กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4]
จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558
เราได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา ออกมาเป็นดังนี้
มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868
มัธยมจันทร์ปฐม = 9966
มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425
มัธยมราหูปฐม = 11708
มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927
มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756
มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432
มัธยมราหูทุติยะ = 11711
และได้ตำแหน่งแท้จริงหรือสมผุส ของวัตถุ ตามตำรา ออกมาเป็นดังนี้
สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996
สมผุสจันทร์ปฐม = 9837
สมผุสราหูปฐม = 9892
สมผุสอาทิตย์ทุติยะ = 21055
สมผุสจันทร์ทุติยะ = 10570
สมผุสราหูทุติยะ = 9889
จะได้ ค่าการคำนวณเป็นผลลัพธ์ทั้งหมด จำนวน 7 ชุด แบ่งออกเป็น ค่ามัธยมปฐมและทุติยะอย่างละ 4 ชุด และ สมผุสปฐมและทุติยะ อีก อย่างละ 3 ชุด และต้องทำการหาค่าตั้งต้นอีก 5 ค่า สำหรับใช้เพื่อการคำนวณคราสทั้งอาทิตย์และจันทร์ดังนี้

รวิภุกดิ จาก มัธยมอาทิตย์ทุติยะและปฐม
รวิภุกดภุกดิ จาก สมผุสอาทิตย์ทุติยะและปฐม
จันทร์ภุกดิ จาก มัธยมจันทร์ทุติยะและปฐม
จันทร์ภุกดภุกดิ จาก สมผุสจันทร์ทุติยะและปฐม
ภูจันทร์ จากผลต่างของ จันทร์ภุกดภุกดิ กับ รวิภุกดภุกดิ
ซึ่งผลที่คำนวณได้ เป็นดังนี้
มัธยมอาทิตย์ทุติย - มัธยมอาทิตย์ปฐม
รวิภุกดิ=59
สมผุสอาทิตย์ทุติย -สมผุสอาทิตย์ปฐม
รวิภุกดภุกดิ=59
มัธยมจันทร์ทุติย- มัธยมจันทร์ปฐม
จันทร์ภุกดิ=790
สมผุสจันทร์ทุติย -สมผุสจันทร์ปฐม
จันทร์ภุกดภุกดิ=733
จันทร์ภุกดภุกดิ -รวิภุกดภุกดิ
ภูจันทร์=674
ฉะนั้น ในตอนนี้ ถือเป็นขั้นตอนเริ่มแรก สำหรับการคำนวณจันทรุปราคา
โดยเริ่มต้นจากการหาฉายาเคราะห์(เงาของโลก)
หาฉายาเคราะห์ (หาค่าของเงาของโลก)
จาก สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996
สมผุสอาทิตย์ปฐม
20996 + 10800 หาร 21600 = 1 เศษ 10196
เศษ 10196 เป็นฉายาเคราะห์
จากฉายาเคราะห์ หาเคราะห์หันตกุลา
ฉายาเคราะห-สมผุสจันทร์ปฐม
10196-9837 = 359 เป็น เคราะห์หันตกุลา
คำนวณหา ปุณมี จาก เคราะห์หันตกุลา
เคราะห์หันตกุลา
359 คูณ 60 หาร 674 = 31 มหานาฑี เศษ 646
646 คูณ 60 หาร 674 = 57 มหาวินาฑี เศษ 342 (อัฑฒาธิกรรม)
ปัดเป็น 58 มหาวินาฑี
เพราะฉะนั้น 31 มหานาฑี และ 58 มหาวินาฑี เป็นปุณมี จันทร์เต็มดวง
