กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 5]

 กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 5]

         
หลังจากที่ นำเสนอการคำนวณสุริยุปราคา ในวันที่
26 ธันวาคม พ.. 2562 ด้วยหลักวิธีการตามคัมภีร์สารัมภ์ ทำเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาจบไปแล้วนั้น

ผลที่ได้ พบว่า ยังมีบางค่า ที่ยังไม่สามารถคำนวณหาได้ และบางค่าที่ได้ ก็ยังผิดไปจากการคำนวณในทางดาราศาสตร์ค่อนข้างจะมากโขอยู่พอสมควร (ตัวเลขเฉพาะเวลาปล่อย ก็ห่างกันอยู่เกือบๆจะ 1 ชั่วโมงแล้ว)

ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอ ผลการคำนวณที่ปรับปรุง ด้วยเทคนิคพิเศษบางประการ

ซึ่งจะขอยกไว้และนำมากล่าวถึงในภายหลัง เพื่อแก้ไขและปรับปรุงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา สุริยุปราคา ปี 2562 วันที่ 26 ธันวาคม 2562

ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้

เวลาแรกจับตามตำรา หรือ สุทธประเวสกาล ไม่สามารถคำนวณหาได้

เวลาปล่อยตามตำรา หรือ สุทธโมกษกาล คำนวณได้ 2 มหานาที 40 มหาวินาที

คิดเป็น เวลา ในปัจจุบัน คือ 13 นาฬิกา 4 นาที

ขณะที่ เวลาปล่อยที่คำนวณได้ จากทางดาราศาสตร์ คือ 13 นาฬิกา 57 นาที 47 วินาที

ต่างกันอยู่  53 นาที 47 วินาที 

เพราะคำนวณหา เวลา แรกจับ ไม่ได้ ทำให้คำนวณเวลากึ่งกลางคราสไม่ได้ไปด้วย

จึงไม่มีข้อมูลของเวลากึ่งกลางคราสที่คำนวณไว้ ตามตำรานี้

สำหรับข้อมูลดังกล่าว ข้างต้น เป็นเวลาที่ กรุงเทพฯ โดยเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากทางดาราศาสตร์แล้ว

สำหรับผลการคำนวณ จาก การคำนวณด้วย เทคนิคพิเศษเพื่อการปรับปรุงผลลัพธ์

ผลลัพธ์ ที่มาจากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว ได้ตัวเลขออกมาเป็น ดังต่อไปนี้

เวลาแรกจับ คือ 10 นาฬิกา 25 นาที 33 วินาที

เวลาคลายออก คือ 13 นาฬิกา 42 นาที 27 วินาที

สำหรับเวลากึ่งกลางคราส คิดจาก เวลาแรกจับ บวก เวลาปล่อย หารสอง

(พูดง่ายๆคือ จับเฉลี่ยกันนั่นแหละ)

ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นไปตามนี้

เวลากึ่งกลางคราส คือ 12 นาฬิกา 4 นาที 0 วินาที

และขอยกเอาค่าที่ได้จากทางดาราศาสตร์ คำนวณเป็นเวลา ณ กรุงเทพฯ มาเสนออีกครั้ง ดังนี้

เริ่มเกิดสุริยุปราคาบางส่วน 10:18:29 (เทียบกับเท่าเวลาแรกจับ)

ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุด 12:05:27 (ตรงนี้ เป็นเวลากึ่งกลางคราส)

สิ้นสุดสุริยุปราคาบางส่วน 13:57:47 (เทียบเท่าเวลาคลายออกหรือเวลาปล่อย)

 จากเวลาทั้งสามข้อ ผลต่างของเวลาทั้งสาม เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเป็นดังนี้

ข้อ 1 แรกจับ ต่างกันอยู่ 7-8นาที (ช้ากว่า ดาราศาสตร์)

ข้อ 2 กึ่งกลางคราส ต่างกันอยู่ 1นาที กว่า (ช้ากว่า ดาราศาสตร์)

ข้อ 3 คลายออก ต่างกันอยู่ 15 นาที 20 วินาที (เร็วกว่าดาราศาสตร์)

ทั้งนี้ คิดผลต่าง ของเวลาในระดับวินาที ไว้แล้ว

นี่คือ ผลที่ได้จาก หนึ่งในบางเทคนิค ที่พยายามคิดปรับปรุง โดยไม่เข้าไปแตะต้อง แกนหลักของคัมภีร์เลย

แต่อิงอาศัยหลักการสำคัญบางประการที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์มาปรับประยุกต์ใช้ให้ดีขึ้น ผลที่ได้ ก็เป็นอย่างที่ได้แสดงให้เห็นแล้ว

หมายเหตุ พบว่า เรายังคงต้องใช้เวลาที่ กรุงเทพมหานคร เป็นตัวเทียบ ความถูก ผิด ในตำรา อยู่เช่นเดิม

สำหรับ วิธีการใช้งานในเทคนิคที่เลือกมา ยังคงพบปัญหาในเรื่องของการปรับแก้เวลา ที่มีทั้งช้าและเร็ว เอาแน่เอานอนไม่ได้ บางกรณี ผิดกันในระดับหลักวินาทีก็มี แต่ในเคสนี้ มีเฉพาะเวลากึ่งกลางคราสเท่านั้นที่ห่างกันไปไม่มาก นอกนั้น หลุดกันไปไกลพอควร ในหลัก 10 กว่านาที ซึ่งตรงนี้ ขอน้อมรับความผิดพลาดไว้ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป

ขอจบเรื่องของกรณีศึกษาการคำนวณสุริยุปราคา ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน สวัสดี.

 

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์