บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2016

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน เริ่มต้น กับ บรรทัดที่หายไป

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน เริ่มต้น กับ บรรทัดที่หายไป       เคยบ้างไหมครับ กับการทำอะไรสักอย่าง ตามวิธีการที่มีคนอธิบายไว้ แล้วตรวจพบในภายหลังว่า วิธีการที่ว่านั่น ได้ข้อมูลมาไม่ครบ !!!!      ว่ากันว่า ประวัติศาสตร์ เรื่องราว หรือว่า หลักวิชาต่างๆ ในอดีต มักจะขาดหายไปอยู่ส่วนหนึ่งเสมอ สิ่งที่ ถูกตั้ง เป็นข้อสันนิษฐาน เป็นประจำ ก็ คือ การจดบันทึก หรือการคัดลอกตำรา ที่ตกหล่น     นับว่า โชคดี ที่อยู่ในยุคปัจจุบัน ที่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ท่วมท้น จนคนต้องคัดกรอง !!! เพราะจะมีข้อมูล จากที่หนึ่ง และ อีกที่หนึ่ง ตลอดเวลา คุณ สามารถค้นหาอะไรก็ได้จากบรรดาเวบไซต์ จำนวนมากมาย ( เท่าที่จะมีคนเอาข้อมูลขึ้นไปให้ครับ เพราะถ้าไม่มี อยู่เลย มันก็ต้องทำเอาเอง แบบเดียวกับที่ผมทำนี่แหละ )      ทำให้เรา สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา ว่า ตรงไหน ครบ ตรงไหน ขาด เพียง แต่ต้องใช้วิจารณญาณกันสักหน่อย ในการผสมผสาน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่คัดกรองแล้ว อย่างถูกต้อง      สิ่ง สำคัญต่อไปจากนี้ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้มี การเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องออกไปให้มากที่สุด      สำหรับผมเอง ได้เจอเข้ากับต

สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์ ตอนที่ 3

สรุปขั้นตอนโดยย่อในการหาคราสอาทิตย์ ( สุริยุปราคา ) 1. ต้องมีค่าที่คำนวณเตรียมไว้แล้ว สำหรับใช้ในการคำนวณ ทั้ง 5 ค่า นั่นคือ รวิภุกดิ , รวิภุกดภุกดิ , จันทร์ภุกดิ , จันทร์ภุกดภุกดิ และ ภูจันทร์ พร้อมกับ ใช้ชุดค่า มัธยมและสมผุสที่ทำไว้ก่อนหน้า เอามาคำนวณประกอบกัน 2. หา เคราะห์หันตกุลา จาก สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมผุสอาทิตย์ปฐม 3. หา อมาวสีสมผุสดี จาก เคราะห์หันตกุลา และ ภูจันทร์ หน่วยของค่าที่ได้ เรียกว่า มหานาที และมหาวินาที ตามลำดับ 4. หา สมรวิกุลา จากการคูณ อมาวสีฯ กับ รวิภุกดภุกดิ 5. หา สมจันทร์กุลา จากการคูณ อมาวสีฯ กับ จันทร์ภุกดภุกดิ 6. หา สมราหูกุลา จากการคูณ อมาวสีฯ ด้วย 3 แล้วหารด้วย 60 7. หา ตักกลารวิ จาก สมผุสอาทิตย์ปฐม กับ สมรวิกุลา 8. หา ตักกลาจันทร์ จาก ผลบวกของ สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมจันทร์กุลา 9. ตรวจสอบ ค่าของ ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ ถ้าเท่ากัน หรือต่างกันอยู่ 1 ยังยอมรับได้ว่า ถูก ให้ทำต่อไป แต่ถ้าไม่เท่ากันเลย คือ ทำผิด ต้องย้อนกลับไปคำนวณมาใหม่ ( โดยส่วนใหญ่ จะเท่ากัน ) 10. ถ้า ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ เท่ากัน ให้หา ตักก

สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์ ตอนที่ 2

สรุปขั้นตอนโดยย่อในการหาคราสจันทร์ (จันทรุปราคา) 1. ต้องมีค่าที่คำนวณเตรียมไว้แล้ว สำหรับใช้ในการคำนวณ ทั้ง 5 ค่า นั่นคือ รวิภุกดิ , รวิภุกดภุกดิ , จันทร์ภุกดิ , จันทร์ภุกดภุกดิ และ ภูจันทร์ พร้อมกับ ใช้ชุดค่า มัธยมและสมผุสที่ทำไว้ก่อนหน้า เอามาคำนวณประกอบกัน 2. หา ฉายาเคราะห์ จาก สมผุสอาทิตย์ปฐม 3. หา เคราะห์หันตกุลา จาก ผลต่างของ ฉายาเคราะห์ กับ สมผุสจันทร์ปฐม 4. หา ปุณมี จาก เคราะห์หันตกุลา และ ภูจันทร์ หน่วยของค่าที่ได้ เรียกว่า มหานาที และมหาวินาที ตามลำดับ 5. หา สมรวิกุลา จากการคูณ ปุณมี กับ รวิภุกดภุกดิ 6. หา สมจันทร์กุลา จากการคูณ ปุณมี กับ จันทร์ภุกดภุกดิ 7. หา สมราหูกุลา จากการคูณ ปุณมี ด้วย 3 แล้วหารด้วย 60 8. หา ตักกลารวิ จาก ผลบวกของ ฉายาเคราะห์ กับ สมรวิกุลา 9. หา ตักกลาจันทร์ จาก ผลบวกของ สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมจันทร์กุลา 10. ตรวจสอบ ค่าของ ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ ถ้าเท่ากัน ให้ทำต่อไป แต่ถ้าไม่เท่ากัน คือ ทำผิด ต้องย้อนกลับไปคำนวณมาใหม่ 11. ถ้า ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ เท่ากัน ให้หา ตักกลาราหู จาก สมผุสราหูปฐม กับ สมราหูกุลา 12. หา ราหูภุช จา

สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์ ตอนที่ 1

สรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์       เกริ่นนำ ในที่นี้ ขอสรุปขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ใน คัมภีร์ สารัมภ์ ไว้โดยย่อ ภายใต้ข้อกำหนด ดังต่อไปนี้     1.จะขอใช้ ตำรา(คัมภีร์)สารัมภ์ ของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร เป็นหลัก คำเรียกค่าต่างๆ ที่มีอยู่ในการสรุปแต่ละขั้นตอน ถูกนำมาจาก คัมภีร์นี้ จะมีค่าอื่น จากคัมภีร์อื่นอยู่บ้าง เป็นส่วนประกอบ แต่ทั้งหมด จะมีการอธิบายในภายหลัง     2.การสรุปย่อขั้นตอนเหล่านี้ เป็นการบอกถึงภาพรวม ว่า ภายในคัมภีร์นี้ มีลักษณะการคิดคำนวณกันอย่างไร ต้องใช้ค่าอะไรบ้าง แต่จะไม่ลงลึกในรายละเอียดของการหาค่าเหล่านั้น เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตในการแนะนำนี้     3.คัมภีร์สารัมภ์นี้ ในบางครั้ง อาจใช้คำว่า ตำรา ขอให้เข้าใจว่า เป็นความหมายอย่างเดียวกัน  เมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว ก็มาเริ่มกันเลย      สรุปเนื้อหาคัมภีร์สารัมภ์โดยย่อ      สรุปขั้นตอนเริ่มต้น ก่อนการคำนวณโดยย่อ  1. หาวัน เดือน ปี ที่จะเกิดอุปราคา (ให้เลือกว่า จะทำ สุริยุปราคาหรือ จันทรุปราคา เพราะวิธีการที่ใช้สำหรับคำนวณ จะแตกต่างกัน) พร้อมกับระบุค่า องศา และ ราศีที่ อาทิตย์ สถิตย์อยู่ มาด้วย สำคัญมาก เพราะต้องใช้ประก

