ก่อนเริ่มสรุปขั้นตอนต่างๆ ภายในคัมภีร์ สารัมภ์

       หลังจากกล่าวถึง ตำรานี้ มาก็นาน ต่อไปนี้ จะเริ่มแนะนำ คัมภีร์หรือตำราสารัมภ์กันบ้างล่ะ
แต่ มีบางสิ่งที่ต้องบอกกล่าวกันก่อน ดังนี้
     ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้รอบรู้ หรือรู้เชี่ยวชาญในด้านวิชาการที่เกี่ยวกับตัวคัมภีร์นี้ มากนัก รู้แค่ไหน ก็จะอธิบายไว้แค่นั้น ตรงไหนติดขัด จะรีบหาคำอธิบายด้วยศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียง อาทิ ดาราศาสตร์ทรงกลม ทรงกลมท้องฟ้า หรืออะไรอย่างอื่นๆ ที่พอจะดึงความรู้มาช่วยเหลือได้ อาจต้องใช้เวลาศึกษาบ้างก่อนจะให้คำตอบ
    อีกประการหนึ่ง แม้ ผู้เขียนเอง เคยผ่านการเรียนวิชาทางด้านวิศวกรรมที่ต้องใช้การคำนวณในแนวคณิตศาสตร์แบบตะวันตก รวมถึงการใช้หลักวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยแบบปัจจุบันอย่างที่เรารู้จักกันดีทั่วๆไป ทว่า พอมาเจอระบบวิธีคำนวณในตำรานี้เข้าไป ถึงกับต้องถอยไปตั้งหลักกันใหม่ และปรับพื้นฐานกัน อีกรอบเลยทีเดียว เพราะระบบจำนวนที่ใช้ในตำรานี้ มีขอบเขตไม่เหมือนกับระบบจำนวนที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ ในการคำนวณ มีจุดให้คิดค่อนข้างเยอะมาก ต้องรอบคอบหน่อย ไม่เช่นนั้น หาที่ผิดไม่เจอครับ
   ประการต่อมา ในที่นี้ ขอใช้ตำราของ อ.หลวงวิศาลดรุณกร เป็นหลักในการอธิบาย โดยมีตำราอื่นเช่น ของ อ.หลวงพรหมโยธี มาช่วยประกอบ เนื่องจาก เป็นคัมภีร์เริ่มต้นทำความรู้จักเป็นครั้งแรก มีเนื้อหาอ่านแล้วพอจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก ส่วน เรื่องวิธีคิดคำนวณและตัดเวลา อุปราคาที่มาจากตำราของ อ.หลวงพรหมโยธี จะเอามาใช้ในการอ้างอิงและทดสอบกับกรณีศึกษาที่จะกล่าวถึงต่อไปในอนาคต
      ถัดไปก็คือ ในการแนะนำนี้ จะไม่ลงลึกในรายละเอียด บอกแต่เพียงหัวข้อย่อๆ ที่เหลือ ต้องตามไปอ่าน ทำความเข้าใจในขั้นตอนนั้นๆ เอาเอง ที่คาดหวังว่า จะเอาหลักการมาใช้งานร่วมกับโปรแกรมนั้น นี้ โน่น นู่น เป็นสิ่งที่ผมจะไม่ทำครับ
     ทำไมน่ะหรือ เพราะว่า สิ่งที่เป็นจริงก็คือ มันมีความไม่แน่นอนสูงครับ ในแง่ของการผูกติดอยู่กับโปรแกรมนั้นๆ เพราะมีโอกาสที่โปรแกรมของเรา อาจใช้งานไม่ได้ เมื่อเปิดดูด้วยโปรแกรมเดียวกัน แต่เป็นรุ่นที่ใหม่กว่า
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ โปรแกรมประยุกต์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทหนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน (คิดเอาเองครับ เป็น บริษัทที่คุณก็รู้อยู่ว่า ใคร) ลองหันมองกลับไปดูสิครับ มี โปรแกรมoffice มาแล้ว กี่เวอร์ชั่น แต่ละเวอร์ชั่น เปลี่ยนทีนึง เป็นไงกันบ้าง เปลี่ยน OS โฉมใหม่ ทีนึง ดูซิ เป็นไงบ้าง(ตอนนี้ เป็น รุ่น10 แล้วนะ) ลักษณะประจำตัวของพวกเขา อย่างหนึ่ง ก็คือ เปลี่ยนใหม่ หนึ่งที ของเก่าตายเรียบ!!!! ไม่ได้โจมตีหรือมีอคติใดๆนะครับ เพราะผมนี่แหละ ก็คือ หนึ่งในผู้ประสบชะตากรรมเช่นนั้น เหมือนกันกับอีกหลายๆท่าน ที่เจอ นั่นล่ะครับ (เคยบ้าเขียนโปรแกรมอยู่พักนึงเหมือนกัน เจอ ช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นดอตเน็ตเข้าให้ เดี้ยงสนิท และต่องานไม่ติดอีกเลย อาเมน -___-')
   ดังนั้น สิ่งที่ผมจะทำ นั่นก็คือ การอธิบายหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ รวมถึงพยายามให้คนสมัยใหม่ ที่คุ้นเคยกับหลักวิชาคำนวณสมัยใหม่ต่างๆ ได้มีความเข้าใจกับระบบวิธีการคำนวณในคัมภีร์ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
  โดยจะยึดเอา แนวทาง หนังสือ คัมภีร์สุริยยาตร์ตามแนวทางของ อาจารย์ พลตรี บุนนาค ทองเนียม นี่แหละเป็นแบบอย่าง เพราะเท่าที่ดูจากหนังสือแล้ว ท่านก็ไม่ได้อิงอยู่กับ โปรแกรมใดๆ เพียงแต่ อธิบาย หลักการต่างๆ พร้อมทั้ง วิธีการ ในการทำไว้ อย่างละเอียด พอสมควร (แม้จะมีที่ผิดอยู่บ้าง แต่ผมก็ได้แจ้งไปให้ทางสำนักพิมพ์ทราบแล้วเช่นกันครับ ไม่ต้องกังวล)
   แนวทางนี้ ผมจะนำไปใช้กับการอธิบายตำรานี้ด้วย แต่คงเป็นระยะถัดไปหลังจาก การแนะนำในหัวข้อ เนื่องจากต้องลงลึกไปในรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน วิธีการ แต่เมื่อเราเข้าใจจากภาพรวมแล้ว การทำความเข้าใจในรายละเอียดของการคำนวณ น่าจะไม่ใช่เรื่องยาก
  ถ้าเข้าใจในขั้นตอน วิธีการแล้ว เราค่อยนำไปประยุกต์กับการเขียนโปรแกรมหรืออะไรอย่างอื่นก็ได้ สุดแล้วแต่ ในบางที แม้มีแค่กระดาษกับเครื่องคิดเลขดีๆ ก็คำนวณได้แล้ว ล่ะครับ ^___^ .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์