นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 1]-[สุริยสิทธานตะ]

นานาสิทธานตะ-เริ่มต้น กับ อหรคุณ[ตอนที่ 1]-[สุริยสิทธานตะ]

ก่อนเริ่มทำความรู้จักกับ ค่า อหรคุณ ลองย้อนกลับมาดูบางสิ่ง จากมรดกตกทอด ที่เหลืออยู่ภายในประเทศกันก่อน
ในบ้านเรา คัมภีร์หลักทางโหราศาสตร์ที่มีใช้กันคือ คัมภีร์สุริยยาตร์ สำหรับภาคคำนวณ
จุดตั้งต้นของค่าหรคุณ ที่ใช้อยู่ในคัมภีร์สุริยยาตร์ เป็นวิธีกำหนดการนับวัน จาก ปี ที่ 0 เวลา 0 . ถึง วันที่ต้องการ ว่า เป็น จำนวนกี่วัน แล้ว!!!
โดยปีที่ใช้อ้างอิงนั้น คือ ปีของจุลศักราช เป็นปีที่ใช้เป็นหลัก ของการคำนวณ
(อ้างอิง จาก หนังสือ คัมภีร์สุริยยาตร์ตามแนวทางของ อ.พลตรี บุนนาค ทองเนียม)
แต่กับจุดตั้งต้นของ ค่าอหรคุณ ที่ใช้เพื่อการนับวัน แบบเดียวกับ คัมภีร์สุริยยาตร์ นั้น ต่างออกไป
เนื่องจากจุดเริ่มต้นถูกวางไว้ไกลมาก โดยนับกันมาตั้งแต่ตอนสร้างโลกเลยทีเดียว ที่สำคัญคือ ค่าที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณมีอยู่มากมายหลายชุด ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเกิดจากการที่มีหลายๆสำนัก รวมถึงบรรดานักปราชญ์หลายๆท่าน ได้คิดคำนวณนับค่าของวัน เวลาเอาไว้ เป็นชุดๆ (ซึ่งค่าคงที่ต่างๆ ดูจะใกล้เคียงกันพอสมควร) เพื่อที่จะนำค่าต่างๆเหล่านี้ไปใช้กับระบบคำนวณตามคัมภีร์ของพวกเขาเองอีกทีหนึ่ง (ของใคร ของมัน)
สำหรับวิธีการให้ได้มาซึ่ง ค่า อหรคุณ นั้น ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน ดูแตกต่างจาก วิธีการหาหรคุณในคัมภีร์สุริยยาตร์ พอสมควร สำหรับค่าอหรคุณแล้ว ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณ มีขนาดค่อนข้างมาก (ประมาณ 12 หลัก เห็นจะได้!!!!) เพราะเป็นระบบที่ค่อนข้างจะเก่าแก่ ส่วนรายละเอียดวิธีการหา ขอยกไว้ก่อน จะได้กล่าวถึงในภายหลัง
ที่น่าแปลกใจก็คือ หลังจากทำตามขั้นตอนวิธีการหา อหรคุณ จนจบแล้ว พบว่า ค่าที่ได้จากการคำนวณด้วยหลากหลายชุดของค่าคงที่ ในบรรดา คัมภีร์ของนักปราชญ์เหล่านั้น ต่างมีความใกล้เคียงกัน หรือบางอันก็ตรงกันเลย ก็มี (ที่ใกล้เคียง ก็ขาดกันแค่วันเดียวครับ) เป็นสิ่งที่น่าทึ่งเอามากๆ (คือ ค่าคงที่คนละชุด บางอันห่างกันหลักร้อย ก็มี แต่กลับตรงกันได้!!!)
แต่...ปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้ว อะไรล่ะ มันใช่!!!
