เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 1

 เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 1

          อีกราว 3-4 วัน จะถึงเวลาของวันเพ็ญกันอีกแล้ว ซึ่งในรอบนี้ เป็นวันเพ็ญสำคัญทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ วันวิสาขบูชา(ของบ้านเราประเทศไทย ตามปฏิทิน จะเป็นวันที่ 15 พ.ค. 2565 ที่จะถึงนี้) แต่นอกจากจะเป็นเพ็ญวันวิสาขบูชาแล้ว ในอีกซีกโลก ยังเป็นการเกิดจันทรุปราคาขึ้นอีกด้วย โดยจะเกิดขึ้นในวันที่ 16 .. 2565 นี่เอง

          สำหรับบ้านเรา(SEA) เพ็ญรอบนี้จะเกิดขึ้นในตอนกลางวัน ฉะนั้น เราจึงไม่มีโอกาสได้เห็นอุปราคาในครั้งนี้ แต่เย็นวันที่ 16 .. นั้น จะได้พบกับ Full Moon แทน (ส่วนวันที่ 15 .. ที่ปฏิทินบ้านเราบอกว่า เป็นวันวิสาขบูชา นั้น ก็เข้าข่ายเพ็ญอยู่ เพียงแต่มันจะเล็งตรงเป็นเพ็ญแท้ ก็คือเป็นห้วงเวลาในวันที่ 16 ..ไปแล้วนั่นแหละ )

          ด้วยความที่งานหลวง งานราษฎร์ รัดกันวุ่นวาย แทบไม่มีเวลาพักหายใจ เพิ่งจะโล่งไปเมื่อไม่นานมานี้(ที่จริงคือ ขอพักยกแปบ ค่อยลุยกันต่อทีหลัง) ระหว่างนั้น ตัวเราก็ตะเกียกตะกายกันไปด้วย กับการทดสอบคำนวณ FullMoon ผ่านคัมภีร์สุริยสิทธานตะอยู่ ซึ่งสบโอกาสพอดี เลยขอลองคำนวณอุปราคาในรอบนี้กันดูเสียหน่อย ขอบอกไว้ก่อนว่า งานนี้ไม่หมู

          ที่ว่า ไม่หมู เป็นเพราะว่า หนึ่ง สูตรที่ใช้งานนั้น จะอิงกับสูตรผ่านตาราง sine เฉพาะตัวอยู่ในบางส่วนซึ่งต้องตีค่ากลับออกมาเป็นลิปดา ขณะที่ค่าซึ่งทำการทดลองกันอยู่นั้น ใช้องศาเป็นหลัก ก่อเกิดอาการเมาหมัดไปพักใหญ่ก่อนจะตั้งสติกลับมาไล่ขั้นตอนใหม่อย่างละเอียดอีกครั้งจนถึงบางอ้อ

          สอง เทศานตรผล กับ การคำนวณผ่านจุดอ้างอิง ให้ผลที่ค่อนข้างแตกต่าง สุดท้าย ต้องลากค่าภูจันทร์เข้ามาช่วยด้วยอีกทาง จึงจะพบทางออกที่เหมาะสม

          สาม การคำนวณใดๆทั้งหมด คิดที่เฟสเงามืดเป็นหลัก มีบางครั้งที่เวลาไปลงล็อกกับเงามัว ผลก็คือ มึน เอ๋??? มันไปทางนั้นได้ไง!!!!

