สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 3

 สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 3

          การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860

          คำนวณหาตำแหน่งจริง(สมผุส)ของแต่ละดาว

          ในที่นี้ ขอใช้บางคำเรียกที่อยู่ในคัมภีร์สารัมภ์หรือสุริยยาตร์เรียกตำแหน่งดาวแทนในบางจุด หรือในบางกรณี อาจจะใช้คำเรียกค่าของตำแหน่งดาวเป็นภาษาอังกฤษไปเลย เช่น True Long. หรือ Mean Long. เป็นต้น

          สำหรับการคำนวณหาตำแหน่งจริง(สมผุส)นี้ ตามตำราได้มีการประยุกต์การใช้งานกับตาราง sine แบบเฉพาะตัว เข้ามาคำนวณร่วมด้วย สำหรับขั้นตอน วิธีการแสดงไว้ด้านล่าง

          โดยในตอนนี้ เรามีตำแหน่งดาวที่ถูกแก้ไข โดยย้ายจากตำแหน่งดาวที่สังเกตได้ ณ เมืองอุชเชนี

เวลาเที่ยงคืนมาเป็นตำแหน่ง ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืนแทน ผ่านการใช้ค่าแก้เทศานตรผลแล้ว เป็นดังนี้

          ตำแหน่งของ ดวงอาทิตย์ ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน

                                                                                         ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ตำแหน่งมัธยม อาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงคืน อุชเชนี      8        17        48      7       

                                      บวกค่าแก้ เทศานตรผล   +                                25      6       

          ตำแหน่งมัธยม อาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงคืน วอชิงตัน     8        18      13      13

 

หาตำแหน่ง mean anomaly

                                                                                   ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ตำแหน่งมัธยม อุจจ์อาทิตย์ ณ วันคำนวณ            2        17      17      24     

          หักลบ ตำแหน่งมัธยม อาทิตย์      -                      8        18      13      13     

          sun mean anomaly                                           5        29      4        11

         

          หาค่า sine ของ มุม

                                                                   ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          เอา 6 ราศี ตั้ง                                          6                 

          หักลบ sun mean anomaly                         5        29      4        11     

          มุมของ sun mean anomaly                                            55      49

 

          ได้ค่าของมุม เป็น 55 ลิบดา 49 ฟิลิบดา ที่มุมมีค่าน้อยๆ ค่า sine เป็นค่าเดียวกับค่า arc คือ ประมาณ 56 ลิบดา

          ขนาด ของวงกลม epicycle เชิงมุม อยู่ที่ 14 องศา (ค่า anomaly อยู่ใน q2)

 

          จากนั้น เอามาเทียบสัดส่วนกันดังนี้

          รอบวงเชิงมุม / ขนาด epicycle เชิงมุม  = ค่า sin ของ anomaly / ค่า sin bhujajya phala

          จะได้  21600 ลิบดา/ 840ลิบดา= 56 ลิบดา/ ค่า sin bhujajya phala

          sin bhujajya phala = (56 x 840) / 21600 = 2.18 ลิบดา ประมาณ 2 ลิบดา

    ค่า mean anomaly ถ้า มากกว่า 9 ราศี หรือ น้อยกว่า 3 ราศี ค่าแก้ sin bhujajya phala นำไปหักลบ

          แต่ถ้าจะนำไปบวก ถ้า ค่า anomalyน้อยกว่า 9 ราศี หรือ มากกว่า 3 ราศี

         

          ตรวจสอบจาก sun anomaly  แล้ว พบว่า มากกว่า 3 ราศี ฉะนั้น ค่าแก้นี้ นำมาบวก

          เมื่อนำมาบวกกับ sun mean long midnight washington จะได้

                                                                                       ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ตั้งมัธยม อาทิตย์ ณ เวลาเที่ยงคืน วอชิงตัน            8        18      13      13               

          บวก sin bhujajya phala          +                                                   2       

          ตำแหน่งจริง True long. Sun                                  8        18      15      13

 

          ปัดเศษ ฟิลิบดาทิ้งไป จะได้   8 ราศี18 องศา 15 ลิบดา เป็นตำแหน่งจริง True Long Sun ณ เวลาที่คำนวณ

 

          สำหรับตำแหน่งจริงของดาวอื่นๆที่เหลือ คงต้องยกไว้ ไปนำเสนอวิธีการกันต่อ ในตอนหน้า.

 

หมายเหตุ สำหรับคำศัพท์ใหม่ ที่จู่ๆก็โผล่ขึ้นมา ได้แก่ คำว่า anomaly , epicycle  นั้น เป็นคำศัพท์ที่มีใช้กันอยู่ภายในวงการดาราศาสตร์ ที่ต้องขอยกไว้ ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมต่อเอาเอง เพราะแม้แต่ผู้เขียนเอง ก็ยังทำความเข้าใจได้ไม่ทั้งหมดเช่นกัน โดยคำแรกนั้น ยังคงมีการใช้งานอยู่ในดาราศาสตร์สากล ส่วนคำหลัง เป็นศัพท์ที่มีใช้ในดาราศาสตร์โบราณโดยเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณโมเดลการโคจรของดวงดาวรูปแบบหนึ่งในอดีต

สำหรับวิธีการที่เห็นอยู่ในบทความข้างต้นนี้ เกิดจากความพยายามในการเรียบเรียงข้อความของทางต้นฉบับมาประกอบกับข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทำให้พอเข้าใจได้ดีขึ้น  ถึงขั้นตอนการคำนวณ เนื่องจาก ในต้นฉบับ จะห้วนและลัด สั้นกว่านี้อยู่มากโข.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์