สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 5

 สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 5

          การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860 (ต่อ)

          ในตำราของ E.Burgess หลังจากหาตำแหน่งจริงของจันทร์กับอาทิตย์ได้แล้ว ก็นำไปสู่การหา True Daily Motion กันเลย และเช่นเคย วิธีการคำนวณหาในครั้งนี้ ก็ยังคงใช้ตาราง hindu sine ประกอบอยู่ดี

ต่อไปคือ การหา True Daily Motion ของแต่ละวัตถุ

          ข้อมูลที่ควรมีคือ Mean Daily Motion ของแต่ละวัตถุ ดังนี้

          อาทิตย์   59’ 8”

          จันทร์  13 10’ 34” 52’’’ หรือ 790’ 35”

          อุจจ์จันทร์  Moon’s apsis  6’ 41”

          ราหู Moon’s node  3’ 11”

 

ในตอนนี้ เราหา True Daily Motion ของจันทร์ กันก่อน

          ตัวอย่างที่สาม คำนวณหา True Daily Motion ของ ดวงจันทร์

          หาตำแหน่ง mean anomalistic ของจันทร์(ค่านี้ก็คือ mean anomaly นั่นเอง)

                                                                                   ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ความเร็วโคจรเฉลี่ยต่อวันของจันทร์                   0        0        790     35     

          หักลบ ความเร็วโคจรเฉลี่ยของอุจจ์จันทร์    -     0        0            6        41     

          moon's mean anomalistic                               0        0        783     54

         

          จากการหา True Place ของจันทร์

          เราได้ moon's mean anomaly  เป็น               10      18      46      15

 

          หาค่า sine ของ มุม mean anomaly คือ  2266 ลิบดา

          ค่าของมุม เป็น

          1 ราศี 11 องศา 13 ลิบดา 45 ฟิลิบดา หรือ  41 องศา 13 ลิบดา 45 ฟิลิบดา

          ขนาด epicycle เชิงมุม ณ จุดนั้น = 31 องศา 47 ลิบดา (32 00 – 00 13)

 

                                                                               ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          มุมของ moon mean anomaly                      1        11      13      45

 

          จากการเปิดตารางค่า sin ได้ค่า ผลต่าง sin เป็น 174

         

          จากนั้น เอามาเทียบสัดส่วนกันดังนี้

          225 / ผลต่าง sin = ค่า mean anomalistic / ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น

          จะได้ 225 ลิบดา/ 174 ลิบดา= 783 ลิบดา 54 ฟิลิบดา / ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น

          ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น = 783’ 54” x (174 / 225)

          ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น = 606 ลิบดา 13 ฟิลิบดา

          dimension ของ epicycle True Daily Motionหาได้จาก

รอบวงเชิงมุม / ขนาด epicycle เชิงมุม ณ จุดนั้น= ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น/ epicycle True Daily Motion

 

          จะได้  360 องศา/ 31 องศา 47 ลิบดา= 606ลิบดา13ฟิลิบดา / epicycle True Daily Motion

          epicycle True Daily Motion = 606’ 13” x (31’ 47” / 360 degree)

         

          epicycle True Daily Motion =53’ 31”

                   ในทำนองเดียวกัน กับ sin bhujajya phala

          ค่า mean anomaly ถ้า มากกว่า 9 ราศี หรือ น้อยกว่า 3 ราศี 

          ค่าแก้ epicycle True Daily Motion นำไปหักลบ

          แต่ถ้าจะนำไปบวก ถ้า ค่า anomalyน้อยกว่า 9 ราศี หรือ มากกว่า 3 ราศี

         

          ตรวจสอบจาก moon anomaly  แล้ว พบว่า น้อยกว่า 3 ราศี อยู่ใน q1 ฉะนั้น ค่าแก้นี้ นำมาลบ

          เมื่อนำมาลบกับ moon mean daily motion หรือ ความเร็วโคจรเฉลี่ยต่อวัน ของจันทร์ จะได้                                                                                

                                                                            ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ความเร็วโคจรเฉลี่ยต่อวันของจันทร์               0        0        790    35                                  

          ลบ epicycle True Daily Motion    -              0        0        53      31

          ความเร็วโคจรจริง True Motion Moon         0        0        737     4

 

     จะได้   737 ลิบดา 4 ฟิลิบดา เป็นความเร็วโคจรจริง True MotionMoon ณ เวลาที่คำนวณ

 

สำหรับค่าความเร็วโคจรจริงของดาวอื่นๆที่เหลือ คงต้องยกไว้ ไปนำเสนอวิธีการกันต่อ 

ในตอนหน้า.

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์