังนี้ สรุปตัวเลข เวลาแรกจับ 07 :22 UTC (14:22)               เวลาคลายออก 10:41 UTC (17:41)               กึ่งกลางคราส 09 :

ว่ากันด้วยเรื่องของ Bug

รูปภาพ
ว่ากันด้วยเรื่องของ Bug สำหรับการพัฒนาโปรแกรมใดๆก็ตามแต่ หากไม่พบเจอกับสิ่งที่เรียกว่า Bug ก็ไม่น่าจะเรียกว่า ได้พัฒนาโปรแกรม แต่ถ้ามีเยอะมากเกินไป ก็คงไม่ไหว สำหรับโปรแกรมทดสอบคำนวณ FullMoon ในรอบนี้ก็เช่นกัน ซึ่ง Bug ของเรื่องนี้ เกิดขึ้นจากตรรกะที่ปรากฏอยู่เฉพาะในตำราฝั่งบ้านเรา ไม่ปรากฏในต้นทาง อาจเป็นเพราะความยาวนาน และเป็นแต่จำกฎเกณฑ์กัน ทำตามๆกันมา โดยไม่มีคนอธิบายหลักการให้ทราบ จึงทำให้การคำนวณนั้นเกิดปัญหา สุดท้าย ผู้เขียนจึงแก้ปัญหาด้วยการปรับใช้วิธีการของต้นทาง คือ ปรับเป็นสมผุสอาทิตย์บวก 180 องศา ลบสมผุสจันทร์ หารด้วย ภูจันทร์ เสีย เป็นอันจบเรื่องกัน อันที่จริง ยังมีวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ อีกด้วย แต่ไม่ได้ใช้ เนื่องจากต้องปรับสูตรและตัวแปรใหม่ทั้งหมด เรื่องเลยจบลงที่การใช้สูตรต้นทางเสียจะดีกว่า ( เป็นวิธีการที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างของโปรแกรมมากนัก) จากรูปที่ให้ไว้นี้ พบว่า เกิดปัญหา Bug ทางตรรกะ ที่เดือน 10 หรือตุลาคม นี่เอง โดยพบว่า เมื่อคำนวณโดยใช้คัมภีร์ ค่าที่ได้ออกมาเป็นค่าประหลาด จากการตรวจสอบโดยละเอียด พบว่าค่าที่ได้เกิดจากตรรกะที่ไม่เป็นไปตามสู

เมื่ออดีตพบกับปัจจุบัน ภาคคำนวณ FullMoon

รูปภาพ
  เมื่ออดีตพบกับปัจจุบัน ภาคคำนวณ FullMoon งานพัฒนาโปรแกรมคำนวณอุปราคาสารัมภ์   (เมื่ออดีตพบปัจจุบันภาคเวบไซต์) แวะมาบันทึกไว้สักหน่อยว่า ตอนนี้ ใช้ javascript ทำโปรแกรมหา FullMoon NewMoon ตามวิธีการในคัมภีร์สารัมภ์ได้แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ใช้แต่ spreadsheet ยอดนิยมกันมาเสียนาน วิธีการนั้นดูซับซ้อน ยอกย้อน น่าปวดหัวพอสมควร แต่ก็ผ่านมันมาได้ มีขัดใจอยู่อย่างเดียว เวลามันติด bug ไม่เคยแม้แต่จะฟ้องว่า เฮ้ย มันผิดนะเว้ย ที่บรรทัดไหน มีให้เห็นอย่างเดียวคือ คลิกแล้วไม่ตอบสนอง แถมไม่แสดงค่าที่ต้องการให้เห็นแม้แต่สักนิด ส่งผลให้คนทำนั้น มึนงงกันข้ามวัน ข้ามเดือน มาแล้วก็มี - _-‘ แถมวันดีคืนดี โค้ดก็หน้าตาเดิมๆ วันหนึ่ง รันไม่ได้ ข้ามไปอีกวันสองวัน เอามาลองทำใหม่ รันได้หน้าตาเฉย!!! เอาเข้าไป แบบนี้ ก็มี!!! -*- อย่างไรก็ตามแต่ เมื่อลากเข็นกันมาได้ถึงขนาดนี้แล้ว ก็ต้องขอบอกเทคโนโลยีที่ใช้ทำมันขึ้นมากันสักหน่อย ส่วนประกอบ javascript น่าจะ ES 6 หรือสูงกว่า ( ต่ำกว่าก็ได้นะ ยังรันได้ ไม่มีปัญหาอะไร) html/css นั้น ใช้ html ธรรมดา โล้นๆ แต่งแต้มโครงสร้างด้วย BootStrap V 5. x โ

งานทดสอบคำนวณสูตรอุปราคาสากล

งานทดสอบคำนวณสูตรอุปราคาสากล  บทนำ เดิมที จะมีอุปราคาเกิดช่วงปลายเดือน พฤษภาคม 2564  เรื่องคำนวณเร่งด่วนใดๆทั้งหมดนั้น ทำไปแล้ว แต่เนื่องจากว่าในมือ มีตำราอยู่สองชุด ซึ่ง ใช้วิธีการคำนวณแตกต่างกัน  เลยคันไม้คันมือ คิดจะลองนำมันมาช่วยในการคำนวณดูบ้าง  ตำราเล่มแรก เป็นของ Peter Duffett-Smith et al. ชื่อว่า Practical Astronomy with your Calculator or Spreadsheet ส่วนตำราอันที่สอง เป็นของ Jean Meeus ชื่อ Astronomical Algorithms  แบบแรก ขอเรียกย่อๆว่า Prac  ส่วนอันที่สอง เรียกย่อว่า Jean ก็แล้วกัน แบบแรก อันนี้ ใช้พวกการคำนวณการเคลื่อนที่ ตีเรตการเคลื่อนที่ต่อชั่วโมง พร้อมการหาตำแหน่งต่างๆของวัตถุ มีสูตรแจก (ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องกับงานเขียนเก่าๆของเขานั่นแหละ) แต่ไล่สูตรดูแล้ว อ่านพอเข้าใจ แต่จะจับต้นชนปลายตรงไหน อันนี้ เดาไม่ถูก เพราะเป็นสูตรที่เขียนในภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดูไม่ค่อยจะเข้าใจนัก (ภาษานี้ในผลิตภัณฑ์ของเล็กนิ่ม MSก็มี แต่ดูง่ายขึ้นแค่นิดเดียว ไม่ชอบเลย พวกบรรทัดกระโดดเนี่ย -_-‘) เอาค่าให้มันคำนวณให้ดู เออ ก็ตรงดีนิ  แต่ให้แกะสูตร บอกเลยยาก แค่จัดการกับพิกัดวัตถุ ยังแทบแย่ เวลา