บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2016

นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 1]-[สุริยสิทธานตะ]

นานาสิทธานตะ - เริ่มต้น กับ อหรคุณ [ ตอนที่ 1]-[ สุริยสิทธานตะ ] ก่อนเริ่มทำความรู้จักกับ ค่า อหรคุณ ลองย้อนกลับมาดูบางสิ่ง จากมรดกตกทอด ที่เหลืออยู่ภายในประเทศกันก่อน ในบ้านเรา คัมภีร์หลักทางโหราศาสตร์ที่มีใช้กันคือ คัมภีร์สุริยยาตร์ สำหรับภาคคำนวณ จุดตั้งต้นของค่าหรคุณ ที่ใช้อยู่ในคัมภีร์สุริยยาตร์ เป็นวิธีกำหนดการนับวัน จาก ปี ที่ 0 เวลา 0 น . ถึง วันที่ต้องการ ว่า เป็น จำนวนกี่วัน แล้ว !!! โดยปีที่ใช้อ้างอิงนั้น คือ ปีของจุลศักราช เป็นปีที่ใช้เป็นหลัก ของการคำนวณ ( อ้างอิง จาก หนังสือ คัมภีร์สุริยยาตร์ตามแนวทางของ อ . พลตรี บุนนาค ทองเนียม ) แต่กับจุดตั้งต้นของ ค่าอหรคุณ ที่ใช้เพื่อการนับวัน แบบเดียวกับ คัมภีร์สุริยยาตร์ นั้น ต่างออกไป เนื่องจากจุดเริ่มต้นถูกวางไว้ไกลมาก โดยนับกันมาตั้งแต่ตอนสร้างโลกเลยทีเดียว ที่สำคัญคือ ค่าที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณมีอยู่มากมายหลายชุด ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเกิดจากการที่มีหลายๆสำนัก รวมถึงบรรดานักปราชญ์หลายๆท่าน ได้คิดคำนวณนับค่าของวัน เวลาเอาไว้ เป็นชุดๆ ( ซึ่งค่าคงที่ต่างๆ ดูจะใกล้เคียงกันพอสมควร ) เพื่อที่จะนำค่าต่างๆเหล

นานาสิทธานตะ-ว่าด้วยเรื่องอหรคุณ[สุริยสิทธานตะ]

นานาสิทธานตะ - ว่าด้วยเรื่องอหรคุณ [ สุริยสิทธานตะ ] อาจแปลกใจ ที่ขึ้นหัวข้อไว้แบบนี้ นี่เรามาพูดถึงเรื่องอะไรกัน เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “อหรคุณ” สำหรับคนทั่วไป ดูจะไม่รู้จัก แต่เมื่อเอ่ยถึงคำอีกคำหนึ่ง กลับมีคนส่วนหนึ่งที่รู้จัก นั่นก็คือ คำว่า “หรคุณ” ซึ่งคนส่วนหนึ่งที่ว่า ก็มักจะอยู่ในแวดวงโหราศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ กับบรรดานักวิชาการค้นคว้าด้านโบราณคดี แต่คิดว่า พวกเขาก็น่าจะพอคุ้นๆหูกับคำว่า “อหรคุณ” อยู่บ้างเหมือนกัน ทำไมถึงคิดว่าเป็นเช่นนั้น ตรงนี้ สันนิษฐานเอาเองจากการสืบค้นด้วย search engine ยอดนิยม นั่นแหละ กล่าวคือ พอพิมพ์คำว่า “อหรคุณ” ลงไป สิ่งที่ปรากฎขึ้นมา จะได้พวกเรื่องราวของคาถา แนวๆ พุทธคุณ เสียอย่างนั้น -___-' ( ไม่ได้เกี่ยวกันเลยนะท่าน ) แต่พอพิมพ์คำว่า “หรคุณ” ลงไป กลับพบอะไรที่พอจะเกี่ยวข้องกับคำที่ต้องการ ได้บ้าง เช่น เนื้อหา ในคัมภีร์สุริยยาตร์ หรือ จะเป็นเรื่องการหาวันสงกรานต์ อะไรทำนองนั้น พ่วงมาด้วยเรื่องราวพวกคาถาแนวพุทธคุณ อีกเช่นเคย ยอดเยี่ยมซะไม่มีล่ะ เอาล่ะ ก่อนที่จะกลายเป็นการวิจารณ์เรื่อง การค้นหา ด้วย search engine เรามาว่ากันต่อ เรื่องของ อ

นานาสิทธานตะ เกริ่นนำ

นานาสิทธานตะ – เกริ่นนำ สวัสดี หลังจากที่ห่างหายไปนาน กลับมาคราวนี้ เปลี่ยนชุดของเนื้อหากันบ้าง จากที่มึนเมาจนหูตาลายไปกับค่าคตมาสเกณฑ์ ที่กว่าจะทราบว่า มันมีค่าพิเศษ ซ่อนอยู่ ก็เสียเวลาทั้งค้นหา ทดลอง ลองผิดลองถูก จนได้แนวทางที่คาดว่า น่าจะใกล้เคียงกับความถูกต้อง ( ซตพ . ตรงนี้ ขอให้พิสูจน์กันเองนะครับ ^_^) กลับมาเข้าเรื่องกันต่อ ในชุดเนื้อหาต่อจากนี้ ( คงอีกสักพัก ) จะเป็นเรื่องของ บรรดาคัมภีร์โบราณที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียง ติดหู เป็นที่รู้จัก คงหนีไม่พ้น คัมภีร์นี้เลย “สุริยสิทธานตะ (Surya Siddhanta)” จากการค้นคว้ามาพักใหญ่ พบข้อสรุปบางประการคือ แนวทางในการเขียนตำราสกุลสิทธานตะ หรือ ที่เป็นชื่ออื่น แต่เนื้อหาคล้ายคลึงกัน จะเป็นแบบนี้ครับ แรกเริ่ม จะวางกรอบเอาไว้ก่อนเลยว่า ในการคำนวณเราจะเริ่มจากจุดเริ่มต้น ณ ขณะใด ( เช่นสร้างโลก หรือเริ่ม ณ ศักราชใด ) โดยคิดเป็นระยะเวลา กี่ปี กี่วัน กี่เดือน ไว้ให้พร้อมกับ วางค่าคงที่ ต่างๆไว้เพื่อใช้ประกอบการคำนวณ เตรียมการสำหรับคำนวณหาตำแหน่งดาวกัน หลังจากนั้น จะเริ่มทำการหาตำแหน่งดาวที่อัตราเร็วเฉลี่ย (Mean motio