บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2023

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 3

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 3 จากตอนที่ 2 ได้ปูพื้นของแนวคิด และวิธีในการหาค่าของเทศานตรผลด้วยวิธีการตามความสัมพันธ์ และสูตรในตำราเดิมไปแล้ว           ในคราวนี้ เราจะเริ่มลงมือคำนวณเพื่อทดสอบข้อสันนิษฐานว่าสามารถทำได้ตามนั้นจริงหรือไม่           อันดับแรก จะเริ่มต้นจากข้อมูลดังต่อไปนี้ คือ พิกัดละติจูดพุกาม ที่ตั้งเมืองพุกามในประเทศพม่า พิกัด : 21°10′20″N 94°51′00″E เราจะใช้ค่านี้ ตั้งต้นคำนวณหาเทศานตรผลกัน

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 2

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 2 จากตอนที่ 1 หลังจากที่เราได้วินิจฉัยเชิงตัวเลขกันไปแล้วถึงค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์  โดยได้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ที่ 3 กับ 41 ตามลำดับ สำหรับพิกัด ณ เมืองพุกาม  ซึ่งทั้งหมดที่ทำการคำนวณมา เราใช้การคำนวณผ่านวิธีการสมัยใหม่ทั้งหมด แต่เมื่อย้อนกลับมุมมอง โดยคิดว่า หากเป็นในสมัยอดีตราวพันกว่าปีก่อนล่ะ  พวกเขาจะคำนวณค่าพวกนี้กันได้อย่างไร เมื่อไม่มีสิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมา ในตอนนี้ เราจะมาหาคำตอบของเรื่องนี้กัน

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 1

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้มัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน ตอนที่ 1 เกริ่นนำ      จากส่วนท้ายของบทนำ ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า เราจะเริ่มต้นกันจากเรื่องของเทศานตรผล เพื่อตามหากันว่า ตำรานี้ ใช้ที่แห่งใด เป็นจุดคำนวณ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าปรับแก้ไขกันแน่ ในที่นี้ จะขอใช้สูตรตามคัมภีร์สุริยสิทธานตะในการตามหาค่าเทศานตรผลกัน

ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ไขในมัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน บทนำ

  ปริศนาสุริยยาตร์ ค่าแก้ไขในมัธยมอาทิตย์และจันทร์นั้นมาแต่ไหน บทนำ           สำหรับผู้ที่สนใจการคำนวณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ คงต้องคุ้นเคยหรือผ่านตากับค่าแก้สองค่าที่ต้องใช้ ในการคำนวณเพื่อทำมัธยมอาทิตย์และมัธยมจันทร์ อันได้แก่ ค่า 3 และ 40 ลิปดา เป็นแน่ แต่เคยนึกแปลกใจบ้างไหม ว่า ค่าสองตัวนี้มันมาจากไหน  จริงๆแล้ว เรื่องนี้ก็เป็นปริศนาลับที่ค่อนข้างดำมืดมานานทีเดียว  เนื่องจากสืบเสาะหาที่มาของตำราไม่ได้แล้ว  เพราะนานจัด  (ตำรานี้ สืบอายุดูดีๆแล้ว กินระยะเวลาเลยหลักพันปีมาแล้ว การแก้ไขครั้งล่าสุด มีแค่ในสมัยของพญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย เท่านั้นเอง เกณฑ์ที่เหลือทั้งหมด แทบไม่มีใครแตะต้องมันเลยทั้งหมด  สังเกตได้จากเรื่องราวของท่านลาร์ ลูแบ ที่เคยนำตำราสุริยยาตร์ไปยังฝรั่งเศส  ตำราเล่มนั้นกับตำราที่พบเห็นและใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ แทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลยแม้แต่น้อย)