รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 ภาคสมการมัธยม

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 ภาคสมการมัธยม

หลังจากที่ ค้นหา และพิสูจน์ ถึง หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่แท้จริงเพื่อให้การใช้งาน
สมการสุริยยาตร์ของท่านผู้รู้ เป็นไปอย่างถูกต้องและสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้งานต่อได้ 
ก็ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องบันทึก ชุดสมการเหล่านี้ เอาไว้ก่อน เสียที
(หลังจากใช้เวลาร่วม 1 ปีเศษๆ)

ส่วนเรื่องที่จะนำมาวิเคราะห์ ศึกษา หรือ แนะนำ วิธีการใช้งาน ใดๆนั้น ขอยกยอดเอาไว้ก่อน ค่อยนำเสนอกันในภายหลัง

สำหรับ สมการสุริยยาตร์ นั้น จะนำข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก ต้นฉบับของกระทู้นี้

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

อันเป็นของคุณทองคำขาว (ท่านผู้รู้) ซึ่งผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านไว้เป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้

ด้วยความเคารพในงานเขียนและการค้นคว้าเดิมของท่านผู้รู้  ผู้เขียนจึงขอไม่ใช้หัวข้อเดียวกันกับท่าน
แต่ใช้ว่า เป็นสมการสุริยยาตร์ แทน แต่ขอให้เข้าใจว่า เป็นการพูดถึง สิ่งเดียวกัน เพียงแต่มีการปรับปรุง กฎ ข้อกำหนด ข้อบังคับ รวมถึงวิธีการใช้งาน ให้สามารถใช้งานภายในขอบเขตของคัมภีร์สุริยยาตร์ ได้อย่างเหมาะสม และร่วมสมัย ซึ่งก็เป็นเพียงแค่จุดเล็กๆน้อยๆ ที่คอยเสริมให้ สมการของท่านผู้รู้ นั้น ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

และขอนำข้อมูล ทั้งหมด ที่เรียบเรียงจากต้นฉบับเดิม มาบันทึกไว้ก่อน ณ ที่แห่งนี้
อาจมีของใหม่ ที่เกิดจากการค้นหา พิสูจน์ หลักเกณฑ์ข้อบังคับในการใช้งานที่แท้จริง
แทรกไว้ให้บ้าง ก็เพื่อเสริมให้การใช้งานสมการต่างๆเหล่านั้น สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น

ดังนั้น เรามาเริ่มกันเลย

สำหรับ สมการสุริยยาตร์ (มหาสุริยยาตร์ เดิม) มีดังนี้

เริ่มจาก การหาตำแหน่งดาวสองสิ่ง ได้แก่

มัธยม คือ ตำแหน่งดาวแบบเฉลี่ย (Mean Longitude)

สมผุส คือ ตำแหน่งดาวตามจริง (True Longitude)

ในตอนต้น เริ่มแรก ของการหาค่า จะเริ่มจากมัธยม เป็นหลักก่อน เสมอ ทุกครั้ง

โดยจะเริ่มต้นที่ มัธยมอาทิตย์ เป็นอันดับแรก

สำหรับตัวแปรประกอบสมการ จะเป็นค่าหรคุณ hd

หรคุณ หาได้ สามแบบ

หนึ่ง ใช้เกณฑ์แบบเก่า หรคุณที่ได้นี้ จะเป็นหรคุณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ และใช้เป็นหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ สำหรับทุกๆสมการ

สอง ใช้วิธีการแปลงค่ามาจากปฏิทินสากล แล้วปรับเข้ามาเป็นหรคุณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ แต่ต้องปรับลดไป 1 เพื่อให้เป็นหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ ในการใช้สำหรับทุกๆสมการ(มีบางสูตรที่แปลงแล้วได้ค่าของหรคุณประสงค์ จึงนำมากล่าวไว้)

