บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2020

ข้อเปรียบเทียบ ทินประมาณกับ daylight duration

ข้อเปรียบเทียบ ทินประมาณกับ daylight duration มีข้อมูลน่าสนใจ อีกเล็กน้อย เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุริยุปราคา 21 มิ.ย. 2563 ที่จะถึงนี้ นั่นคือ เรื่องของทินประมาณกับ daylight duration คำว่า ทินประมาณ เป็นค่าที่ต้องคำนวณในคัมภีร์สารัมภ์ เป็นตัวบ่งชี้ว่า ช่วงเวลากลางวันนั้น แบ่งเป็นกี่ชั่วโมง นาที โดยจะมีค่าคู่กันอีกค่าหนึ่งคือ รัตติประมาณ ที่บ่งชี้ถึงระยะเวลาช่วงกลางคืน ซึ่งจะใช้กับการคำนวณจันทรุปราคา ตามหลักการของคัมภีร์นั้นจะแบ่ง 1 วัน เท่ากับ 30 มหานาที และกลางคืนอีก 30 มหานาที รวม 1 วันก็คือ 60 มหานาที และ แบ่งย่อยทั้งสองช่วงเวลานั้น ออกมาเป็นหลักมหานาทีและมหาวินาทีตามลำดับในการคำนวณ

คัมภีร์สารัมภ์กับอุปราคาเงามัว

คัมภีร์สารัมภ์กับอุปราคาเงามัว           ในปี พ.ศ. 2563 มีสิ่งที่เรียกว่า อุปราคาเงามัว เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ถึง 3 ครั้ง (สำหรับประเทศไทย) ในปีนี้ สำหรับชาวดาราศาสตร์ปัจจุบัน ดูจะไม่แปลกใจ เพราะมีบอกไว้หมดแล้ว ตามการคำนวณโดยหลักวิชา แต่ถ้าเป็นแนวดาราศาสตร์โบราณนี่ล่ะ จะมีกล่าวเอาไว้บ้างไหม หรือ มีวิธีคำนวณบอกไว้อยู่หรือเปล่า ???           ในที่นี้ ขอยกเอาคัมภีร์ที่ใกล้ตัวที่สุด นั่นคือ คัมภีร์สารัมภ์   และขอยกตัวอย่าง ใกล้ที่สุดคือ วันพรุ่งนี้ (05/06/2563) มาอธิบาย