คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม และ Excel

 คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม และ Excel

หลังจากที่ มึนงง กับ เรื่องของ คตมาสเกณฑ์ ในการตามหาค่าอุณทิน มาร่วมแรมปี มาวันนี้ ส่งท้ายปีเก่า เรามาว่ากันต่อ แบบ เบาๆ ในขั้นตอนต่อไป หลังจากหาค่าเริ่มต้นที่เรียกว่า อุณทิน กันได้แล้ว
โดยขั้นตอนถัดไป หลังจากได้ อุณทินกันมาแล้ว ให้เราลบค่าอุณทิน ออกไป ก่อน 1 แล้วนำค่าที่เราลบหนึ่ง(เคยเขียนเป็นสมการไว้ดูเล่นแล้ว ไม่ขออธิบายซ้ำ) ไปใช้ ในการหาค่าที่เรียกกันว่า พล ต่อไป
ซึ่ง ขั้นตอนที่ว่า ในตำราท่านเขียนไว้ ดังนี้ครับ
“() ตั้งอุณทินลง เอา ๑ ลบ แล้วเอา ๕๙๑๓๖๑๗๑๖ คูณผลลัพธ์นั้นให้นับถอยหลังขึ้นมาหาตัวต้น ถึงผลลัพธ์ตัวที่ ๗ แล้วให้กาไว้ แล้วให้ลบเสียทั้ง ๗ ตัว นั้นเถิด แต่ให้ลบถอยหลังขึ้นมาจนถึงตัวที่ ๖ ก่อน แล้วดูตัวที่ ๗ ที่กาไว้และจะลบต่อไปนั้น ถ้าเป็น ๐, , , , ๔ ไม่ต้องเอา ๑ บวก ถ้าเป็น ๕, , , , ๙ ให้เอา ๑ บวก ที่เลขตัวสุดท้ายของจำนวนที่ไม่ลบนั้น เรียกว่า อัฑฒาธิกรรม เป็นพลพระอาทิตย์ตราไว้ “
จากย่อหน้าที่กล่าวมา เราจะพบกับ คำที่เคยอธิบายให้ฟังแล้ว แต่ถูกตีความใหม่ คราวนี้ กาๆ ลบๆ แบบใช้คนล้วนๆกันเลยทีเดียว คือ คำว่า อัฑฒาธิกรรม นั่นเอง
แต่ช้าก่อน ในรอบนี้ การอัฑฒาธิกรรม ถูกกระทำไปพร้อมกันกับการตัดหลักของผลคำนวณด้วย นั่น ทำให้ผู้ที่เริ่มศึกษาตำราของ อ.หลวงวิศาลฯ เพียงอย่างเดียวจะเกิดความมึนงงและสงสัยเอาง่ายๆ ถ้าหากไม่มีคนสอนและ ไม่เคยอ่านตำราของ อ.หลวงพรหมโยธี(ขุนอินทรปราสาท) มาเทียบเคียง ครับ
สรุปง่ายๆก็คือ การอัฑฒาธิกรรม ตามย่อหน้าข้างบนนี้ เป็นวิธีการตัดหลักที่ไม่ต้องการออกจากผลคำนวณไปและปัดค่าในตัวด้วยพร้อมกันโดย ก่อนการตัดเลขในหลักสุดท้าย ให้ทำตามหลักอัฑฒาธิกรรม เกิน 5 ปัดทบ ต่ำกว่า 5 ปัดทิ้ง จะได้ผลการคำนวณสุดท้าย ตามต้องการ
สำหรับขั้นตอนนี้ เป็นการหาค่า พล สี่ค่า ต่อไปนี้ ได้แก่ พลพระอาทิตย์ พลพระจันทร์ พลอุจจ์ และ พลราหู โดยในแต่ละค่า จะมีตัวเลขที่ใช้คูณเข้าหา แตกต่างกัน ก่อนที่จะทำการตัดหลักออกไปจากผลที่คำนวณได้ตามขั้นตอน จนได้ผลลัพธ์สุดท้าย ที่เป็นค่าพล ของสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ออกมาสี่ค่า และพักเอาไว้ก่อนที่จะนำไปใช้คำนวณต่อ ในขั้นตอนถัดไป
