บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2017

บทแทรกการคำนวณจันทรุปราคา ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอุปราคา

บทแทรกการคำนวณจันทรุปราคา ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอุปราคา    บทแทรกการคำนวณจันทรุปราคา ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอุปราคา ขนาดปรากฎของดวงจันทร์และขนาดเงาของโลก   ปัจจุบัน สำหรับการคำนวณอุปราคา ในแต่ละครั้ง จะมีการคำนวณหาขนาดของเงาและขนาดปรากฎของวัตถุที่ก่อให้เกิดอุปราคาเอาไว้ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบลักษณะของการบังกันในครั้งนั้น ว่าเป็นอย่างไร กินลึกเท่าใด ทิศทางอยู่ตรงไหน ฯลฯ เพื่อบันทึกเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการเกิดอุปราคา(saros)ในแต่ละชุด ในสมัยโบราณเอง ก็มีหลักการและวิธีการในทำนองเดียวกัน ที่ทำให้ทราบได้ถึง ลักษณะการเกิดอุปราคา ว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งดูคล้ายคลึงกับในสมัยปัจจุบัน ดังจะได้แสดงไว้ต่อไปนี้

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 6]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 6] จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้ เวลาแรกจับ ตามตำรา คำนวณไม่ได้ เวลาปล่อย ตามตำรา คือ 6 มหานาฑี 21 มหาวินาฑี คิดเป็นเวลานาฬิกาปัจจุบัน คือ 20 นาฬิกา 32 นาที 24 วินาที สำหรับเวลาปล่อยจริงที่คำนวณได้ในปัจจุบัน (คำนวณเฉพาะที่เวลาสิ้นสุดการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน) อยู่ที่ 20 นาฬิกา 44 นาที 48 วินาที ต่างกันอยู่ 12 นาที 4 วินาที และได้ทิ้งท้าย เอาไว้ ว่า มีการคำนวณ อีกแบบหนึ่ง ที่มาจากตำราอื่น(อ.หลวงพรหมโยธีฯ) ที่อ. ท่านได้แนะนำไว้ให้ ในตอนนี้ เราจะมาทดลองคำนวณกันดู

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 5]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ ตอนที่ 5 จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 เราได้คำนวณมาจนถึง ค่าราหูภุช ซึ่งเป็นจุดบ่งชี้สำคัญว่า มีคราสในวันนั้นจริงหรือไม่ ฉะนั้น ในตอนนี้ เราจะคำนวณในส่วนที่ต่อเนื่องจาก ค่าของราหูภุชต่อไป แต่ก่อนอื่น จะขอย้อนกลับไปยังการคำนวณราหูภุชกันก่อน ซึ่งการคำนวณหาราหูภุช จริงๆ ทั้งหมด มีการคำนวณเป็นดังนี้ ตักกลาราหู-ตักกลาจันทร์ (9890 + 21600)-10227 = 21263 21263 หาร 5400 = 3 เป็นโกลัง เศษ 5063 โกลัง 3 เศษ ยังไม่เป็นราหูภุช ต้องเอาเศษลบเชิงหารก่อน 5400-5063 = 337 เป็นราหูภุช 337 เอา 720 หารไม่ได้ มีคราส จันทร์ภุกดภุกดิเป็น 733 มากกว่าราหูภุช มีคราส โกลัง 3 จับข้างทักษิณ ตักกลาจันทร์ลบตักกลาราหูมิได้เป็นพิปริต ทิศจับจริงคือ อุดร จาก ราหูภุช 337 คูณ 9 หาร 2 = 1516 หาร 60 = 25 เศษ 16 เพราะฉะนั้น 25 มหานาฑีกับ 16 มหาวินาฑี เป็น ราหูวิกขิป