ก่อนเริ่มสรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์

       หลังจากกล่าวถึง ตำรานี้ มาก็นาน ต่อไปนี้ จะเริ่มแนะนำ คัมภีร์หรือตำราสารัมภ์กันบ้างล่ะ แต่ มีบางสิ่งที่ต้องบอกกล่าวกันก่อน ดังนี้      ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้รอบรู้ หรือรู้เชี่ยวชาญในด้านวิชาการที่เกี่ยวกับตัวคัมภีร์นี้ มากนัก รู้แค่ไหน ก็จะอธิบายไว้แค่นั้น ตรงไหนติดขัด จะรีบหาคำอธิบายด้วยศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียง อาทิ ดาราศาสตร์ทรงกลม ทรงกลมท้องฟ้า หรืออะไรอย่างอื่นๆ ที่พอจะดึงความรู้มาช่วยเหลือได้ อาจต้องใช้เวลาศึกษาบ้างก่อนจะให้คำตอบ     อีกประการหนึ่ง แม้ ผู้เขียนเอง เคยผ่านการเรียนวิชาทางด้านวิศวกรรมที่ต้องใช้การคำนวณในแนวคณิตศาสตร์แบบตะวันตก รวมถึงการใช้หลักวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยแบบปัจจุบันอย่างที่เรารู้จักกันดีทั่วๆไป ทว่า พอมาเจอระบบวิธีคำนวณในตำรานี้เข้าไป ถึงกับต้องถอยไปตั้งหลักกันใหม่ และปรับพื้นฐานกัน อีกรอบเลยทีเดียว เพราะระบบจำนวนที่ใช้ในตำรานี้ มีขอบเขตไม่เหมือนกับระบบจำนวนที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ ในการคำนวณ มีจุดให้คิดค่อนข้างเยอะมาก ต้องรอบคอบหน่อย ไม่เช่นนั้น หาที่ผิดไม่เจอครับ    ประการต่อมา ในที่นี้ ขอใช้ตำราของ อ.หล

สรุป สิ่งที่คิดว่าจะมีภายใน เวบบล็อกนี้ ตอนที่ 2

สรุป สิ่งที่จะนำเสนอภายในเว็บนี้ จะเป็นการ นำเสนอเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับ สองคัมภีร์นี้ กล่าวคือ คัมภีร์สารัมภ์ และ คัมภีร์สุริยสิทธานตะ ในส่วนของคัมภีร์สุริยสิทธานตะ จะนำเสนอ ร่วมกันกับ กลุ่มคัมภีร์อื่นๆที่มาในยุคเดียวกันหรือยุคหลังแต่มีแนวทาง ลักษณะเนื้อหา ใกล้เคียงกัน เอาไว้ด้วย คือ ไม่ได้เน้นแค่ สุริยสิทธานตะอย่างเดียว ส่วนของคัมภีร์สารัมภ์ ก็จะเน้นการนำเสนอ ในส่วนของวิธีการ หลักคิด การคำนวณ ประกอบกับ กรณีศึกษาการหาอุปราคาที่จะนำเสนอต่อไปในอนาคต อาจมีการแบ่งซอยเป็นหัวข้อย่อยๆ หลายๆส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอ การทำความเข้าใจ ในปัจจุบัน อาจมีการนำวิชาสมัยใหม่ มาช่วยแก้ปัญหาหรือเน้น ชดเชย ความคลาดเคลื่อน เท่าที่จะสามารถทำได้ ในขอบเขตที่ตัวเองรู้ ซึ่งวิธีการนี้ จะนำไปใช้กับ การนำเสนอเรื่องของ คัมภีร์ สุริยสิทธานตะ ด้วย เช่นกัน โดยแบ่ง ชุดของการนำเสนอ ผ่าน ชื่อของหัวข้อเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. ปริศนาสารัมภ์ นำเสนอ ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ คัมภีร์สารัมภ์ เท่าที่จะค้นคว้าออกมาได้ 2. นานาสิทธานตะ นำเสนอ ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ คัมภีร์ สุริยสิทธานตะและเหล่าบรรดาคัมภีร์อื่นๆที่มีล

