นานาสิทธานตะ เกริ่นนำ

นานาสิทธานตะ – เกริ่นนำ
สวัสดี หลังจากที่ห่างหายไปนาน กลับมาคราวนี้ เปลี่ยนชุดของเนื้อหากันบ้าง จากที่มึนเมาจนหูตาลายไปกับค่าคตมาสเกณฑ์ ที่กว่าจะทราบว่า มันมีค่าพิเศษ ซ่อนอยู่ ก็เสียเวลาทั้งค้นหา ทดลอง ลองผิดลองถูก จนได้แนวทางที่คาดว่า น่าจะใกล้เคียงกับความถูกต้อง(ซตพ. ตรงนี้ ขอให้พิสูจน์กันเองนะครับ ^_^)
กลับมาเข้าเรื่องกันต่อ ในชุดเนื้อหาต่อจากนี้ (คงอีกสักพัก) จะเป็นเรื่องของ บรรดาคัมภีร์โบราณที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียง ติดหู เป็นที่รู้จัก คงหนีไม่พ้น คัมภีร์นี้เลย “สุริยสิทธานตะ (Surya Siddhanta)”
จากการค้นคว้ามาพักใหญ่ พบข้อสรุปบางประการคือ
แนวทางในการเขียนตำราสกุลสิทธานตะ หรือ ที่เป็นชื่ออื่น แต่เนื้อหาคล้ายคลึงกัน จะเป็นแบบนี้ครับ
แรกเริ่ม จะวางกรอบเอาไว้ก่อนเลยว่า ในการคำนวณเราจะเริ่มจากจุดเริ่มต้น ณ ขณะใด(เช่นสร้างโลก หรือเริ่ม ณ ศักราชใด) โดยคิดเป็นระยะเวลา กี่ปี กี่วัน กี่เดือน ไว้ให้พร้อมกับ วางค่าคงที่ ต่างๆไว้เพื่อใช้ประกอบการคำนวณ เตรียมการสำหรับคำนวณหาตำแหน่งดาวกัน
หลังจากนั้น จะเริ่มทำการหาตำแหน่งดาวที่อัตราเร็วเฉลี่ย(Mean motion)
ต่อจากนั้น ก็เริ่มหาตำแหน่งดาวที่แท้จริง true planet พร้อมอัตราเร็วที่แท้จริง true motion (อันนี้คำนวณในอัตราต่อหนึ่งวัน)
จากนั้น จึงเป็นบทของการหาตำแหน่งอุปราคา ทั้งอาทิตย์และจันทร์ ครับ
ที่เหลือนอกจากนั้น จะเป็น วิธีการหาค่าอะไรอย่างอื่นๆก็ได้ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องของดาว หรือการคำนวณในเรื่องอื่นๆ ตามแต่ผู้เขียนตำราต้องการจะนำเสนอ
ทั้งหมดเท่าที่หามานี้ ด้วยตำราเกินกว่า 5-6 เล่ม
พบว่า แทบทุกตำรา จะมีลักษณะที่เน้นไปใน ทิศทางเดียวกันหมด นั่นคือ พอเราหาตำแหน่งดาวจริงได้ปั๊บ สักบท สองบทถัดมาก็เข้าสู่ การหาอุปราคาเลย เหมือนเป็นธรรมเนียมอะไรสักอย่างหนึ่ง (คิดในอีกแง่หนึ่ง เชิงวิชาการ นั่นก็คือ ถ้ามั่นใจว่า คำนวณหาตำแหน่งดาวจริงได้ ก็น่าจะหาจุดเกิดอุปราคาจริง ได้เช่นเดียวกัน สินะ)
นอกจากนี้ ยังพบว่า เกือบทั้งหมด ใช้ โมเดลการโคจรแบบ epicycle ในการอธิบาย (Epicycle ของฮินดู ไม่เหมือนกับ ของกรีก แต่เวลาหาข้อมูลทีไร จะเจอแต่ของกรีก ทุกทีน่ะสิ -*-' )
สำหรับการนับวัน ก็มีออกไปแตกต่างหลากหลาย แล้วแต่ว่า จะตั้งต้นตรงไหน ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
ในส่วนของสุริยสิทธานตะนั้น จะมีลักษณะเฉพาะตัว นั่นเพราะว่า พี่แกเล่นนับวันมาตั้งแต่ แรกเริ่ม สร้างโลก เลยเชียวล่ะ ตัวเลขที่ได้ ก็มากมายมหาศาล ถ้าคิดกันตรงๆ โต้งๆ ได้เลขอยู่ที่ 12 หลัก!!!! (ถือว่า เยอะมาก ยิ่งในสมัยโบราณด้วย ยิ่งแล้วใหญ่ มันมากจนทะลุกระดานชนวนทีเดียวครับ -*-')
เพราะเป็นแบบนั้น ในเวลาต่อมา พวกเขาเลยเลือกกำหนดจุดนับกันใหม่ ปรับลดให้เหลือแค่ เริ่มต้นจากศักราชที่กำหนดไว้ก็พอ เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ง่ายต่อการคำนวณ ก็ดีเหมือนกันนะครับ ปรับหายไปได้ ครึ่งหนึ่งเชียว!!!! (จาก 12 เหลือเพียงแค่ 6 หลัก ครับ)
ปัจจุบัน ค่าที่ปรับลดมานี้ ก็ยังคงมีใช้กันอยู่ ที่เคยเห็นจะเป็นในปฎิทินแห่งชาติของอินเดีย กับพวกปฏิทินทางศาสนาของเขา นี่ล่ะมั้ง
แม้กระนั้น พอลองเข้ามาศึกษาดูเนื้อหาตำราข้างใน ก็พบกับระบบวิธีคิด กับการสร้างค่าต่างๆอีกเพียบ!!! อ่านดูแล้ว น่าทึ่งมากมาย!!!
แต่ทุกท่านเชื่อไหมครับ เมื่อพิจารณาดูให้ดีๆแล้ว จะพบว่า ทั้งหมดนี่ อยู่บนพื้นฐานของวิชา คณิตศาสตร์ ระดับไม่เกิน มัธยมปลาย!!!!!
เอาล่ะสิ ไม่อยากเชื่อเลยใช่ไหมล่ะ!!! อยากรู้ ก็ลองตามมา ศึกษากัน !!! .


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์