บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2022

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-บทส่งท้าย

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - บทส่งท้าย           มีสองประเด็น ที่ต้องเอ่ยถึง ก่อนที่เราจะไปต่อในงานทดสอบคำนวณของสุริยสิทธานตะ           ประการแรก คือ เรื่องของแหล่งข้อมูล           ที่ผ่านมา เดิมทีนั้น ใช้แต่ตำราของ E.Burgess เป็นหลัก มีเอกสารประกอบอื่นๆ จากคำค้นว่า Hindu, Indian Astronomy กองกันอีกเป็นตั้งมโหฬาร แต่ทุกอันแทบจะเรียกได้ว่า ยากแก่การทำความเข้าใจเกือบทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่มีแต่การอธิบายเนื้อหาแต่ไร้ซึ่งตัวอย่างการคำนวณมาประกอบ           ต่อมา ราวช่วงปี 2019-2020 ทางผู้เขียนได้พบและอ่านเพื่อทำความเข้าใจวิธีการขั้นตอนคำนวณในคัมภีร์โบราณผ่านตำราที่ ด๊อกเตอร์ท่านหนึ่งได้เขียนเป็นผลงานไว้ ก็คือ งานของท่าน ศ . S. Balanchandra Rao. ซึ่งเขียนขึ้นผ่านมุมมองวิชาการร่วมสมัย ทำให้พอมองเห็นทางออกในการคำนวณผ่านตำราได้มากขึ้น จึงตัดสินใจใช้สิ่งนี้ เป็นแนวทางหลักแทน ในการคำนวณทั้งก่อนหน้าและนับต่อจากนี้

สุริยสิทธานตะ- Reboot-เรื่องของตาราง Sine ใน SuryaSiddhanta และการใช้งาน ตอนที่ 2

  สุริยสิทธานตะ- Reboot-เรื่องของตาราง Sine ใน SuryaSiddhanta และการใช้งาน ตอนที่ 2           ตาราง Sine ใน SuryaSiddhanta และการใช้งาน ตอนที่ 2           เรื่องของตาราง Sine ใน SuryaSiddhanta ยังคงไม่จบ เพราะมีคำถามทิ้งท้ายไว้ในตอนที่แล้ว ว่า หากพบค่ามุมที่ไม่ได้มีอยู่ในตารางขึ้นมาล่ะ คราวนี้ เราจะคำนวณกันอย่างไร ซึ่งประเด็นที่ว่า จะมานำเสนอกันต่อในตอนนี้

สุริยสิทธานตะ- Reboot-เรื่องของตาราง Sine ใน Surya Siddhanta และการใช้งาน ตอนที่ 1

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- เรื่องของตาราง Sine ใน Surya Siddhanta และการใช้งาน ตอนที่ 1           ตาราง Sine ใน Surya Siddhanta และการใช้งาน ตอนที่ 1           จากบทความการคำนวณตำแหน่งดาว ที่ผ่านมา จะพบว่า มีการใช้ตารางอันหนึ่งเข้ามาประกอบในการ คำนวณ โดยมีการเรียบเรียงวิธีการใช้งานจาก text ส่วนหนึ่งมาใส่ไว้ในขั้นตอนการคำนวณบางส่วนไว้พอสังเขป   ฉะนั้น ในบทความจากนี้ จะมานำเสนอกัน ถึงเรื่องราวของตารางที่ว่านี้กัน รวมถึงวิธีการใช้งานตารางเพิ่มเติม

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 7

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 7           การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860 การหา ตำแหน่งจริงและ True Daily Motion ของราหู (Node or Moon’s Node)           จากข้อมูลเดิม เราทราบแล้วว่า Mean Daily Motion ของราหู (Moon’s Node) มีค่าเป็นดังนี้                    ราหู Moon’s node   3’ 11” ในตอนนี้ เราทำการหา True Daily Motion และ ตำแหน่งจริงของราหูไปพร้อมกัน  

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 6

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 6           การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860 การหา True Daily Motion ของแต่ละวัตถุ           ข้อมูลที่ควรมีคือ Mean Daily Motion ของแต่ละวัตถุ ดังนี้           อาทิตย์    59’ 8”           จันทร์   13 ํ 10’ 34” 52’’’ หรือ 790’ 35”           อุจจ์จันทร์   Moon’s apsis   6’ 41”           ราหู Moon’s node   3’ 11”   ในตอนนี้ เราหา True Daily Motion ของอาทิตย์ กันต่อ