สรุป สิ่งที่คิดว่าจะมีภายใน เวบบล็อกนี้ ตอนที่ 1

ขอขมวดประเด็นของเนื้อหาในเว็บนี้ ก่อนที่ตัวเองจะพามันออกไป ทะเล!!!! ความตั้งใจเดิมจริงๆ ไม่ได้เกิดที่คัมภีร์สารัมภ์ แต่ตั้งใจจะนำเสนอ คัมภีร์สุริยสิทธานตะและผองเพื่อน มากกว่า เพราะจริงๆแล้ว ที่สุดของคัมภีร์สารัมภ์ อยู่ที่ผลการคำนวณเพื่อตัดเวลาในการเกิดคราสอย่างแม่นยำ ในส่วนของการค้นหาสถานที่นั้น ไม่ได้บอกไว้ตรงๆ แต่บอกไว้ทางอ้อม ซึ่งถ้าจะหากันจริงๆต้องไปหาจากคัมภีร์อื่นและวิชาอย่างอื่น ดังนั้น ผมเลยเปลี่ยนใจ ออกไปตามหา คัมภีร์ที่คิดว่า น่าจะทำนายได้ทั้งเวลาและจุดเกิด (คิดไว้ว่า น่าจะมี) แล้วไปเจอสุริยสิทธานตะกับผองเพื่อนเข้า ซึ่งขณะนี้ก็ยังคงศึกษากันอยู่ ยังไม่จบเลยครับ ยากมาก!!!! มูลเหตุที่ทำให้ย้อนกลับเข้ามาหา คัมภีร์สารัมภ์อีกครั้ง อยู่ที่วิธีการตัดเวลาที่ได้มาจากคัมภีร์เดียวกัน แต่คนละผู้แต่ง ซึ่งใช้วิธีการที่คล้ายกันกับวิธีทางดาราศาสตร์ และพอจะเทียบเคียงได้กับดาราศาสตร์ในปัจจุบัน มาทดลองคำนวณ ดูคราสที่เกิดในปัจจุบัน แทบอึ้งกับผลที่ได้ เพราะเวลาใกล้เคียงมาก ขาดกันแค่นาทีเดียวก็มี ประกอบกับ ความค้างคาใจ ในเรื่องจันทรุปราคา เมื่อเวลาแรกจับ ไม่ใช่ช่วงหัวค่ำ แต่เกิดในช่วงเวลาเย็

สำรวจ

เมื่อ 2-3 วันก่อน ไปพบเจอผลงานของเหล่าผู้มาก่อน ที่เวบไซต์แห่งหนึ่ง อ่านดูก็รู้เลยว่า เรายังตัวเท่ามด !!!   แต่ก็คงต้องเตรียมการนำเสนอกันต่อไป เพราะที่มองๆดู ที่อ่านพบเจออยู่ ก็ไม่เห็นจะมีใคร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่มากกว่า ที่เห็นผ่านๆมา(หาด้วย google 360 องศา แล้วไม่พบในภาษาไทย 555+) ปล ท่องไว้ ทั้งเพจและ เวบไซต์นี้ ทำเอามัน สนองความต้องการในการค้นหา ข้อมูล ของตัวเอง เพียงแต่ขอให้มันเป็นประโยชน์ในการค้นหาแก่ผู้อื่นบ้าง สักนิด ก็ยังดี   อีโมติคอน kiki ปล เป็นตัวเอง ในแบบของ "ตัวเอง" นั่นแหละ ดีแล้ว!!!!(ใครเคยดู กังฟูแพนด้ามา น่าจะพอเข้าใจ ประโยคนี้)