เมื่ออดีตพบกับปัจจุบัน ภาคคำนวณ FullMoon

 

เมื่ออดีตพบกับปัจจุบัน ภาคคำนวณ FullMoon

งานพัฒนาโปรแกรมคำนวณอุปราคาสารัมภ์

 (เมื่ออดีตพบปัจจุบันภาคเวบไซต์)

แวะมาบันทึกไว้สักหน่อยว่า ตอนนี้ ใช้ javascript ทำโปรแกรมหา FullMoon NewMoon ตามวิธีการในคัมภีร์สารัมภ์ได้แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ใช้แต่ spreadsheet ยอดนิยมกันมาเสียนาน

วิธีการนั้นดูซับซ้อน ยอกย้อน น่าปวดหัวพอสมควร แต่ก็ผ่านมันมาได้ มีขัดใจอยู่อย่างเดียว เวลามันติดbug ไม่เคยแม้แต่จะฟ้องว่า เฮ้ย มันผิดนะเว้ย ที่บรรทัดไหน มีให้เห็นอย่างเดียวคือ คลิกแล้วไม่ตอบสนอง แถมไม่แสดงค่าที่ต้องการให้เห็นแม้แต่สักนิด

ส่งผลให้คนทำนั้น มึนงงกันข้ามวัน ข้ามเดือน มาแล้วก็มี -_-‘ แถมวันดีคืนดี โค้ดก็หน้าตาเดิมๆ วันหนึ่ง รันไม่ได้ ข้ามไปอีกวันสองวัน เอามาลองทำใหม่ รันได้หน้าตาเฉย!!! เอาเข้าไป แบบนี้ ก็มี!!! -*-

อย่างไรก็ตามแต่ เมื่อลากเข็นกันมาได้ถึงขนาดนี้แล้ว ก็ต้องขอบอกเทคโนโลยีที่ใช้ทำมันขึ้นมากันสักหน่อย

ส่วนประกอบ

javascript น่าจะ ES6 หรือสูงกว่า(ต่ำกว่าก็ได้นะ ยังรันได้ ไม่มีปัญหาอะไร)

html/css นั้น ใช้ html ธรรมดา โล้นๆ แต่งแต้มโครงสร้างด้วย BootStrap V5.x โดยข้อมูลนั้นหาจาก Help Doc บนหน้าเวบผู้ผลิต BootStrap มั่วๆ คลำทางกันไป ตามภาพที่ร่างแบบเอาไว้และปรับแต่งเมื่อทดสอบการแสดงผลข้อมูลจริง

Browser ที่ใช้ คือ Browser ที่รองรับ javascript ธรรมดานี่แหละ

ที่ผู้เขียนนิยมใช้ก็ Firefox กับ Chrome ส่วน Edge กับ IE นั้น ช่างมันเถอะ -_-‘(ไม่รับประกันนะ เพราะไม่เคยลองแฮะ)

Editor ที่ใช้จัดทำนั้น มีสองตัว คือ Brackets กับ VSCode ในเวอร์ชั่น OSS คือ VSCodium (สำหรับ Codium นี้มาทีหลัง เนื่องจากเห็นหลายคนเล่าลือกันว่า มันดี ของมันเด็ด ก็เลยเอามาลองเสียหน่อย ก็พบว่า มันดีจริงๆ)

สำหรับหน้าตานั้น ก็เห็นได้ดังรูป ข้อดีของ Bootstrap ข้อหนึ่งนั้นก็คือ เมื่อลดขนาดแสดงผลลง content ต่างๆบนหน้าเวบก็พลอยหดลงมาด้วย ทำให้เห็นข้อมูลต่างๆได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น เพียงแต่จะมีขนาดที่เล็กลงตามสัดส่วน (ภาพที่ได้นั้นเกิดจากการหดขนาดของหน้าเวบเพื่อให้ทำการจับหน้าจอได้ทั้งหมดในครั้งเดียวครับ)

สำหรับโปรแกรมในภาพนั้น อันหนี่งใช้คำนวณหา FullMoon ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ในเดือนสิงหาคม 2564 ส่วนอีกหนึ่งใช้หาจุด อมาวสีสมผุสของสุริยุปราคา ณ วันที่ 9 มีนาคม 2016 ซึ่งทั้งหมดเป็นค่าคำนวณตามจริงจากคัมภีร์ ยังไม่มีการเติมค่าแก้ใดๆลงไปทั้งสิ้น

สำหรับส่วนอื่นๆที่เหลือ ยังคงต้องรอการพัฒนากันต่อไป ตามแต่เวลาจะเอื้ออำนวยครับ

 






 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์