กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 6]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 6]
จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558
ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้
เวลาแรกจับ ตามตำรา คำนวณไม่ได้
เวลาปล่อย ตามตำรา คือ 6 มหานาฑี 21 มหาวินาฑี
คิดเป็นเวลานาฬิกาปัจจุบัน คือ 20 นาฬิกา 32 นาที 24 วินาที
สำหรับเวลาปล่อยจริงที่คำนวณได้ในปัจจุบัน (คำนวณเฉพาะที่เวลาสิ้นสุดการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน)
อยู่ที่ 20 นาฬิกา 44 นาที 48 วินาที
ต่างกันอยู่ 12 นาที 4 วินาที
และได้ทิ้งท้าย เอาไว้ ว่า มีการคำนวณ อีกแบบหนึ่ง ที่มาจากตำราอื่น(อ.หลวงพรหมโยธีฯ) ที่อ. ท่านได้แนะนำไว้ให้
ในตอนนี้ เราจะมาทดลองคำนวณกันดู

อันดับแรก ให้ทำ ปุณมี กับ ติตถนาที ที่คำนวณได้ ก่อนหน้านี้ แปลงกลับมาเป็นเวลาธรรมดาเสียก่อน
เราจะได้ปุณมี ออกมาเป็น 12 ชั่วโมง 47 นาที 12 วินาที
และติตถนาที ออกมาเป็น 1 ชั่วโมง 36 นาที 24 วินาที
จากนั้น นำเกณฑ์ ทิวา 11 ชั่วโมง 48 นาที มาบวกเข้ากับ ติตถนาที ผลลัพธ์ที่ได้ เรียกว่า ติตถทิวา
ดังนั้น เราจะได้ ติตถทิวา ออกมาเป็น 13 ชั่วโมง 24 นาที 24 วินาที
จากนั้น ตั้งปุณมี แล้ว เอาติตถทิวา มาหักลบ
ปุณมี ติตถทิวา
12 - 13 = ลบไม่ได้
47 - 24 = ลบไม่ได้
12 - 24 = ลบไม่ได้
พบว่า เราคำนวณหา เวลาแรกจับไม่ได้ เช่นเดียวกันกับ ตำราของ อ.หลวงวิศาลฯ
อันที่จริงแล้ว พอจะมีวิธีการที่คำนวณได้ แต่ขอยกเอาไว้ก่อน เพราะไม่แน่ใจถึงเกณฑ์ กำหนด 1วัน ของ อ.หลวงพรหมโยธีฯ ว่ามาจากอะไรกันแน่
จากนั้น เมื่อจะหาเวลาปล่อย เราทำได้โดย นำ ปุณมี บวกเข้ากับ ติตถทิวา แล้วนำเกณฑ์อดีต คือ 23 ชั่วโมง 36 นาที มาหักลบ ได้ผลลัพธ์เป็นเวลาโมกษบริสุทธิ(เวลาปล่อย) นับเวลานาฬิกา เริ่มแต่ย่ำค่ำเป็นต้นไป
ปุณมี ติตถทิวา เกณฑ์อดีต เวลาปล่อย
12 + 13 = 26 / 26 - 23 = 2
47 + 24 = 11 / 11 - 36 = 35
12 + 24 = 36 / 36 - 0 = 36
พบว่า เวลาปล่อยที่คำนวณได้ คือ 2 ชั่วโมง 35 นาที 36 วินาที นับจาก ย่ำค่ำ คือ 18 นาฬิกา
ดังนั้น เวลาปล่อยตามนาฬิกาปัจจุบัน คือ 20 นาฬิกา 35 นาที 36 วินาที แตกต่างจากเวลาที่คำนวณด้วยดาราศาสตร์ปัจจุบัน อยู่ 9 นาที 12 วินาที
เป็นอันว่า วิธีการจากทั้งสองตำรา ไม่สามารถคำนวณหาเวลาแรกจับ ได้ แต่สามารถคำนวณหาเวลาปล่อยออกมาได้ โดย มีผลต่างอยู่ที่ 9 นาที 12 วินาที จากค่าที่คำนวณได้ในปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีความคลาดเคลื่อนอยู่ แต่น้อยกว่า ของอ.หลวงวิศาลฯ ่ที่ผลต่างการคำนวณอยู่ที่ 12 นาที 4 วินาที
ปัญหาที่น่าสนใจ มีสองประการ
หนึ่ง สูตรที่ใช้สำหรับการหักลบเวลาตามตำรา เพื่อหาช่วงเวลาเกิดอุปราคา จะคิดเวลานับแต่ย่ำค่ำเป็นต้นไป
แต่ ถ้าหากเวลาแรกจับของอุปราคา เกิดขึ้นในเวลาบ่ายๆ ถึง เย็นๆ ที่ดูยังไงๆ ก็ยังไม่ถึง 18 นาฬิกาหรือ 6 โมงเย็น ขึ้นมา จะทำอย่างไร (ผู้เขียน เคยปวดหัวกับมันมาเป็น วันๆ ก่อนที่จะพบแนววิธีการคิดอันหนึ่ง ที่น่าจะใช้ได้ ในภายหลัง ซึ่งต้องรอเวลาทดลองนำเสนอกันต่อไป)
สอง ถ้าหากจะนำ คัมภีร์สารัมภ์ มาใช้งานในปัจจุบันนี้ จะต้องปรับหรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือใช้วิธีการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่(ในข้อแรก บอกใบ้ไปอ้อมๆแล้ว)
โดยที่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับระบบพื้นฐานของตำราอันนี้เลย ตรงจุดนี้ บอกได้เลยว่า พอทำได้ แต่ในเบื้องต้น ได้เฉพาะการคำนวณจันทรุปราคา เท่านั้น และอาจจะใช้ได้เป็นการเฉพาะในบางกรณีของการเกิด เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ต้องดูเป็นกรณีๆไป
สำหรับ การคำนวณสุริยุปราคานั้น มีความซับซ้อนกว่า แลดูแล้วค่อนข้างที่จะงงเอามากๆ
หากอ่านจากตำราแล้วลองปรับการคำนวณให้อยู่ในรูปแบบของปัจจุบัน เพียงอย่างเดียว เว้นแต่จะตามย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น ณ ที่มาของตำรานี้ ฉะนั้น จึงขอยกจุดนี้ เอาไว้ก่อน แล้วค่อยทำการศึกษากันต่อไป
สำหรับ ในตอนหน้า จะเป็นการนำเสนอ วิธีการคำนวณที่ทดลองใช้ วิธีพิเศษ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ อย่างง่ายๆ ในแบบพื้นฐาน รวมไปถึง แนวคิดจากปริมาณพื้นฐานที่มาจากตัวของตำราเอง เข้ามาคำนวณ เพื่อปรับแก้ ผลการคำนวณจันทรุปราคาที่มาจากคัมภีร์สารัมภ์ ซึ่งผลที่ได้ เป็นที่น่าพอใจและน่าทึ่ง เพราะใกล้เคียงกับเวลาที่ดาราศาสตร์ปัจจุบันคำนวณได้ทีเดียว
โปรดติดตาม ตอนต่อไป.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์