ก่อนจะเสนอแนะทางแก้ไข ขอแนะนำให้รู้จัก ค่าอีกชุดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันอยู่ในทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ ตะวันตก นั่นคือ ค่า Julian Number และ Julian Date ซึ่งเป็นการนับวัน ที่มีการอ้างอิงจุดตั้งต้นไว้ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เก่าแก่พอๆกันกับ ค่า อหรคุณ ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ซึ่งในบ้านเรา ก็มีการใช้กันอยู่ โดยรู้จักในชื่อว่า หรคุณจูเลียน นั่นเองครับ
สำหรับเรื่องของ Julian Number นี้ วิธีการใช้ก็เป็นไปในแบบเดียวกับ อหรคุณ นั่นเอง คือเป็นการตั้งต้น นับวัน อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับเตรียมการคำนวณหาตำแหน่งดาว โดยค่า ของ Julian Number นี้ สามารถแปลงข้ามกลับไปเป็น อหรคุณ ได้ด้วย แต่ อหรคุณที่ได้จากการแปลงนั้น จะเป็นค่าของ อหรคุณที่ใช้จุดเริ่มต้น ณ การเริ่ม กลียุคศักราช หรือ kali ahargana นั่นเอง
ขอย้อนกลับไปที่เรื่องของการหา อหรคุณ
ค่าอหรคุณ เท่าที่สืบค้นข้อมูลมาได้ ณ ขณะปัจจุบันนี้ มีอยู่อย่างน้อย 2 ลักษณะ ที่พบเห็นกันอยู่ (อาจมากกว่านี้ก็ได้ ไม่แน่ใจ)
แบบแรก นับ หัก ลบ เลข กันตรงๆไปเลย เป็นการนับกันมาตั้งแต่ตอนสร้างโลก ไปจนถึงยุคต่างๆ กระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งค่าที่ได้นี้ จัดว่า โหดที่สุด เพราะคุณจะได้ตัวเลขออกมา อยู่ที่ 12 หลัก!!!! (ที่สำคัญ ค่านี้ สามารถใช้งานได้จริง ด้วยครับ ในการคำนวณตามระบบคัมภีร์สุริยสิทธานตะ!!! )
แบบที่สอง น่าจะเป็น ผลงานการค้นคว้าวิจัย ของบรรดานักดาราศาสตร์โบราณ ที่ได้ลดทอน ตัวเลขลง โดยปรับ ให้เริ่มต้นการนับ กันใหม่ตอนเริ่มต้น กลียุคศักราชแทน (สันนิษฐาน กันว่า น่าจะเริ่มที่ 18 Feb Friday -3101 AD หรือ 3179 ปีก่อนที่จะมี มหาศักราช ครับ ) คิดว่า ปัจจุบันน่าจะมีใช้กันอยู่ (เคยแอบไปดู ปฏิทินของอินเดีย ยังมีใช้เป็นมหาศักราช อยู่ คิดว่า น่าจะมาจากการใช้ค่านี้แหละ คำนวณเอา) ตัวเลขที่ได้ มีขนาดย่อมลงมาหน่อย คือ 6 หลัก!!!!
แล้ว อหรคุณ แบบอื่นๆล่ะ ไปไหนกัน
โดยมาก ค่าอหรคุณที่หาได้โดยสูตรอื่นๆ จะใช้เป็นการนำไปใช้ปรับเพื่อการคำนวณหาตำแหน่งดาว และอุปราคา ในตำราของท่านนั้นๆเสียส่วนใหญ่ครับ แต่ ตัวค่าคงที่ หลักๆ มักจะมีความใกล้เคียง กับค่าที่ปรากฎอยู่ใน ตำรา สุริยสิทธานตะ จะมีการใช้ค่าอื่น แนวคิดอื่นบ้าง เพียงบางส่วน(เท่าที่ศึกษามาได้ )
สำหรับปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง อหรคุณ จะเกิดที่ตรงนี้ คำถามก็คือว่าอะไรกันแน่ ที่มันใช่ เหตุเพราะว่า มีการหาค่าอหรคุณออกมา ต่างๆมากมาย หลากหลายสูตร สำหรับค่าที่มากที่สุดของ อหรคุณแบบที่สอง คือ ตัวเลขแบบหกหลัก โดยเป็นค่าที่คำนวณนับ จากจุดเริ่มต้นของ กลียุคศักราช นั่นเอง
อย่างที่ได้กล่าวไว้ ในบรรดาค่าอหรคุณ ที่มาจากสูตรต่างๆ ถ้าไม่ได้นับออกจากจุดตั้งต้นอื่น แต่เริ่มนับที่จุดเริ่มต้นของกลียุคศักราช นั้น ส่วนใหญ่ ค่าที่ได้ จะใกล้เคียงกันหรือตรงกันไปเลย
การที่จะบอกว่า ค่าไหน น่าจะใช่หรือใกล้เคียงที่สุด สิ่งที่ต้องทำคือ ให้ตรวจสอบกลับไปยัง ค่า Julian Number หรือ Julian Date
โดยการคำนวณค่าระหว่าง Julian Number กับ Kali Ahargana(อหรคุณกลียุค) หากพบว่า ค่า อหรคุณ ที่คำนวณได้จากสูตรในคัมภีร์ เป็นค่าที่ตรงกันกับ ค่าที่ได้การคำนวณ อหรคุณ จาก Julian Number ไม่ว่าจะคัมภีร์ใดก็ตาม เป็นอันเชื่อได้ว่า คัมภีร์นั้น สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ ในระดับหนึ่ง เพราะยังมีอะไรบางอย่างที่ต้องตรวจสอบกันอีกพอสมควร ซึ่งรายละเอียด โดยย่อ จะได้กล่าวถึง ในตอนถัดไป.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์