บอกกล่าวกันก่อน [สารัมภ์คำนวณ]

บอกกล่าวกันก่อน[สารัมภ์คำนวณ]
 
หลังจากที่จบไปกับการหาอุณทิน และ เรื่องราวของ คตมาสเกณฑ์ ที่ตั้งหน้าตั้งตาหากันเป็นเรื่องเป็นราว
คราวนี้ ก็มาถึง สิ่งสำคัญ ก็คือ การนำหลักวิชาทั้งหมดที่ได้ศึกษาจากในตำราหรือคัมภีร์สารัมภ์ มาทดลองใช้งานจริงกันบ้าง
สำหรับผู้เขียนนั้น อย่างที่เคยบอกไป เจอปัญหาคาใจมาตั้งแต่อุณทิน จาก คตมาสเกณฑ์ แต่ก็ผ่านมันมาได้
พร้อมกันนี้ได้หาแรงบันดาลใจ จากการใช้ excel ทำคัมภีร์สุริยยาตร์ของบรรดาเหล่าผู้รู้จำนวนหนึ่ง จนกระทั่งได้ผลออกมาเป็น ไฟล์ spreadsheet อันหนึ่งที่สามารถเปิดใช้งานได้ ทั้ง excel และ spreadsheet ของฝั่ง opensource เช่น libreoffice , openoffice(ผู้เขียนใช้ ubuntu ด้วย )
ซึ่งไฟล์นี้ ได้กำหนดสูตร ที่สามารถใช้คำนวณเป็นผลลัพธ์ตรงตามตำรา แต่ เป็นแบบถึกๆ อย่าถามหาหน้าตา เพราะ แค่เอาไว้เน้นแต่ผลลัพธ์ เท่านั้น (อย่าถามเลยว่า จะทำขายไหม บอกเลยว่าไม่ ที่สำคัญ เคยเข็ดกับ พี่จิ๋วระทม(เล็กนิ่มนั่นแหละ) มาแล้ว เลยไม่อยากลงลึก เพราะหลายเจ้าก็เคยโดนกันไปแล้ว!!! เปิดไม่ออกกันก็หลายรายอยู่!!! ทำไงได้!!!) ทุกวันนี้ ก็ยังคงใช้งานมันอยู่
หนึ่งในกรณีศึกษาที่จะนำมาขึ้นเวบต่อไปนี้ ก็มาจากผลงานของเจ้านี่ นั่นแหละ ช่วยทำมาหากินกันไป!!!
เอาล่ะ พูดมาก็นาน แค่เพียงต้องการจะบอกว่า เมื่อศึกษาแล้ว ก็ต้องนำมาทดลองใช้งานกัน แต่ในที่นี้ จะใช้เป็นกรณีศึกษาจากอดีตกันดูก่อน เพื่อเป็นการค้นหาแนวทาง ในการปรับปรุงผลลัพธ์ที่ได้ ให้ดีขึ้น
โดยในชุดแรกนี้ จะเป็นการนำเสนอ ระบบการคำนวณที่เหลือทั้งหมด หลังจากที่หาอุณทินมาได้แล้ว จนกระทั่ง ถึง การได้มาซึ่ง เวลาของการเกิดอุปราคา ตามวิธีการในตำรานี้ ไปก่อน
จากนั้น จึงค่อยนำเสนอวิธีการพิเศษที่ทดลองคิดขึ้น เพื่อนำมาใชัในการปรับปรุงค่าผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ โดยไม่ไปยุ่งอะไรกับ ระบบพื้นฐานในตัวของตำรา
สำหรับกรณีศึกษาตัวอย่างนี้ จะนำเสนอในส่วนของจันทรุปราคาก่อน เพราะเป็นอะไรที่ดูง่าย และไม่ค่อยจะซับซ้อนมากนัก ต่างจาก สุริยุปราคา ซึ่งเมื่อทดลองใช้วิธีการตามตำรามาคำนวณดูแล้ว จนกระทั่งวันนี้ ก็ยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำ ว่า เวลาที่คำนวณออกมาได้นั่น เป็นเวลาของใคร และที่ไหน!!!(ขณะที่ของจันทรุปราคา นั้น พอจะทราบอยู่ว่า เป็นเวลาของที่ไหน แต่ต้องขอตรวจสอบกันต่อไปอีกสักหน่อยเพื่อความถูกต้อง)
ส่วนบรรดา ศัพท์เทคนิค ทั้งหลาย ต่างๆ ที่ใช้และปรากฎอยู่ตามตำรา ขอยกไว้ก่อน ค่อยนำไปอธิบายในภายหลัง ไม่ใช่เพราะว่ายาก
แต่เนื่องจาก หากนำเสนอกันจริงๆ ต้องได้ความเข้าใจในเนื้อหาจากการมีกรณีศึกษามาก่อน จะช่วยให้เข้าใจอะไรบางอย่างที่เป็นความหมายของคำศัพท์เหล่านั้น ได้ดีขึ้น
หรือในบางครั้ง อาจมีความจำเป็นต้องอิงอาศัยหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เข้ามาช่วยในการอธิบาย เพื่อให้ตรงตามความเป็นจริงและข้อเท็จจริง ให้มากที่สุด
ขอจบมันดื้อๆ แบบนี้แหละ ที่เหลือ เป็นอย่างไร เชิญทัศนากันได้เลย.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์