บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2022

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก Special EP

  เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก Special EP           มีของแถมเพิ่มเติม จากการคำนวณหาอุปราคา ในวันที่ 16 พ.ค. 2565 ณ อเมริกา เล็กน้อย โดยเรื่องนี้ มีที่มาจากความเมาหมัดระหว่างการทดสอบคำนวณ เนื่องด้วยความสับสนในค่าที่ต้องคำนวณบางส่วนระหว่างหน่วยองศากับลิปดา ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในบางขั้นตอนของการคำนวณพร้อมกับกระทบเป็นลูกโซ่มายังการหา Half Durations           เนื่องจากขั้นตอนการคำนวณในคัมภีร์ จะมีการหา Half Durations Of Eclipse และ   Half Durations Of Total Obscuration( การบังกัน) อยู่สองรอบ โดยหาค่าไว้ในรอบแรกก่อนหนึ่งรอบ แล้วค่อยวนซ้ำ แยกย่อยคำนวณหากันในแต่ละจุดต่อไป แต่เมื่อมันสะดุดที่รอบแรก ผลก็คือ ไปต่อไม่ได้ คำนวณอะไรต่อไม่ได้เลย           แล้วต้องทำอย่างไร ในเมื่อเราจะต้องสรุปตัวเลขแบบคร่าวๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบ เลยหวนนึกถึงวิธีการอันหนึ่งของท่านอารยภัฎขึ้นมาได้ เพราะวิธีการนี้ มีงานค้นคว้าที่บ่งชี้ได้ว่า หลักการของมันได้ถูกส่งต่อมายังคัมภีร์สารัมภ์และคัมภีร์ดาราศาสตร์โบราณอย่างอื่นๆที่ปรากฎอยู่ในแถบภูมิภาคอุษาอาคเนย์แห่งนี้ ซึ่งวิธีการที่ใช้ก็คือ นำ

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 2

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 2           ในคราวก่อนได้บอกกันไปว่า วันที่ 16 พ . ค . 2565 นอกจากเป็นวันเพ็ญแล้วยังมีอุปราคาเกิดในวันนั้นอีกด้วย แต่ยังไม่ได้บอกถึงผลการคำนวณ ในตอนนี้ เราจะมาสาธยายเรื่องนี้กัน           อันดับแรก ขอยกข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยและ Nautical Almanac มาให้ชมกันก่อนตามนี้ ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา  16  พฤษภาคม  2565                                เหตุการณ์                                      เวลา               UTC     UTC-4   1.  ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก           8:32:06           1:40     21:40    P1 2.  เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน               9:27:53           2:34     22:34    U1 3.  เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง                10:29:04         3:32     23:32    U2 4.  ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด              11:11:30         4:12     0:12     Mx 5.  สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง                 11:53:57         4:53     0:53     U3 6.  สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน                12:55:09        

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 1

  เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 1           อีกราว 3-4 วัน จะถึงเวลาของวันเพ็ญกันอีกแล้ว ซึ่งในรอบนี้ เป็นวันเพ็ญสำคัญทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ วันวิสาขบูชา ( ของบ้านเราประเทศไทย ตามปฏิทิน จะเป็นวันที่ 15 พ.ค. 2565 ที่จะถึงนี้) แต่นอกจากจะเป็นเพ็ญวันวิสาขบูชาแล้ว ในอีกซีกโลก ยังเป็นการเกิดจันทรุปราคาขึ้นอีกด้วย โดยจะเกิดขึ้นในวันที่ 16 พ . ค . 2565 นี่เอง           สำหรับบ้านเรา (SEA) เพ็ญรอบนี้จะเกิดขึ้นในตอนกลางวัน ฉะนั้น เราจึงไม่มีโอกาสได้เห็นอุปราคาในครั้งนี้ แต่เย็นวันที่ 16 พ . ค . นั้น จะได้พบกับ Full Moon แทน ( ส่วนวันที่ 15 พ . ค . ที่ปฏิทินบ้านเราบอกว่า เป็นวันวิสาขบูชา นั้น ก็เข้าข่ายเพ็ญอยู่ เพียงแต่มันจะเล็งตรงเป็นเพ็ญแท้ ก็คือเป็นห้วงเวลาในวันที่ 16 พ . ค . ไปแล้วนั่นแหละ )           ด้วยความที่งานหลวง งานราษฎร์ รัดกันวุ่นวาย แทบไม่มีเวลาพักหายใจ เพิ่งจะโล่งไปเมื่อไม่นานมานี้ ( ที่จริงคือ ขอพักยกแปบ ค่อยลุยกันต่อทีหลัง ) ระหว่างนั้น ตัวเราก็ตะเกียกตะกายกันไปด้วย กับการทดสอบคำนวณ FullMoon ผ่านคัมภีร์สุริยสิทธานตะอยู่ ซึ่งสบโอกาสพอดี เลยขอลองคำนว