รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

ในตอนที่แล้ว เราทำการรวบรวมสมการมัธยมสุริยยาตร์ สำหรับการคำนวณหาตำแหน่งมัธยมของแต่ละดวงดาว
และจุดคำนวณต่างๆตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์มาแล้ว คราวนี้ มาดูกันว่า หลังจากที่คำนวณได้ค่าของ
มัธยมแต่ละดาวทั้งหมดมาแล้ว จะทำการหาสมผุสกันได้อย่างไรบ้าง

ทบทวนความจำกันก่อน

มัธยม คือ ตำแหน่งดาวแบบเฉลี่ย (Mean Longitude)

สมผุส คือ ตำแหน่งดาวตามจริง (True Longitude)

ในตอนต้น เริ่มแรก ของการหาค่า จะเริ่มจากมัธยม เป็นหลักก่อน เสมอ ทุกครั้ง

เมื่อได้ค่ามัธยมทั้งหมดมาแล้ว จึงเริ่มทำการหาค่าของสมผุสแต่ละดาว กันต่อไป

สมการแห่งสมผุส เป็นดังต่อไปนี้ :-

========================================

สมการสมผุสต่างๆ

-----------------------

1. สมผุสอาทิตย์ = มัธยมอาทิตย์ - (134/60) SIN[มัธยมอาทิตย์ - 80]

2. สมผุสจันทร์ = มัธยมจันทร์ - (296/60) SIN[มัธยมจันทร์ - มัธยมอุจจ์]

3. สมผุสดาวเคราะห์วงนอก (อังคาร, พฤหัส, เสาร์, มฤตยู)

************************************************************

มนทภุช = (488/60) SIN[มัธยมพระเคราะห์ - อุจจ์]

มนทโกฏิ = (488/60) COS[มัธยมพระเคราะห์ - อุจจ์]

มนทเฉท = เฉท + (1/2)*มนทโกฏิ

มนทสมผุส = มัธยมพระเคราะห์ - 60* มนทภุช / มนทเฉท

สิงฆภุช = (488/60) SIN[มนทสมผุส - มัธยมรวิ]

สิงฆโกฏิ = (488/60) COS[มนทสมผุส - มัธยมรวิ]

สิงฆผล = ABS[สิงฆภุช] / 3

มนทพยาสน์ = พยาสน์ * มนทเฉท

สมผุสพยาสน์ = สิงฆผล + มนทพยาสน์

สิงฆสมผุสเฉท = สมผุสพยาสน์ + สิงฆโกฏิ

มหาสมผุส = มนทสมผุส - 60 * สิงฆภุช/สิงฆสมผุสเฉท

************************************************************

4. สมผุสดาวเคราะห์วงใน (พุธ, ศุกร์)

************************************************************

มนทภุช = (488/60) SIN[มัธยมรวิ - อุจจ์]

มนทโกฏิ = (488/60) COS[มัธยมรวิ - อุจจ์]

มนทเฉท = เฉท + (1/2)*มนทโกฏิ

มนทสมผุส = มัธยมรวิ - 60* มนทภุช / มนทเฉท

สิงฆภุช = (488/60) SIN[มนทสมผุส - มัธยมพระเคราะห์]

สิงฆโกฏิ = (488/60) COS[มนทสมผุส - มัธยมพระเคราะห์]

สิงฆผล = ABS[สิงฆภุช] / 3

มนทพยาสน์ = พยาสน์

สมผุสพยาสน์ = สิงฆผล + มนทพยาสน์

สิงฆสมผุสเฉท = สมผุสพยาสน์ + สิงฆโกฏิ

มหาสมผุส = มนทสมผุส - 60 * สิงฆภุช/สิงฆสมผุสเฉท

************************************************************

5. ตาราง อุจจ์, เฉท และ พยาสน์ ของดาวเคราะห์ต่างๆ

***********************************************

ดาวเคราะห์ : อุจจ์ : เฉท : พยาสน์

อังคาร : 127 : 45 : 4/15

พุธ : 220 : 100 : 21

พฤหัส : 172 : 92 : 3/7

ศุกร์ : 80 : 320 : 11

เสาร์ : 247 : 63 : 7/6

มฤตยู : 124 : 644 : 3/7

***********************************************

6. สมผุสราหู = 252.5 - มัธยมราหู

7. สมผุสเกตุไทย = 360 - มัธยมเกตุไทย

8. สมการเพียร = สมผุสอาทิตย์ - สมผุสจันทร์

=================================

ให้สังเกตว่า ทุกสมการ ตั้งแต่ มัธยมและสมผุส จะมีค่าเป็น องศาจำนวนจริง ทั้งหมด ซึ่งมีค่าของผลลัพธ์ในจำนวน
หลักตัวเลขที่มากและเกินกว่า 1 รอบของวงกลม(360 องศา) จึงจำเป็นที่จะต้องทำการทอนรอบต่างๆที่คำนวณได้
ให้กลับมามีค่าไม่เกิน 360 องศา ทั้งหมด
เพื่อความง่ายในการพิจารณาและการคำนวณ รวมถึงการทำค่าให้เป็นลิปดาสุทธิด้วย

ซึ่งท่านผู้รู้ได้ทำเป็นสูตรเสริมเอาไว้ให้ แยกต่างหาก แนบท้าย ชุดสมการ มัธยมและสมผุส แล้ว

ในตอนหน้า เรามาดูกันถึง สูตรเสริมต่างๆ เหล่านี้ ว่ามีอะไรกันบ้าง

พบกันใหม่ ตอนหน้า สวัสดี.

หมายเหตุ
บันทึกเพิ่มเติม 24/11/2563
คำว่า มัธยมพระเคราะห์ ในสูตรหาสมผุสดาวเคราะห์ทั้งวงนอก (อังคาร, พฤหัส, เสาร์, มฤตยู)และวงใน(พุธ, ศุกร์)
หมายถึง ค่ามัธยมของพระเคราะห์นั้นๆ อันหาได้จากสูตรภาคทำมัธยมมาก่อน
ซึ่งจะจำแนกเป็นดาวอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับค่า อุจจ์ เฉท พยาสน์ ที่ใช้แทนค่าลงไปในสูตร
สำหรับการคำนวณหาสมผุส จะยังคงใช้แนวคิด จากมัธยมสู่สมผุส เช่นเดิม
เพียงแต่ เรื่องของการหาดาวเคราะห์ที่เหลือนั้น จะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนอยู่หลากหลายชั้นขึ้น
พึงใช้ความระมัดระวังให้ดี ในการคำนวณ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์