สาม คิดด้วยวิธีการของปฏิทินสากล เป็น Julian Date(JD) แล้ว ทำการหักลบกับ จุด JD เที่ยงคืนก่อนวันเถลิงศก จ..0
ที่มีค่าเท่ากับ 1954167.5  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ ไปแทนค่า ในทุกๆสมการ ค่าที่ได้ คือ หรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ เพราะเป็นค่าที่ถูกปรับเข้ามาเป็นหรคุณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์แล้ว เช่นกัน

และผลลัพธ์ของตำแหน่งดาวต่างๆ จากสูตรคำนวน

จะออกมาในรูป "องศาจำนวนจริง"

สมการแห่งมัธยม เป็นดังต่อไปนี้ :-

========================================

สมการมัธยมต่างๆ ( Mean Longitude )

--------------------------------------------------

( hd คือ หรคุณของวันที่เวลาที่ต้องการหา )

สำหรับ มัธยมอาทิตย์ จะมีสมการให้ใช้อยู่ 2 รูปแบบ สำหรับ หรคุณสองระบบ
คือ หรคุณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ กับ หรคุณจูเลียนตามระบบปฏิทินสากล ตามลำดับ

1. มัธยมอาทิตย์ = (360/(292207/800))*(hd-373/800) - 3/60

    หรคุณที่ใช้คือ หรคุณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ เป็นหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ร่วมทศนิยมเวลา

   และ

  มัธยมอาทิตย์ = ((360*800)/292207)*((JD เที่ยงคืน-194167.5)-0.46625) – 3/60

  หรคุณที่ใช้คือ หรคุณจูเลียนตามระบบปฏิทินสากลคิด ณ จุดเที่ยงคืนหักลบกับ จุด JD เที่ยงคืนก่อนวันเถลิงศก จ..0 เมื่อหักลบกับค่าแก้เรียบร้อยแล้วจึงใช้ร่วมทศนิยมเวลาได้  จากสูตรดังนี้

hd = (JD เที่ยงคืน-194167.5)

หรคุณจากทั้งสองสมการ จริงๆแล้วคือ ค่าเดียวกัน จากค่า hd ในสูตรที่สอง ค่าที่ได้ถูกแปลงกลับมาเป็นหรคุณในระบบสุริยยาตร์เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะนำไปใช้หาค่าอื่นๆต่อได้ทันที

2. มัธยมจันทร์ = มัธยมอาทิตย์ + 12*(hd*703/692+650/692) - 40/60

3. มัธยมอุจจ์ = 360*(hd-621)/3232 + 2/60

4. มัธยมรวิ = มัธยมอาทิตย์ - 23/60

5. กำลังพระเคราะห์ = 60*(360/(292207/800)*(hd - 373/800 - 610*(292207/800)) - 3/60 - 23/60)

6. มัธยมอังคาร = (กำลังพระเคราะห์ * (1/2+16/505) + 5420) / 60

7. มัธยมพุธ = (กำลังพระเคราะห์ * (7/46+4) + 10642) / 60

8. มัธยมพฤหัส = (กำลังพระเคราะห์ * (1/12+1/1032) + 14297) / 60

9. มัธยมศุกร์ = (กำลังพระเคราะห์ * (10/6-10/243) + 10944) / 60

10. มัธยมเสาร์ = (กำลังพระเคราะห์ * (1/30+6/10000) + 11944) / 60

11. มัธยมมฤตยู = (กำลังพระเคราะห์ * (1/84+1/7224) + 16277) / 60

12. มัธยมราหู = กำลังพระเคราะห์ *(1/20+1/265) / 60

13. มัธยมเกตุไทย = 360*(hd-344)/679

14. อุจจ์วิเศษ ( anomaly ) = มัธยมจันทร์ มัธยมอุจจ์

================================================

ในสมการมัธยมแต่ละแบบ จะนำไปสู่การหาสมผุสของแต่ละดาว

ซึ่งท่านผู้รู้ ได้รวบรวมเอาไว้เป็นสมการอีกชุดหนึ่งต่างหาก

ในตอนหน้า เราจะมาทำความรู้จักกันกับ ชุดสมการเหล่านี้

พบกันใหม่ ตอนหน้า สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Way To Go 2023 For SaturnOwl