แรกเริ่ม รู้จัก “คัมภีร์สารัมภ์”

          
          คัมภีร์สารัมภ์” นั้น ว่ากันว่า เป็นคัมภีร์ ที่สามารถใช้คำนวณ การเกิดอุปราคา ได้อย่างแม่นยำ 

 ซึ่งก็มีข้อพิสูจน์มาแล้ว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ เกิดสุริยุปราคาขึ้นในสมัย ร.4  

 ที่สามารถทำนาย เวลาที่เกิด และสถานที่เกิด ได้อย่างแม่นยำ จนบรรดาฝรั่งนั้น ทึ่งไปตามๆกัน

         สำหรับผมแล้ว จุดเริ่มต้นที่ทำให้หันเข้ามาสนใจ คัมภีร์นี้ ไม่ได้มีอะไรมากมายนัก  
มันเกิดขึ้นจากความสงสัย ที่ว่า “ถ้าสามารถคำนวณคราสได้ คัมภีร์นี้ พอจะบอกให้เราทราบได้ไหม ว่า เป็นคราสแบบเต็มดวง หรือว่า วงแหวน????” 
 
        จากจุดเริ่มต้น นี้เอง ที่ทำให้เริ่มตั้งต้น ที่จะศึกษาเนื้อหาในตัวคัมภีร์นี้ อย่างจริงจัง
        หลังจาก ฟันฝ่า ความเข้าใจ ความหมายในคำศัพท์ที่เขียนไว้ในคัมภีร์ และหน่วยที่ใช้คำนวณแล้ว พอสรุปออกมาได้ว่า พอจะทราบลักษณะของคราส เมื่อถึงกึ่งกลางได้ จากทำการเปรียบเทียบค่า รวิพิมพ์ กับ ศศิพิมพ์ ครับ(อีกตำราหนึ่ง เขียนว่า รวิพิมพ์ กับ จันทร์พิมพ์) ซึ่งความหมายเทียบเท่าใน วิชาดาราศาสตร์ ปัจจุบัน ก็คือ ขนาดปรากฎในรูปแบบเชิงมุม ของ อาทิตย์กับจันทร์ นั่นเอง

       หลักการก็คือ ถ้า พบว่า รวิพิมพ์ โตกว่า จันทร์พิมพ์ สุริยุปราคาที่ได้นั้น เป็น วงแหวน แน่นอน แต่ถ้า พบว่า จันทร์พิมพ์ โตกว่า รวิพิมพ์ สุริยคราสครั้งนั้น เป็นแบบเต็มดวง ครับ (โดยสมมติว่า เราไปสังเกตการณ์ ณ จุดที่เกิด ครับ)

       อันที่จริง มีจุดคำนวณจุดอื่นอีกจุดหนึ่ง เป็นจุดสังเกตจากวิธีคำนวณในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งจุดนี้ จะบอกเราได้เลยว่า ถ้าเกิดคราสในช่วงนี้ เป็นคราสวงแหวนแน่ๆ แต่ถ้าเกิดในอีกช่วงหนึ่ง จะเป็นคราสแบบเต็มดวงไป แทน
       จุดที่ว่านี้ ก็คือ การคำนวณหาจุดโคจร ใกล้-ไกล จากโลกของดวงจันทร์ นั่นแหละครับ คือ ถ้ามันเข้ามาใกล้โลก มันก็เป็น อุปราคาแบบเต็มดวงไป แต่ถ้ามันโคจรไกลห่างออกไปจากโลก แล้วไซร้ คราสที่ได้ เป็นแบบวงแหวน แน่นอน

        น่าสนใจดีนะครับ ที่คนสมัยก่อน สามารถคำนวณทราบ ขนาดปรากฎของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ได้
      ที่สำคัญ ค่าที่ได้นี้ ใกล้เคียงกับค่าที่คำนวณได้จากดาราศาสตร์ในสมัยปัจจุบันครับ
       จบไปอีก หนึ่งส่วน สำหรับเรื่องราวใน คัมภีร์ สารัมภ์ 
      แต่ยังมีอะไร ที่ต้องศึกษาอยู่อีกมากมายหลายขั้น กว่าจะคำนวณหาอุปราคาได้ นับว่า ไม่ธรรมดาจริงๆ สำหรับ คัมภีร์นี้ .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์