ความเกี่ยวพันกันของทินาท อมาวสีสมผุสและช่วงระยะเวลาการเกิดสุริยุปราคา

 ความเกี่ยวพันกันของทินาท อมาวสีสมผุสและช่วงระยะเวลาการเกิดสุริยุปราคา


บันทึกไว้ อันเนื่องมาแต่นิมิตในความคิดที่ผุดขึ้นมา ระหว่างที่กำลังหลับพักผ่อนเพราะทานยาแก้หวัดไปและอากาศที่กำลังร้อนในตอนบ่ายๆของวันหนึ่ง เมื่อนานมาแล้ว (ประมาณ 1-2 ปีก่อน)

เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดสังเกตในคัมภีร์สารัมภ์ อันเนื่องมาแต่เรื่องการคิดช่วงเวลาเกิดสุริยุปราคา 

คือ ข้อสังเกตที่ว่า ในการคิด ขณะเวลาเกิดเหตุ ทำไม ต้อง เอา อมาวสี มาเกี่ยวข้องกับ ทินาท

นั่นเพราะเป็นเรื่องของความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ เรื่องที่ว่า พระอาทิตย์ตรงหัวเวลาเที่ยง

ซึ่งครูอาจารย์ แต่โบราณ ท่านพอเข้าใจในเรื่องนี้ เพราะเป็นการอนุมานว่า พระอาทิตย์ ตรงหัวเวลาเที่ยง ก็คือ การเล็งศูนย์ตรงกับแกนโลก ถือเป็นเวลาเที่ยงวัน ณ ตำแหน่งนั้นๆ คือ ว่ากันเป็นแห่งๆไป ในทำนองเดียวกับการบันทึกสมผุสดาวที่กระทำ ณ เวลาเที่ยงคืน โดยยึดแนวศูนย์เส้นเดียวกันนี้ ตามสมมติ

ฉะนั้น เมื่อ ขณะเวลาอาทิตย์เล็งตรงหัว (เล็งศูนย์กลางโลกโดยสมมติ) ถูกใช้เป็นเวลาเกณฑ์ พระจันทร์ที่โคจรไล่ตามกันมาพร้อมกับพระอาทิตย์ มีสิทธิจะเข้าจับก่อนหรือหลังชั่วขณะเวลานี้ ก็ได้ จึงทำให้ต้องเอาเวลาที่เข้าจับพอดีหรือที่เรียกกันว่า อมาวสีสมผุส (เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษทางดาราศาสตร์ ว่า Conjunction Time) เข้าไปหักลบกับตัวเวลาเกณฑ์คือ  เวลาเที่ยงหรือ ทินาท  เพื่อหาระยะช่วงเวลาขณะที่เกิดเหตุอุปราคาอย่างแท้จริง 

อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องใช้ เกณฑ์เทียบกับทินาทนี้ เพราะการเทียบเคียงลักษณะการเล็งและกุมกันของดาวในแง่ขององศาโดยคร่าวๆ 

สำหรับ  องศาของวัตถุที่วางอยู่ตรงข้ามกัน จะถูกกำหนดให้เป็น 180 องศาหรือเรียกง่ายๆว่า เล็ง อยู่แล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลของหลักปูรณมีและฉายาเคราะห์ (หาได้โดยเอาตำแหน่งอาทิตย์บวกไปอีก 180 องศา) สำหรับการคำนวณจันทรุปราคา ซึ่งเข้าใจได้ค่อนข้างง่าย เพราะมันเล็งเทียบกับเงาโลกที่มีขนาดใหญ่

ในทางตรงกันข้าม กรณีของการเกาะกุมกันของอาทิตย์กับจันทร์ จุดร่วมหลักๆคือแนวแกน 0 องศา ฉะนั้น ถ้าคิดเทียบจากโลก ก็ต้องเป็นโลกด้านกลางวัน แล้วเวลาไหนกันล่ะ ที่จะสมมติให้เป็นจุดแกน 0 องศา ได้ ก็มีแค่เวลาเดียว นั่นคือ ณ เวลาเที่ยงวันที่พระอาทิตย์นั้น อยู่ตรงหัว(ที่พออนุมานได้อยู่ว่า เล็งศูนย์กับแกนกลางโลก) ดังนั้น เวลาที่ใช้เป็นเกณฑ์เทียบเคียงได้เลยต้องเป็น ทินาท หรือเวลาเที่ยง นั่นเอง เพราะค่าทินประมาณที่คำนวณมาได้ ก็คือการคำนวณประมาณชั่วระยะเวลากลางวันทั้งหมด ตั้งแต่เช้าจนตกเย็น 

เมื่อแบ่งครึ่ง ของทินประมาณออกมา เป็นสองส่วน

เวลาตรงกลางนั้น ก็เลยกลายเป็น เวลาของทินาท หรือก็คือ เวลาเที่ยง ไปโดยปริยาย

สำหรับตำแหน่งอาทิตย์เล็งตรงหัว นั้น ถูกถือเป็นเวลาเที่ยงวันและทำให้แบ่งช่วงเวลากลางวันของโลกออกจากกันเป็นสองฟากคือเช้ากับบ่าย

เพื่อความง่ายในการคิดคำนวณ ท่านเลยกำหนดเอาเวลาเที่ยง อาทิตย์ตรงหัว นี่แหละ มาคิดเป็นเกณฑ์เทียบเสียเลย โดยนำมาหักลบกับ อมาวสีสมผุส ซึ่งเป็นเวลาที่เข้าจับพอดี มาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในช่วงเวลาไหน จากนั้น ค่อยกระทำไปตามขั้นตอนอื่นๆที่เหลือ

ที่พอนึกออก น่าจะมีเพียงเท่านี้ ที่เหลือก็มึนกันต่อไป 

ขอตัวไปพักผ่อนก่อน ค่อยพบกันใหม่ สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์