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 5

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 5           การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860 ( ต่อ )           ในตำราของ E.Burgess หลังจากหาตำแหน่งจริงของจันทร์กับอาทิตย์ได้แล้ว ก็นำไปสู่การหา True Daily Motion กันเลย และเช่นเคย วิธีการคำนวณหาในครั้งนี้ ก็ยังคงใช้ตาราง hindu sine ประกอบอยู่ดี

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 4

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 4           การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860           ในตอนก่อนหน้านี้ เราได้ตำแหน่งจริงของอาทิตย์ ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืนไปแล้ว ในตอนนี้ เราจะมาคำนวณหาตำแหน่งจริงของดาวอื่นๆที่เหลือต่อไป           สำหรับการหาตำแหน่งของจันทร์นี้ จะมีการใช้ค่าคำนวณประกอบร่วมกับตาราง hindu sine โดยในที่นี้จะมีวิธีการใช้งานรวมอยู่ในขั้นตอนการคำนวณบางส่วน สำหรับการอธิบายวิธีการใช้งานตารางนี้ ขอแยกไว้ต่างหากและจะกล่าวถึงในภายหลัง

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 3

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 3           การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860           คำนวณหาตำแหน่งจริง ( สมผุส ) ของแต่ละดาว           ในที่นี้ ขอใช้บางคำเรียกที่อยู่ในคัมภีร์สารัมภ์หรือสุริยยาตร์เรียกตำแหน่งดาวแทนในบางจุด หรือในบางกรณี อาจจะใช้คำเรียกค่าของตำแหน่งดาวเป็นภาษาอังกฤษไปเลย เช่น True Long. หรือ Mean Long. เป็นต้น           สำหรับการคำนวณหาตำแหน่งจริง ( สมผุส ) นี้ ตามตำราได้มีการประยุกต์การใช้งานกับตาราง sine แบบเฉพาะตัว เข้ามาคำนวณร่วมด้วย สำหรับขั้นตอน วิธีการแสดงไว้ด้านล่าง

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 2

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 2 เรื่องของค่าแก้เทศานตรผล เทศานตรผล ในตำราภาษาอังกฤษ เขียนว่า Desantaraphala หรือ Desantara Correction หลังจากคำนวณตำแหน่งดาวที่อุชเชนีได้แล้ว เราสามารถปรับตำแหน่งดาว จาก พิกัดของเมอริเดียนหลัก ไปสู่ เมอริเดียนใดๆ ก็ได้ ด้วยการใช้ค่าแก้ที่มีชื่อปรากฏ ดังกล่าวข้างต้น

สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 1

  สุริยสิทธานตะ - Reboot- คำนวณตำแหน่งดาว - ตอนที่ 1           หลังจากที่คำนวณหาอหรคุณผ่านสูตรที่ได้นำเสนอมาได้แล้ว ขั้นตอนต่อจากนี้ ก็คือ การเริ่มต้นหาตำแหน่งดาวต่อโดยใช้ค่าของอหรคุณ           บอกกล่าวกันก่อน บทความชุดนี้ เดิมที เคยเขียนไว้นานแล้ว เพียงแต่ยังไม่ทันนำออกไปเผยแพร่ ตั้งแต่ช่วงที่ยังใช้ตำราของ E.Burgess เป็นหลัก ดังนั้น ตัวอย่างวิธีการจึงเป็นสิ่งที่เรียบเรียงมาจากหนังสือของ E.Burgess แต่ได้เพิ่มเสริมในส่วนของวิธีการใหม่จาก ท่าน ศ . S.Balachandra Rao. ในภายหลัง รวมถึงวิธีการใช้งานตาราง sine ของ Hindu แต่พอสังเขป ซึ่งในตำราเดิม ก็ไม่ได้ระบุเอาไว้ ทางผู้เขียน จึงได้จัดทำและเรียบเรียงใหม่ เพื่อให้ทำความเข้าใจกับการใช้งานของมันได้ง่ายขึ้น

