เหตุใด มัธยมและสมผุสในคัมภีร์สารัมภ์ จึงต้องแยกเป็นปฐมและทุติยะ

เหตุใด มัธยมและสมผุสในคัมภีร์สารัมภ์ จึงต้องแยกเป็นปฐมและทุติยะ  

ขอท้าวความกันก่อน ข้อสังเกตและเหตุในข้อนี้ เป็นสิ่งที่ได้มาจากงานวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศที่ได้ทำการวิจัยเรื่องการคำนวณหาอุปราคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในงานวิจัยนั้น มีการยกตัวอย่างสาธิตส่วนหนึ่งจากตำราคัมภีร์สารัมภ์มาด้วย แต่สูตรกับวิธีการนั้น เป็นวิธีการตีความและเรียบเรียงใหม่โดยอาศัยแนวทางของวิชาการดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน  
สำหรับสูตรที่ทำให้จับทางได้ ถึงเหตุและผลของการแยกทั้งค่ามัธยมและสมผุสออกเป็นปฐมและทุติยะ ก็คือ สูตรการหามัธยมที่ใช้ในงานวิจัย นั่นแหละ โดยพบว่า เมื่อแทนค่าอุณทินลงไปในสูตร ค่ามัธยมที่ได้ จะตรงกับค่าของมัธยมทุติยะจากการทำตามขั้นตอนในวิธีการเดิมตามคัมภีร์สารัมภ์ และเมื่อแทนค่าอุณทินลบด้วย 1 เข้าไป ค่ามัธยมที่ได้จะตรงกับค่าของมัธยมปฐม อาจกล่าวได้แล้วว่า มัธยมทุติยะจะเป็นค่าที่เนื่องมาจากอุณทิน และมัธยมปฐม เป็นค่าที่เนื่องมาจากอุณทินลบด้วย 1 รวมไปถึงค่าสมผุสทุติยะและปฐมด้วย เพราะเป็นค่าที่หาได้ต่อเนื่องกัน 
คำถามต่อมาก็คือ ทั้งมัธยมทุติยะและปฐม คือความหมายของวันไหน หมายถึง วันนี้ และวันถัดไป หรือเป็น วันนี้ กับ วันก่อนหน้า 
คำตอบมีอยู่แล้ว นั่นคือ เป็น วันนี้กับ วันก่อนหน้า เนื่องจากการคิดค่าอุณทิน เป็นการตั้งอุณทินของวันนั้น แล้วคิดย้อนกลับไปในวันก่อนหน้าด้วยการลบ 1  
ส่วนเหตุผลที่ต้องแยกออกเป็นปฐมและทุติยะ เพราะสูตรในคัมภีร์ทั้งหมด จริงๆแล้วก็คือ การคำนวณเปรียบเทียบความเร็วสัมพัทธ์ของวัตถุต่อหนึ่งรอบวัน ทำให้ต้องมีการคิดค่าทั้งหมดสำหรับวันนี้และวันก่อนหน้า เพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้คำนวณหาระยะเวลาในการเกิดอุปราคาต่อไป 
 ต้นทางของข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้มาจากการศึกษาและแปลความจากงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่เป็นสาธารณะแล้ว เรื่องหนึ่ง ที่มีชื่่อว่า South East Asian Eclipse Calculations 
 เขียนโดยคุณ Lars Gislén and J.C. EADE 
เนื้อหาโดยย่อ กล่าวถึง เรื่องของการคำนวณอุปราคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ใครสนใจใคร่รู้ ก็ลองไปตามหาอ่านกันได้ 
พบกันใหม่ ครั้งหน้า สวัสดี. 
หมายเหตุ ในที่นี้ เราจะพบข้อแตกต่างของคัมภีร์สุริยยาตร์และสารัมภ์กันแล้ว ในเรื่องของการหาสมผุส กล่าวคือ คัมภีร์สุริยยาตร์ใช้การหาสมผุสสำหรับการลงตำแหน่งดาวต่างๆ ณ วงรอบที่กำหนดให้ เพื่อประโยชน์ในการทำนายตามหลักโหราศาสตร์ ขณะที่คัมภีร์สารัมภ์ เป็นการพยากรณ์การเกิดอุปราคา ว่าเกิดขึ้นภายในวัน เวลา ที่ว่ามา จริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องใช้ตำแหน่งดาวหรือสมผุสสองแห่งคือ ทั้งในวันนั้นและในวันก่อนหน้า เพื่อการคำนวณเปรียบเทียบ หาจุดเวลาของการเกิดอุปราคา ภายในวงรอบกำหนดของการนับวัน อันเป็นเรื่องคนละอย่างกัน .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์