การจับกันของอุปราคา ทำไมจึงมีแค่ อุดร กับทักษิณ

การจับกันของอุปราคา ทำไมจึงมีแค่ อุดร กับทักษิณ 

 
สำหรับ ท่านที่กำลังศึกษาในคัมภีร์สารัมภ์ รวมถึงตัวผู้เขียนในสมัยหนึ่ง อาจมีข้อสงสัยภายในใจ ว่า ทำไม เวลาบอกทิศการเข้าจับของคราส ทิศที่ให้คำนวณออกมา มักจะมีแค่ อุดร กับ ทักษิณ หรือพูดกันในภาษาไทยบ้านๆ ก็คือ มีแค่ เหนือ กับ ใต้ เท่านั้นเอง เป็นเพราะอะไรกัน 
 คำตอบก็คือ  
เพราะเมื่อพิจารณา แนวการโคจรตัดกันระหว่างระนาบของวัตถุฟ้า กับ วัตถุบนเส้นสุริยวิถีแล้วนั้น พบว่า แนวการโคจรจะตัดกัน อยู่ในลักษณะทำมุมอยู่กับเส้นสุริยวิถีและมีลักษณะวิ่งผ่านออกไป หากใช้แนวเส้นสุริยวิถี แบ่งพื้นที่ของวัตถุฟ้าบนเส้นสุริยวิถีนั้น ออกเป็นสองส่วน จะพบว่า แนวการโคจร จะวิ่งตัดผ่านเข้ามา จาก ด้านบน เหนือวัตถุฟ้า (อุดร) หรือ จากทางด้านล่าง ใต้วัตถุฟ้า (ทักษิณ) เท่านั้น ตามแต่การโคจรของวัตถุฟ้า ขณะเกิดอุปราคาว่า วิ่งผ่านจุดตัดในโหนดไหน โหนดขึ้นหรือ โหนดลง และ อยู่ในตำแหน่งใด เมื่อเทียบกับโหนดในขณะนั้น 
สำหรับการพิจารณานี้ ใช้ได้ทั้ง จันทรุปราคา และ สุริยุปราคา ในส่วนของจันทรุปราคา อาจต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากแนวการเข้าจับนั้น สามารถพลิกทิศได้ (อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องความหมายของทิศทางจาก คำว่า สุภาพ กับ พิปริต ที่ปรากฎในขั้นตอนหนึ่งของการคำนวณจันทรุปราคา) รวมถึงสุริยุปราคาเอง ที่มีการหักลบในส่วนของทิศเกิดขึ้นด้วยระหว่างขั้นตอนการคำนวณหาราหูวิกขิป  

ข้อควรจำ 
1.ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตกเสมอ เพราะโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์จากตะวันตกไปสู่ตะวันออก และเมื่อมองจากโลก ทิศทางของดวงอาทิตย์จากตะวันออกสู่ตะวันตกนั้น เราเรียกกันว่า แนวเส้นสุริยวิถี อันเป็นทางโคจรของอาทิตย์ในแต่ละวัน (แต่แท้จริงแล้ว มันคือ เส้นทางโคจรของโลกเรานี่แหละ)  
2.ดวงจันทร์ เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลก ในลักษณะเดียวกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่มีระนาบโคจรของตัวเองที่ทำมุมต่างหากอยู่กับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์อีกทีหนึ่ง  
3.จุดตัดกันระหว่างระนาบโคจรของโลกกับดวงจันทร์ ถูกเรียกว่า โหนด ซึ่งถือเป็นจุดเกิดอุปราคา มีด้วยกันสองจุด คือ โหนดขึ้น กับ โหนดลง แต่เมื่อมองจากโลกแล้ว โหนด จะกลายเป็นจุดตัดระหว่างระนาบโคจรของจันทร์กับเส้นสุริยวิถีแทน ผลของการโคจรผ่านจุดตัด จะทำให้เกิดเป็นจันทรุปราคาและสุริยุปราคาตามลำดับ 

 หมายเหตุ 
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ขอให้สังเกตตามแผนภาพดังรูป ซึ่งทำเอาไว้แล้วทั้ง จันทรุปราคาและสุริยุปราคา สำหรับมุมตามภาพนั้น แสดงให้เห็นลักษณะการเข้าตัดเท่านั้น ไม่ใช่มุมจริงๆที่ระนาบกระทำต่อกัน โดยทางวิชาดาราศาสตร์ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า มุมระหว่างระนาบดังกล่าวนั้น ต้องมีขนาดไม่เกิน 5 องศา จึงจะเกิดเป็นอุปราคาขึ้นได้




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์