สุริยสิทธานตะ-เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ReBoot

  สุริยสิทธานตะ - เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ReBoot           ขอต้อนรับอีกครั้งอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ห่างหายไปนานและคงค้างอยู่ที่สูตรการหาอหรคุณแล้วก็ไม่ได้ทำอะไรต่อสำหรับการคำนวณสำหรับคัมภีร์สุริยสิทธานตะ           จากการทดสอบ ทดลองการใช้งานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้ข้อสรุปเริ่มต้นอันเป็นข้อควรกระทำ ( หรือประมาณ Rule Of Thumb) ว่า ให้สอบทานเช็คเวลากับค่าตัวเลขของ JulianDate ให้ดีก่อน เพราะเป็นค่าหลักที่ใช้ในดาราศาสตร์สากลที่ถือกันว่ามีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วในระดับหนึ่ง           นอกจากนี้ เพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้น จะขอใช้อหรคุณกลียุคศักราชที่มีจำนวนเพียง 6 หลัก และใช้วิธีการคำนวณอหรคุณผ่านความสัมพันธ์ของ อหรคุณกลียุคศักราช Kali Ahargana กับ JulianDate โดยใช้ JulianDate เป็นตัวตั้งแทน

นานาสิทธานตะ-เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ReBoot [สุริยสิทธานตะ]

  นานาสิทธานตะ - เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ReBoot [ สุริยสิทธานตะ ]           ขอย้อนกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนานและคงค้างอยู่ที่สูตรการหาอหรคุณแล้วก็ไม่ได้ทำอะไรต่อ ที่ผ่านมา มีการใช้งานไปอยู่บ้างประปราย แต่ไม่ได้นำเสนอว่าวิธีการคำนวณตามขั้นตอนในตำรานั้นเป็นอย่างไร เนื่องจากใช้ความเข้าใจทั้งหมดผ่านตำราในภาษาสากล แล้วคำนวณผ่านออกไป แถมยังต้องทำงานแข่งกับเวลา ไม่นับรวมการฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการประจำชีวิตอันแสนจะวุ่นวายใดๆอีก เลยไม่มีโอกาสได้นำเสนอกัน สิ่งสำคัญต้องแจ้งให้ทราบกันก่อนนับจากนี้ไป คือ นานาสิทธานตะ จะมุ่งเน้นมาที่เนื้อหาและวิธีการในคัมภีร์สุริยสิทธานตะ เป็นหลักใหญ่ ดังนั้น หัวข้อหลักๆในบรรดาชุดบทความต่อจากนี้   จึงขอเปลี่ยนจาก นานาสิทธานตะ ไปเป็น สุริยสิทธานตะ แทน เพื่อเป็นการเน้นในส่วนของเนื้อหาและการนำเสนอ พบกันใหม่ในตอนหน้ากับบทเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ของสุริยสิทธานตะ สวัสดี .

ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565

  ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565 เป็นจันทรุปราคาที่น่าสนใจ เพราะเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ก็คืออีกราว 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นวันลอยกระทงพอดี ในปีที่แล้ว ทุกอย่างเกิดขึ้นใต้ขอบฟ้าเมืองไทย ทำให้สุดท้าย สิ่งที่สังเกตได้เหลือเพียงแค่ FullMoon เท่านั้น แต่ในปีนี้ ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้า ตั้งแต่เวลา 17 :44 น.(ณ เวลา กทม.) ทำให้มีโอกาสเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง(เข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวง)อยู่นานพอสมควร และปีนี้ เป็นปีแรก ที่ขอสละเรือจากการคำนวณผ่านคัมภีร์สารัมภ์ ไปลองของกับคัมภีร์ทางต้นสายอันมีชื่อว่า สุริยสิทธานตะ ซึ่งเคยทดสอบมารอบหนึ่งแล้วกับจันทรุปราคา ณ เวอร์จิเนียบีช สหรัฐอเมริกา กับการทดสอบหา FullMoon มาแล้วสักระยะหนึ่ง

