กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3]
จากตอนที่แล้ว
ใน กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558
เราได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาอุปราคา คือ อาทิตย์ จันทร์ อุจจ์ และ ราหู
โดยค่าทั้งหมดที่ได้จาก การคำนวณ ในขั้นตอนที่ผ่านมา มีดังนี้
มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868
มัธยมจันทร์ปฐม = 9966
มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425
มัธยมราหูปฐม = 11708
มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927
มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756
มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432
มัธยมราหูทุติยะ = 11711
และหลังจากได้ ตำแหน่งเฉลี่ย มาแล้ว ก็ทำการคำนวณ การหาค่า ตำแหน่งที่แท้จริงของ อาทิตย์ จันทร์ และ ราหู(จุดตัด – node) หรือ ค่าสมผุส ตามที่ปรากฎอยู่ในตำรา
ซึ่งสมผุสทั้งหมด ที่คำนวณได้ เป็นดังนี้
สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996
สมผุสจันทร์ปฐม = 9837
สมผุสราหูปฐม = 9892
สมผุสอาทิตย์ทุติยะ = 21055
สมผุสจันทร์ทุติยะ = 10570
สมผุสราหูทุติยะ = 9889

เราจะได้ ค่าการคำนวณเป็นผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมด จำนวน 7 ชุด แบ่งออกเป็น ค่ามัธยมปฐมและทุติยะอย่างละ 4 ชุด และ สมผุสปฐมและทุติยะ อีก อย่างละ 3 ชุด
แต่ทั้งหมดนี้ ก็ยังไม่ใช่ จุดเริ่มต้นที่แท้จริง สำหรับการคำนวณอุปราคา
การคำนวณที่แท้จริง ในการหาอุปราคา จะเริ่มต้น นับจากจุดนี้ เป็นต้นไป
โดยก่อนเริ่มการคำนวณ ทั้ง จันทรุปราคา และ สุริยุปราคา มีค่าที่ต้องทำการคำนวณเพิ่มเติมอีก 5 ค่า กล่าวคือ
คุณต้องหาค่าไว้อีก 5 ค่า จาก ชุดของค่ามัธยมและสมผุส ที่ได้คำนวณเอาไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่
รวิภุกดิ จาก มัธยมอาทิตย์ทุติยะและปฐม
รวิภุกดภุกดิ จาก สมผุสอาทิตย์ทุติยะและปฐม
จันทร์ภุกดิ จาก มัธยมจันทร์ทุติยะและปฐม
จันทร์ภุกดภุกดิ จาก สมผุสจันทร์ทุติยะและปฐม
ต่อจากนั้น หาอีก 1 ค่า เพิ่มเติม นั่นคือ ภูจันทร์ โดยหาจากผลต่างของ จันทร์ภุกดภุกดิ กับ รวิภุกดภุกดิ
โดยทั้ง 5 ค่านี้ ถือ เป็นค่าตั้งต้น อีกกลุ่มหนึ่งเพื่อใช้ในการคำนวณคราส ต่อไป (ไม่ว่าจะคราสจันทร์ หรือ คราสอาทิตย์) เช่นกัน
ในที่นี้ ผลของค่าต่างๆ ข้างต้นที่คำนวณได้ เป็นดังนี้
มัธยมอาทิตย์ทุติย - มัธยมอาทิตย์ปฐม
20927-20868 = 59 รวิภุกดิ
สมผุสอาทิตย์ทุติย -สมผุสอาทิตย์ปฐม
21055-20996 = 59 รวิภุกดภุกดิ
มัธยมจันทร์ทุติย- มัธยมจันทร์ปฐม
10756-9966 = 790 จันทร์ภุกดิ
สมผุสจันทร์ทุติย -สมผุสจันทร์ปฐม
10570-9837 = 733 จันทร์ภุกดภุกดิ
จันทร์ภุกดภุกดิ -รวิภุกดภุกดิ
733-59 = 674 ภูจันทร์
เมื่อได้ค่าเริ่มต้นที่จำเป็นสำหรับการคำนวณคราส เพิ่มเติม ครบแล้ว จึงเริ่มทำการคำนวณหาอุปราคา
ในที่นี้ คือ จันทรุปราคา ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์