วิธีการหาค่าพล ก็ตรงๆตามตำรา ถ้าเป็นการคำนวณด้วยมือ กล่าวคือ จากอุณทิน ลบด้วยหนึ่ง แล้วนำค่านั้น มาคูณด้วยค่าคงที่ค่าหนึ่งสำหรับแต่ละการทำพล แล้วนำค่าที่ได้มานั้น ให้นับถอยหลังมาก่อน 6 หลัก ยกค่าพวกนั้นทิ้งไป แล้วพิจารณาในหลักสุดท้าย ตามหลักอัฑฒาธิกรรมที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าปัดทบ ให้ทบเข้าหาหลักที่แปด ถ้าปัดทิ้งก็คือ ลบออกไปเลย จะได้ผลลัพธ์เป็น ค่าพลที่ต้องการ
แต่ถ้าเรานำเอาวิธีการตามที่กล่าวไว้ในตำรา มาปรับใช้ กับ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ล่ะจะทำอย่างไร
ในที่นี้ ขอเริ่มจากโปรแกรม spread sheet ยอดนิยมที่มีใช้กันอยู่แพร่หลายตามบ้านและสำนักงาน ได้แก่ microsoft excel (หมายเหตุ :วิธีการที่จะนำเสนอต่อไปนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับ libreoffice และ openoffice ซึ่งเป็นโปรแกรม spread sheet สำนักงาน ทางฝั่ง opensource ได้ด้วย)
โดยวิธีการที่แปลงออกมาจากขั้นตอนในตำรา สามารถทำได้สองแบบ ดังนี้
แบบแรก ให้ใช้คำสั่ง round(cell,-7) เพื่อตัดหลักตัวเลขใน cell ที่มีผลคำนวณของอุณทินลบหนึ่งคูณกับค่าคงที่ที่ใช้ทำพล แต่ละค่า(ซึ่งไม่เหมือนกัน) โดยจะนับมาจากด้านหลัง 6 ตำแหน่งพร้อมปัดค่าให้เรียบร้อย จากนั้นค่อยนำ 10000000 มาหารซ้ำอีกครั้ง ค่าที่ได้ จะเป็นค่าพล ตามต้องการ
แบบที่สอง ให้เอา 10000000 มาหารค่าจากตัวเลขที่ได้จากการคำนวณค่าอุณทินลบหนึ่งคูณกับค่าคงที่ ที่ใช้ทำพล ไปเลย จากนั้น ค่อยใช้ คำสั่ง round(cell,0) เพื่อเข้าสู่การปัดค่า เช่นเดียวกับแบบแรก
ค่าที่ได้จากทั้งสองแบบนี้ เป็นเลขจำนวนเต็ม

สำหรับวิธีการที่กล่าวมา สามารถใช้ได้กับบรรดาโปรแกรม spread sheet อื่นๆได้ด้วย นอกเหนือจากสองสามโปรแกรมที่กล่าวมาก่อนหน้า ขอเพียงแค่ มีคำสั่ง round() อยู่ ก็พอ แต่รายละเอียด วิธีการใช้อาจแตกต่างกันไปบ้าง ตามวิธีการใช้ที่แต่ละโปรแกรมกำหนดขึ้น
ส่วนวิธีการคำนวณค่าพล ด้วยวิธีการเขียนโปรแกรมคำนวณขึ้นมา ไม่ว่าจะใช้กับพวกโปรแกรมสำเร็จอย่าง mathlab , mathcad ,scilabฯลฯ นั้น บอกตามตรงว่า ยังไม่เคยลองทำครับ คงต้องฝากให้กับผู้ที่สนใจไปทดลองศึกษาค้นคว้ากันเอาเอง จบครับ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์