          และเรื่องอื่นๆอีกมากมายจำนวนหนึ่ง

          เนื่องจากอุปราคาในรอบนี้ เกิดไกลถึง อเมริกา พิกัดที่ใช้คำนวณ เท่าที่ทราบจากตำรา ก็คงยึดเอาเมืองหลวงเป็นหลัก แต่พอดี นึกได้ว่า มีพี่ที่รู้จักกันทางออนไลน์ แกเคยอยู่ที่ Virginia beach มาก่อนเลยนึกสนุก ขอลองยืมพิกัดมาใช้คำนวณกันดูสักหน่อย

(พิกัด Longitude ของ Virginia Beach คือ 75.9779 deg W)

          ก่อนจะไปถึงบรรดาตัวเลข ขอบอกเล่าถึง ลักษณะของผลการคำนวณโดยย่อก่อน โดยแบ่งได้เป็นดังนี้

 สรุป ชุดตัวเลขอุปราคา จากการทดสอบตัวแปรต่างๆ

1. ชุดแรก ค่าเทศานตรผลผิด พบว่า ทุกค่าที่ได้ใกล้เคียงดาราศาสตร์สากล(เฉพาะกึ่งกลางห่างแค่ 2-3 นาทีเท่านั้น) แต่กลับเฟสของ Duration ทั้งหมด(คือ ต้องนำตัวเลขของเฟสหลังมาใส่ในเฟสแรกและเฟสแรกไปใส่ในเฟสหลัง จึงจะได้คำตอบรูปแบบเดียวกันกับชุดข้อมูลอื่นๆที่เหลือ)

   ขณะที่ ชุดข้อมูลที่มีค่าเทศานตรผลถูกต้อง จุดกึ่งกลางคราสกลับให้เวลาเกินไปถึง 10 กว่านาที ซึ่งพบว่าต้องใช้การแก้ไขด้วยภูจันทร์***

2. ชุดที่สอง ปรับมาที่อุชเชนี ไม่ใส่ค่าแก้ภูจันทร์ พบว่า ค่าที่ได้ มีความใกล้เคียงดาราศาสตร์สากล อยู่ภายในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

3. ชุดที่สาม แก้ค่าเทศานตรผลให้ถูกต้อง แบ่งเป็นสองชุดย่อยคือ

ชุดย่อยที่หนึ่ง ใส่ค่าแก้ภูจันทร์เฉพาะจันทร์และอาทิตย์ พบว่า ค่าที่ได้ ยังคงมีความใกล้เคียงดาราศาสตร์สากล แต่มีบางจุดห่างออกมา เช่นจุดสิ้นสุดอุปราคาเต็มดวงและบางส่วน(ห่างกันราว 10 นาที)

ชุดย่อยที่สอง ใส่ค่าแก้ภูจันทร์ของ จันทร์ อาทิตย์ และ Node พบว่า ได้ผลเช่นเดียวกันกับชุดย่อยแรก

4. ชุดที่สี่ ปรับค่ากลับมาที่อุชเชนี พร้อมแบ่งเป็นสองชุดย่อย คือ

ชุดย่อยที่หนึ่ง ใส่ค่าแก้ภูจันทร์เฉพาะจันทร์และอาทิตย์ พบว่า ค่าที่ได้มีความใกล้เคียงดาราศาสตร์สากล

แต่มีความไม่สมมาตรเกิดขึ้นในชุดผลการคำนวณ 

ชุดย่อยที่สอง ใส่ค่าแก้ภูจันทร์ของ จันทร์ อาทิตย์ และ Node พบว่า ได้ผลเช่นเดียวกันกับชุดย่อยแรก

 

หมายเหตุ ***

สำหรับชุดข้อมูลที่แก้ค่าเทศานตรผลให้ถูกต้อง จำเป็นต้องใส่ค่าแก้ภูจันทร์เนื่องจาก ค่าเวลากึ่งกลางคราสที่ได้มานั้น เกินไปจากค่าทางดาราศาสตร์ราว 10 นาที โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงทดลองใช้ค่าแก้ภูจันทร์ในการหักลบเพื่อให้ได้ผลการคำนวณที่ใกล้เคียงค่าจริงยิ่งขึ้น

เนื่องจากเขียนอะไรยาวไปมากพอสมควรแล้ว ขอยกยอดเรื่องผลการคำนวณไว้ในอีกหัวข้อถัดไป โปรดรอติดตาม.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์