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4] จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 เราได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา ออกมาเป็นดังนี้ มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868 มัธยมจันทร์ปฐม = 9966 มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425 มัธยมราหูปฐม = 11708 มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927 มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756 มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432 มัธยมราหูทุติยะ = 11711 และได้ตำแหน่งแท้จริงหรือสมผุส ของวัตถุ ตามตำรา ออกมาเป็นดังนี้ สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996 สมผุสจันทร์ปฐม = 9837 สมผุสราหูปฐม = 9892 สมผุสอาทิตย์ทุติยะ = 21055 สมผุสจันทร์ทุติยะ = 10570 สมผุสราหูทุติยะ = 9889 จะได้ ค่าการคำนวณเป็นผลลัพธ์ทั้งหมด จำนวน 7 ชุด แบ่งออกเป็น ค่ามัธยมปฐมและทุติยะอย่างละ 4 ชุด และ สมผุสปฐมและทุติยะ อีก อย่างละ 3 ชุด และต้องทำการหาค่าตั้งต้นอีก 5 ค่า สำหรับใช้เพื่อการคำนวณคราสทั้งอาทิตย์และจันทร์ดังนี้

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3] จากตอนที่แล้ว ใน กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 เราได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาอุปราคา คือ อาทิตย์ จันทร์ อุจจ์ และ ราหู โดยค่าทั้งหมดที่ได้จาก การคำนวณ ในขั้นตอนที่ผ่านมา มีดังนี้ มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868 มัธยมจันทร์ปฐม = 9966 มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425 มัธยมราหูปฐม = 11708 มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927 มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756 มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432 มัธยมราหูทุติย ะ = 11711 และหลังจากได้ ตำแหน่งเฉลี่ย มาแล้ว ก็ทำการคำนวณ การหาค่า ตำแหน่งที่แท้จริงของ อาทิตย์ จันทร์ และ ราหู(จุดตัด – node) หรือ ค่าสมผุส ตามที่ปรากฎอยู่ในตำรา ซึ่งสมผุสทั้งหมด ที่คำนวณได้ เป็นดังนี้ สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996 สมผุสจันทร์ปฐม = 9837 สมผุสราหูปฐม = 9892 สมผุสอาทิตย์ทุติยะ = 21055 สมผุสจันทร์ทุติยะ = 10570 สมผุสราหูทุติยะ = 9889

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 2]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 2]   ในตอนที่แล้ว จากกรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 โดย จันทรุปราคา นี้ มีค่าเริ่มต้น หรือ อุณทิน ที่คำนวณได้ออกมาเป็น 318652 และจากค่าเริ่มต้น ก็ทำการคำนวณเรื่อยมา จนกระทั่งได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาอุปราคา คือ อาทิตย์ จันทร์ อุจจ์ และ ราหู โดยค่าทั้งหมดที่ได้จาก การคำนวณ ในขั้นตอนที่ผ่านมา มีดังนี้ มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868 มัธยมจันทร์ปฐม = 9966 มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425 มัธยมราหูปฐม = 11708 มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927 มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756 มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432 มัธยมราหูทุติยะ = 11711

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 1]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 1]   ตัวอย่างการคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ จันทรุปราคา 4 เมษายน 2558   ว่ากันว่า การศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ควรที่จะลงมือทำมันเสีย ฉะนั้น เราจึงไม่รอช้า ที่จะนำเสนอออกมาเลย กับ กรณีศึกษา การทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้จากตัวคัมภีร์ (ตำรา) ว่า มีค่าเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับ ค่าที่คำนวณได้ ณ ปัจจุบัน โดยตัวอย่างที่จะใช้ ก็เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ ประมาณ 2 ปีเท่านั้นเอง คือ จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน สำหรับ จันทรุปราคา 4 เมษายน 2558 นี้ ได้เคยนำเสนอวิธีการหาค่าเริ่มต้น ที่ชื่อว่า อุณทิน ไว้ เรียบร้อยแล้ว จึงไม่ขออธิบายซ้ำอีก สำหรับผล ที่คำนวณได้ สำหรับค่าเริ่มต้นหรืออุณทิน เราจะได้ค่าเริ่มต้นออกมาเป็น 318652 ในตำรา มีจุดให้ตรวจสอบ วันที่เกิดเหตุตั้งแต่ต้น เพื่อความแน่ใจว่า เป็นวันที่เกิดอุปราคาจริงๆ โดยใช้วิธีการคือ นำอุณทินที่คำนวณได้ มาหารด้วย 7 เศษการหารที่ได้ นำไปบวกกับ 2 ค่าที่ได้คือ วันที่จะเกิด ซึ่งตัวเลขนี้ จะแทน ลำดับของวันในรอบสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ 1 วันอาทิตย์ ไปจนจบที่ 7 วันเสาร์ (หมาย