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก Special EP

  เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก Special EP           มีของแถมเพิ่มเติม จากการคำนวณหาอุปราคา ในวันที่ 16 พ.ค. 2565 ณ อเมริกา เล็กน้อย โดยเรื่องนี้ มีที่มาจากความเมาหมัดระหว่างการทดสอบคำนวณ เนื่องด้วยความสับสนในค่าที่ต้องคำนวณบางส่วนระหว่างหน่วยองศากับลิปดา ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในบางขั้นตอนของการคำนวณพร้อมกับกระทบเป็นลูกโซ่มายังการหา Half Durations           เนื่องจากขั้นตอนการคำนวณในคัมภีร์ จะมีการหา Half Durations Of Eclipse และ   Half Durations Of Total Obscuration( การบังกัน) อยู่สองรอบ โดยหาค่าไว้ในรอบแรกก่อนหนึ่งรอบ แล้วค่อยวนซ้ำ แยกย่อยคำนวณหากันในแต่ละจุดต่อไป แต่เมื่อมันสะดุดที่รอบแรก ผลก็คือ ไปต่อไม่ได้ คำนวณอะไรต่อไม่ได้เลย           แล้วต้องทำอย่างไร ในเมื่อเราจะต้องสรุปตัวเลขแบบคร่าวๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบ เลยหวนนึกถึงวิธีการอันหนึ่งของท่านอารยภัฎขึ้นมาได้ เพราะวิธีการนี้ มีงานค้นคว้าที่บ่งชี้ได้ว่า หลักการของมันได้ถูกส่งต่อมายังคัมภีร์สารัมภ์และคัมภีร์ดาราศาสตร์โบราณอย่างอื่นๆที่ปรากฎอยู่ในแถบภูมิภาคอุษาอาคเนย์แห่งนี้ ซึ่งวิธีการที่ใช้ก็คือ นำ

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 2

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 2           ในคราวก่อนได้บอกกันไปว่า วันที่ 16 พ . ค . 2565 นอกจากเป็นวันเพ็ญแล้วยังมีอุปราคาเกิดในวันนั้นอีกด้วย แต่ยังไม่ได้บอกถึงผลการคำนวณ ในตอนนี้ เราจะมาสาธยายเรื่องนี้กัน           อันดับแรก ขอยกข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยและ Nautical Almanac มาให้ชมกันก่อนตามนี้ ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา  16  พฤษภาคม  2565                                เหตุการณ์                                      เวลา               UTC     UTC-4   1.  ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก           8:32:06           1:40     21:40    P1 2.  เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน               9:27:53           2:34     22:34    U1 3.  เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง                10:29:04         3:32     23:32    U2 4.  ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด              11:11:30         4:12     0:12     Mx 5.  สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง                 11:53:57         4:53     0:53     U3 6.  สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน                12:55:09        

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 1

  เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 1           อีกราว 3-4 วัน จะถึงเวลาของวันเพ็ญกันอีกแล้ว ซึ่งในรอบนี้ เป็นวันเพ็ญสำคัญทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ วันวิสาขบูชา ( ของบ้านเราประเทศไทย ตามปฏิทิน จะเป็นวันที่ 15 พ.ค. 2565 ที่จะถึงนี้) แต่นอกจากจะเป็นเพ็ญวันวิสาขบูชาแล้ว ในอีกซีกโลก ยังเป็นการเกิดจันทรุปราคาขึ้นอีกด้วย โดยจะเกิดขึ้นในวันที่ 16 พ . ค . 2565 นี่เอง           สำหรับบ้านเรา (SEA) เพ็ญรอบนี้จะเกิดขึ้นในตอนกลางวัน ฉะนั้น เราจึงไม่มีโอกาสได้เห็นอุปราคาในครั้งนี้ แต่เย็นวันที่ 16 พ . ค . นั้น จะได้พบกับ Full Moon แทน ( ส่วนวันที่ 15 พ . ค . ที่ปฏิทินบ้านเราบอกว่า เป็นวันวิสาขบูชา นั้น ก็เข้าข่ายเพ็ญอยู่ เพียงแต่มันจะเล็งตรงเป็นเพ็ญแท้ ก็คือเป็นห้วงเวลาในวันที่ 16 พ . ค . ไปแล้วนั่นแหละ )           ด้วยความที่งานหลวง งานราษฎร์ รัดกันวุ่นวาย แทบไม่มีเวลาพักหายใจ เพิ่งจะโล่งไปเมื่อไม่นานมานี้ ( ที่จริงคือ ขอพักยกแปบ ค่อยลุยกันต่อทีหลัง ) ระหว่างนั้น ตัวเราก็ตะเกียกตะกายกันไปด้วย กับการทดสอบคำนวณ FullMoon ผ่านคัมภีร์สุริยสิทธานตะอยู่ ซึ่งสบโอกาสพอดี เลยขอลองคำนว