บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2016

คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม และ Excel

  คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒ าธิกรรม และ Excel หลังจากที่ มึนงง กับ เรื่องของ คตมาสเกณฑ์ ในการตามหาค่าอุณทิน มาร่วมแรมปี มาวันนี้ ส่งท้ายปีเก่า เรามาว่ากันต่อ แบบ เบาๆ ในขั้นตอนต่อไป หลังจากหาค่าเริ่มต้นที่เรียกว่า อุณทิน กันได้แล้ว โดยขั้นตอนถัดไป หลังจากได้ อุณทินกันมาแล้ว ให้เราลบค่าอุณทิน ออกไป ก่อน 1 แล้วนำค่าที่เราลบหนึ่ง ( เคยเขียนเป็นสมการไว้ดูเล่นแล้ว ไม่ขออธิบายซ้ำ ) ไปใช้ ในการหาค่าที่เรียกกันว่า พล ต่อไป ซึ่ง ขั้นตอนที่ว่า ในตำราท่านเขียนไว้ ดังนี้ครับ “( ๒ ) ตั้งอุณทินลง เอา ๑ ลบ แล้วเอา ๕๙๑๓๖๑๗๑๖ คูณผลลัพธ์นั้นให้นับถอยหลังขึ้นมาหาตัวต้น ถึงผลลัพธ์ตัวที่ ๗ แล้วให้กาไว้ แล้วให้ลบเสียทั้ง ๗ ตัว นั้นเถิด แต่ให้ลบถอยหลังขึ้นมาจนถึงตัวที่ ๖ ก่อน แล้วดูตัวที่ ๗ ที่กาไว้และจะลบต่อไปนั้น ถ้าเป็น ๐ , ๑ , ๒ , ๓ , ๔ ไม่ต้องเอา ๑ บวก ถ้าเป็น ๕ , ๖ , ๗ , ๘ , ๙ ให้เอา ๑ บวก ที่เลขตัวสุดท้ายของจำนวนที่ไม่ลบนั้น เรียกว่า อัฑฒาธิกรรม เป็นพลพระอาทิตย์ตราไว้ “ จากย่อหน้าที่กล่าวมา เราจะพบกับ คำที่เคยอธิบายให้ฟังแล้ว แต่ถูกตีความใหม่ คราวนี้ กาๆ ลบๆ แบบใช้คนล้วนๆกันเลยทีเดียว คือ คำ