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [บทนำ]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [บทนำ] ตัวอย่างการคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์   สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นคำนวณ จันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา นั่นก็คือ การตรวจสอบ วัน และ เวลาที่คาดว่าจะเกิด ให้แม่นยำ แน่นอน เสียก่อน ต่อเมื่อ ตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่า มีอุปราคาเกิดขึ้นแน่ๆ จึงค่อยเริ่มทำตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ขั้นแรกเริ่มสุด ให้คำนวณหาค่าอุณทิน(ปุณทิน กรณีที่ใช้ตำราของ อ.หลวงพรหมโยธีฯ) ให้เรียบร้อย และถูกต้อง โดยตรวจสอบในทั้งสองวิธีการคือ คำนวณมาจากมหาศักราชด้วยคตมาสเกณฑ์ และ คำนวณจาก จุลศักราช ด้วยค่าหรคุณอัตตา ณ วันที่เกิดอุปราคา พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง จากการหารอุณทิน ซึ่งเศษที่ได้ จะเป็นตัวพิจารณาว่า ใช่วันนั้นจริงหรือไม่

บอกกล่าวกันก่อน [สารัมภ์คำนวณ]

บอกกล่าวกันก่อน[สารัมภ์คำนวณ]   หลังจากที่จบไปกับการหาอุณทิน และ เรื่องราวของ คตมาสเกณฑ์ ที่ตั้งหน้าตั้งตาหากันเป็นเรื่องเป็นราว คราวนี้ ก็มาถึง สิ่งสำคัญ ก็คือ การนำหลักวิชาทั้งหมดที่ได้ศึกษาจากในตำราหรือคัมภีร์สารัมภ์ มาทดลองใช้งานจริงกันบ้าง สำหรับผู้เขียนนั้น อย่างที่เคยบอกไป เจอปัญหาคาใจมาตั้งแต่อุณทิน จาก คตมาสเกณฑ์ แต่ก็ผ่านมันมาได้ พร้อมกันนี้ได้หาแรงบันดาลใจ จากการใช้ excel ทำคัมภีร์สุริยยาตร์ของบรรดาเหล่าผู้รู้จำนวนหนึ่ง จนกระทั่งได้ผลออกมาเป็น ไฟล์ spreadsheet อันหนึ่งที่สามารถเปิดใช้งานได้ ทั้ง excel และ spreadsheet ของฝั่ง opensource เช่น libreoffice , openoffice(ผู้เขียนใช้ ubuntu ด้วย ) ซึ่งไฟล์นี้ ได้กำหนดสูตร ที่สามารถใช้คำนวณเป็นผลลัพธ์ตรงตามตำรา แต่ เป็นแบบถึกๆ อย่าถามหาหน้าตา เพราะ แค่เอาไว้เน้นแต่ผลลัพธ์ เท่านั้น (อย่าถามเลยว่า จะทำขายไหม บอกเลยว่าไม่ ที่สำคัญ เคยเข็ดกับ พี่จิ๋วระทม(เล็กนิ่มนั่นแหละ) มาแล้ว เลยไม่อยากลงลึก เพราะหลายเจ้าก็เคยโดนกันไปแล้ว!!! เปิดไม่ออกกันก็หลายรายอยู่!!! ทำไงได้!!!) ทุกวันนี้ ก็ยังคงใช้งานมันอยู่ หนึ่งในกรณีศึกษาที่จะนำมาข