หาสมรวิกุลา จาก ปุณมี
ปุณมี
31 คูณ 59 = 1829 + 57 = 1886
58 คูณ 59 = 3422 หาร 60 = 57 เศษ 2
1886 หาร 60 = 31 เศษ 26 (ไม่อัฒา)
เพราะฉะนั้น 31 เป็นสมรวิกุลา
หาสมจันทร์กุลา จากปุณมี
ปุณมี
31 คูณ 733 = 22723 + 708 = 23431
58 คูณ 733 = 42514 หาร 60 = 708 เศษ 34
23431 หาร 60 = 390 เศษ 31
เพราะฉะนั้น 390 เป็นสมจันทร์กุลา
หา สมราหูกุลา จาก ปุณมี
ปุณมี
31 คูณ 3 = 93 + 2= 95
58 คูณ 3 = 174 หาร 60 = 2 เศษ 54 (อัฒา) เศษ
95 หาร 60 = 1 เศษ 35 (อัฒา)
เพราะฉะนั้น 1 เศษ 35 (อัฒา) = 2 เป็นสมราหูกุลา
ภายในตำรา ได้วางจุดตรวจสอบการคำนวณว่า ถูกต้องหรือไม่
ด้วยการตรวจสอบ ค่าตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ ว่าเท่ากันหรือไม่
หากเท่ากัน ให้ ทำต่อไป แต่ถ้าไม่เท่ากัน คือ ทำผิด ต้องย้อนกลับไปคำนวณมาใหม่
หา ตักกลารวิ จาก ผลบวก ฉายาเคราะห์กับ สมรวิกุลา
10196 + 31 = 10227 ตักกลารวิ
หา ตักกลาจันทร์ จาก ผลบวก สมผุสจันทร์ปฐม กับ สมจันทร์กุลา
9837 + 390 = 10227 ตักกลาจันทร์
ตักกลารวิกับตักกลาจันทร์เท่ากัน, แปลว่าคำนวณมาถูกแล้ว
หา ตักกลาราหู จาก ผลต่างของ สมผุสราหูปฐม กับ สมราหูกุลา
9892-2 = 9890 ตักกลาราหู
คำนวณหาราหูภุช
ให้คำนวณหา ราหูภุช เพื่อตรวจสอบซ้ำ อีกครั้ง ว่า เป็นวันที่เกิดคราส จริงหรือไม่
ตักกลาราหู- ตักกลาจันทร์
(9890 + 21600)-10227 = 21263
21263 หาร 5400 = 3 เป็นโกลัง เศษ 5063
โกลัง 3 เศษ ยังไม่เป็นราหูภุช ต้องเอาเศษลบเชิงหารก่อน
5400-5063 = 337 เป็นราหูภุช
337 เอา 720 หารไม่ได้ มีคราส
จันทร์ภุกดภุกดิเป็น 733 มากกว่าราหูภุช มีคราส
หมายเหตุ สำหรับจุดตรวจสอบแรก ที่ตำราให้ไว้นี้ พบว่า ในทางปฏิบัติจริงๆ มีหลายครั้ง ที่มีการคำนวณทั้งมัธยมและสมผุส ผิดมาตั้งแต่เริ่มต้น
ทว่า เมื่อคำนวณมาถึงขั้นตอนนี้ กลับให้ค่า ตักกลารวิ และ ตักกลาจันทร์ ที่ออกมาเท่ากัน ทำให้เมื่อเผลอทำต่อไป
จะพบเจอจุดที่ผิดปรากฎอยู่ในขั้นตอนอื่น และเป็นเหตุ ให้ต้องรื้อย้อนกลับมาคำนวณใหม่ ทั้งหมด อยู่หลายครั้ง หลายคราว
ดังที่เคยกล่าวไว้ ว่า เป็นการคำนวณที่ค่อนข้างจะยาก และซับซ้อน เพราะหาจุดตรวจทานกลับ ได้ยากมากๆ และถ้าหากผิดเพียงจุดเดียว จุดที่เหลือจะผิดตามกันแบบเป็นลูกโซ่

ขณะนี้ เราได้มาถึงครึ่งทางของการคำนวณ จันทรุปราคา แล้ว ขั้นตอนที่จะนำเสนอ ต่อไป ในตอนหน้า คือ หลังจากทราบราหูภุช ว่า มีคราสแล้ว ต้องคำนวณอย่างไร เพื่อหาเวลาในการเกิดคราส
โปรดติดตาม ตอนต่อไป.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์