บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

ประมวลภาพเหตุการณ์เกิดสุริยุปราคา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

รูปภาพ
  ประมวลภาพเหตุการณ์เกิดสุริยุปราคา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562  อันเนื่องมาแต่กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พอดีว่า มีโอกาสได้นำข้อมูลบางประการไปนำเสนอในงานที่ตัวเองทำอยู่  เห็นว่า รูปสรุปภาพรวมนั้น มันสวยดี และอธิบายขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคาได้ดีพอในระดับหนึ่ง จึงนำเอามาลงไว้ ณ ที่แห่งนี้ด้วย.  ในการดูรูปนั้น ให้ดูจากซ้ายไปขวาและจากบนลงล่าง. ภาพล่างขวาท้ายสุดคือ ก่อนคราสจะคลายออก. หมายเหตุ สุริยุปราคาที่เห็นในประเทศไทย ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 นั้น  เป็นสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและเลนส์สังเกตดูดวงอาทิตย์ตลอด ทั้งปรากฎการณ์.

กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 5]

  กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 5]           หลังจากที่ นำเสนอการคำนวณสุริยุปราคา ในวันที่ 26 ธันวาคม พ . ศ . 2562 ด้วยหลักวิธีการตามคัมภีร์สารัมภ์ ทำเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาจบไปแล้วนั้น ผลที่ได้ พบว่า ยังมีบางค่า ที่ยังไม่สามารถคำนวณหาได้ และบางค่าที่ได้ ก็ยังผิดไปจากการคำนวณในทางดาราศาสตร์ค่อนข้างจะมากโขอยู่พอสมควร ( ตัวเลขเฉพาะเวลาปล่อย ก็ห่างกันอยู่เกือบๆจะ 1 ชั่วโมงแล้ว ) ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอ ผลการคำนวณที่ปรับปรุง ด้วยเทคนิคพิเศษบางประการ ซึ่งจะขอยกไว้และนำมากล่าวถึงในภายหลัง เพื่อแก้ไขและปรับปรุงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา สุริยุปราคา ปี 2562 วันที่ 26 ธันวาคม 2562 ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้ เวลาแรกจับตามตำรา หรือ สุทธประเวสกาล ไม่สามารถคำนวณหาได้ เวลาปล่อยตามตำรา หรือ สุทธโมกษกาล คำนวณได้ 2 มหานาที 40 มหาวินาที คิดเป็น เวลา ในปัจจุบัน คือ 13 นาฬิกา 4 นาที ขณะที่ เวลาปล่อยที่คำนวณได้ จากทางดาราศาสตร์ คือ 13 นาฬิกา 57 นาที 47 วินาที ต่างกันอยู่   53 นาที 47 วินาที   เพราะคำนวณหา เวล

กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4]

  กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4]           จากตอนที่แล้ว           ในกรณีศึกษา การคำนวณหา สุริยุปราคา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ตอนที่ 3 เราได้มาถึงครึ่งทางของการคำนวณ สุริยุปราคา แล้ว นั่นคือ การหาอมาวสีสมผุส และการหา ทินาท จากทินประมาณ ในตอนนี้ จะเป็นขั้นตอนการคำนวณที่ต่อเนื่องจากจุดนั้น โดยขั้นตอนต่างๆ ต่อจากจุดนั้น เป็นดังนี้ (39) อมาวสี ทินาท 15 – 15 = 0    } 0 – 0 = 0 }   ตรงจุดนี้ ไปไม่เป็นกันเลย อย่างที่กล่าวไปในตอนที่แล้ว เพราะไม่มีบอกไว้ในตำรา ในที่นี้ ป้อนโปรแกรมให้เป็น คต เรียก บุพรัตนนาที และกรณีนี้ นาทีรัตน นั้นเป็น 0 ฉายาเท่าขันธ์จึงเป็น 9 9 คูณ 0 = 0 0 หาร 60 = 0 เศษ 0 = 0 ลัมพกลา (40) ลัมพกลา 0 คูณ 60 หาร 800 = 0 มหานาฑี เศษ 0 0 คูณ 60 หาร 800 = 0 มหาวินาฑี เพราะฉะนั้น 0 มหานาฑี 0 มหาวินาฑี เป็นลัมพมหานาฑี (41) ตักกลารวิ 14994 - 0 ลัมพกลา = 14994 เป็นคต (ตรงจุดนี้ แอบโกงเล็กน้อย เนื่องจากมีตรรกะสุดมึนอันหนึ่งจากคัมภีร์อยู่แล้วที่ให้เอาจำนวนน้อยลบมาก แต่ตีความกลับมาแล้วก็คือ ตัวมากตั้งตัวน้อยลบอ

กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3]

  กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ ตอนที่ 3] จากตอนที่แล้ว           ในกรณีศึกษา การคำนวณหา สุริยุปราคา วันที่ 26 ธันวาคม พ . ศ . 2562 ตอนที่ 2 เราได้ ค่าการคำนวณเป็นผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมด จำนวน 7 ชุด แบ่งออกเป็น ค่ามัธยมปฐมและทุติยะอย่างละ 4 ชุด และ สมผุสปฐมและทุติยะ อีก อย่างละ 3 ชุด           โดยค่าทั้งหมดที่ได้จาก การคำนวณ ในขั้นตอนที่ผ่านมา มีดังนี้           ชุดของค่ามัธยม           มัธยมอาทิตย์ปฐม = 14996           มัธยมจันทร์ปฐม = 14500           มัธยมอุจจ์ปฐม = 19964           มัธยมราหูปฐม = 17200           มัธยมอาทิตย์ทุติยะ =   15055           มัธยมจันทร์ทุติยะ = 15290           มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 19971           มัธยมราหูทุติยะ = 17203           และ ชุดของค่าสมผุส           สมผุสอาทิตย์ปฐม = 14979           สมผุสจันทร์ปฐม = 14799           สมผุสราหูปฐม = 4400           สมผุสอาทิตย์ทุติยะ =   15040           สมผุสจันทร์ทุติยะ = 15580           สมผุสราหูทุติยะ = 4397 ต่อจากนี้ มีค่าที่ต้องทำการคำนวณเพิ่มอี