กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 1]

 กรณีศึกษา การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 1]


ตัวอย่างการคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์


สุริยุปราคา
26 ธันวาคม 2562

สำหรับตัวอย่างที่จะใช้ ก็เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ ประมาณไม่ถึง 1 ปีเท่านั้นเอง คือ สุริยุปราคา ปี 2562 วันที่ 26 ธันวาคม

          ซึ่งเจ้าสุริยุปราคาตัวนี้ เป็น สุริยคราสวงแหวน ในประเทศไทย เห็นเป็นแบบบางส่วน (แนวคราสวิ่งผ่าน ทางตอนใต้ของประเทศไทยไป)

          เช่นเดียวกับ จันทรุปราคา ในการคำนวณหา สุริยุปราคานี้ จะต้องทำซ้ำในขั้นตอนของสุริยยาตร์สารัมภ์ แบบเดียวกับจันทรุปราคา ทุกประการ

เพื่อความสะดวก จะขอใช้ วิธีการนำเสนอแนวคำนวณ ตามวิธีการในตัวอย่างหนังสือคัมภีร์สารัมภ์
ของ อ
.หลวงวิศาลดรุณกร เพื่อไม่ให้แลดูเยิ่นเย้อ อ่านแล้ว เข้าใจได้โดยง่าย แต่ตัวเลขในการคำนวณจะยังคงเป็นผลที่คำนวณได้จากโปรแกรมสเปรดชีทที่ใส่สูตรการคำนวณตามคัมภีร์เอาไว้อีกชั้นหนึ่ง

สำหรับ ค่าเริ่มต้น หรือ อุณทิน นั้น เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ผู้เขียน จึงขอใช้ค่าที่มากับคัมภีร์
สุริยยาตร์  นั่นก็คือ หรคุณประสงค์ เข้ามาใช้สำหรับการคำนวณเลย
โดยนำค่าหรคุณประสงค์ที่ได้ มาลบกับค่าคงที่ คือ 184298
สำหรับค่าอุณทิน เราจะได้ค่าเริ่มต้นออกมาเป็น 320379

การคำนวณสุริยุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์

สุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2562

(1) หรคุณประสงค์ = 504677

504677 – 184298 = 320379 เป็นอุณทิน

อุณทิน-1=320378 (เป็นการคิดอุณทินถอยหลังกลับไป 1 วัน)

คำนวณหาค่าพลทั้ง 4

เป็น การหาค่าของการโคจร ณ วันที่เกิดอุปราคาของทั้ง 4 วัตถุนี้

ด้วยการคูณค่าอุณทิน-1 กับค่าคงที่ทั้ง 4 ก่อนแล้วตัดอัฑฒาธิกรรมหลักตามแบบในตำราหรือว่า
จะคูณค่าอุณทิน
-1 เข้ากับค่าคงที่อันเดียวกันนั้นที่อยู่ในรูปแบบทศนิยมแล้วก็ได้

ทำค่าพลทั้ง 4

หาพลอาทิตย์ คูณด้วย 591361716 แล้วอัฑฒาธิกรรมหลัก หรือ คูณด้วย 59.1361716

          หาพลจันทร์ คูณด้วย 7905810032 แล้วอัฑฒาธิกรรมหลัก หรือ คูณด้วย 790.5810032

          หาพลอุจจ์ คูณด้วย 66818670 แล้วอัฑฒาธิกรรมหลัก หรือ คูณด้วย 6.6818670

          หาพลราหู คูณด้วย 31800373  แล้วอัฑฒาธิกรรมหลัก หรือ คูณด้วย 3.1800373

ทั้งสองแนวทาง จะได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน

ดังนั้น จากหัวข้อ (2) จนถึง หัวข้อ (5)

ผลการคำนวณ จะได้ค่าพลทั้ง 4 ออกมาเป็นดังนี้

(2) พลอาทิตย์ = 18945928

(3) พลจันทร์ = 253284761

(4) พลอุจจ์ = 2140723

(5) พลราหู = 1018814

ทำมัธยม

ซึ่งก็คือ การหาค่า ตำแหน่งเฉลี่ย ทั้ง 4 วัตถุ นี้ ในทางดาราศาสตร์ปัจจุบัน นั่นเอง

จากค่าพลทั้ง 4 นำมาสู่การคำนวณมัธยมของวัตถุทั้ง 4 โดยแบ่งเป็น ปฐม กับ ทุติยะ

          การคำนวณ จะเริ่มจากนำค่าพล ทั้งสี่ค่า ที่ได้มาแล้ว ให้นำไปบวกหรือลบกับ 4 ค่าคงที่ดังต่อไปนี้

          สำหรับ มัธยมปฐม คือ

          มัธยมอาทิตย์ปฐม นำค่าพลอาทิตย์บวกด้วย 12268 แล้วหารด้วย 21600 เศษการหารเป็นค่ามัธยม

          มัธยมจันทร์ปฐม นำค่าพลจันทร์ บวกด้วย 11339 แล้วหารด้วย 21600 เศษการหารเป็นค่ามัธยม

          มัธยมอุจจ์ปฐม นำค่าพลอุจจ์ บวกด้วย 17641 แล้วหารด้วย 21600 เศษการหารเป็นค่ามัธยม

          มัธยมราหูปฐม นำค่าพลราหู ลบด้วย 8014 แล้วหารด้วย 21600 เศษการหารเป็นค่ามัธยม

          จากนั้น ทำให้เป็น มัธยมทุติยะ ด้วยการบวกหรือลบ กับ 4 ค่าคงที่ต่อไปนี้ คือ

          มัธยมอาทิตย์ทุติยะ นำค่ามัธยมอาทิตย์ปฐม บวกด้วย 59

          มัธยมจันทร์ทุติยะ นำค่า มัธยมจันทร์ปฐม บวกด้วย 790

          มัธยมอุจจ์ทุติยะ นำค่า มัธยมอุจจ์ปฐม บวกด้วย 7

          มัธยมราหูทุติยะ นำค่า มัธยมราหูปฐม บวกด้วย 3

          สรุปผลการคำนวณ ทั้งหมด ตั้งแต่หัวข้อ (6) จนถึง หัวข้อ (13)

          ค่าที่ได้มีดังนี้

          (6) มัธยมอาทิตย์ปฐม = 14996

          (8) มัธยมจันทร์ปฐม = 14500

          (10) มัธยมอุจจ์ปฐม = 19964

          (12) มัธยมราหูปฐม = 17200

          (7) มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 15055

          (9) มัธยมจันทร์ทุติยะ = 15290

          (11) มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 19971

          (13) มัธยมราหูทุติยะ = 17203

          เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ เราจะได้ตำแหน่ง เฉลี่ย ของ ทั้งสี่ วัตถุ คือ อาทิตย์ จันทร์ อุจจ์ และ ราหู

สำหรับการคำนวณ ในขั้นต่อไป จะเป็นการหา ค่าตำแหน่งแท้จริง ของวัตถุที่ก่อให้เกิด อุปราคา คือ อาทิตย์ จันทร์ และราหู  ซึ่งจะได้นำเสนอ ในตอนต่อไป.

 

         

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์