บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

อัพเดต คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม modern style

อัพเดต คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม modern style  ยังคงจำเรื่องการหาอัฑฒาธิกรรม ด้วย excel จากโพสก่อนหน้านี้ คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม และ Excel ได้ใช่ไหม ในตอนท้ายของโพสนั่น ได้ทิ้งเอาไว้ว่า สำหรับโปรแกรมอื่นที่เหลือพวก matlab scilab อะไรพวกนั้น ยังไม่เคยลองทำ มาวันหนึ่ง มีเหตุจำเป็นให้ได้ใช้พวกโปรแกรมสกุลที่ว่านี้เข้า ก็เลยขอลองคำสั่งดูเสียหน่อย ผลจากการทดลองที่ได้ก็คือ เป็นไปตาม แบบที่สอง ที่อ้างถึงไว้ ในโพสที่แล้ว กล่าวคือ ในตอนแรก เราจะได้ค่าของตัวเลขที่มาจากการคำนวณค่าอุณทินลบหนึ่งคูณกับค่าคงที่ ที่ใช้ทำพล มาค่าหนึ่ง ให้ตั้งตัวแปร รับค่านี้ ชื่อว่า X หรืออะไรก็ได้ สุดแล้วแต่ ความสะดวกในการคำนวณ จากนั้น ให้เอา 10000000 มาหารค่า X นี้ แล้ว ค่อยใช้ คำสั่ง round(x) เพื่อเข้าสู่การปัดค่า ก็จะได้ผลลัพธ์ แบบเดียวกับ ที่ใช้ ใน excel หรือ spreadsheet อื่นๆ ซึ่ง คำสั่ง round (x) นี้ ต้องดูในคู่มือ การใช้ของแต่ละโปรแกรม ว่า มีวิธีการใส่ค่าตัวแปรในคำสั่งนี้ อย่างไร เพราะแต่ละโปรแกรม มีความแตกต่าง ในวิธีการใช้งาน ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ขอจบ การอัพเดต แต่เพียงเท่านี้ โปรดคอยติ

ตรรกะแปลกๆ ในคัมภีร์สารัมภ์ #2

ตรรกะแปลกๆ ในคัมภีร์สารัมภ์ #2 ถ้าใครยังพอจะจำกันได้ ผมเคยกล่าวไว้ ถึง ตรรกะที่ดูค่อนข้างจะแปลกๆและทำให้มึนงง ในคัมภีร์สารัมภ์มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคคำนวณสุริยุปราคา ที่มีการเล่นสองทางเลือก แต่ใช้ลักษณะการตีความค่ามากน้อย ด้วยประโยคและถ้อยคำที่แตกต่างจากภาษาในปัจจุบัน จนทำให้หลงทางมาแล้ว หลายต่อหลายครั้ง สำหรับ 18 สค. 2560 ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้ง ที่ไปขุดเจอลักษณะแปลกๆอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในวิธีการคำนวณ ขอสรุปคร่าวๆ ตามที่พอเข้าใจลางๆไปก่อน ก็คือ พบว่า ในการคำนวณสุริยุปราคา มีการตีความของสิ่งที่เรียกว่า คต กับ เอต อันเป็นลักษณะคราส ซ้อนกันอยู่ ถึงสองชั้น ทำให้เมื่ออ่านวิธีการออกมาแล้ว ก็จะเจอว่า ตัวหนึ่ง ให้เปรียบเทียบสองค่า แล้วมีผลออกมา เป็น คต หรือเอต แต่เก็บเอาไว้ก่อน ขณะที่เมื่อเลื่อนลงไปอีก สองถึงสามขั้นตอน จะพบว่า สำหรับการเลือกคต กับ เอต ออกมา มีการใช้เป็นค่าอืน ในการเปรียบเทียบ ส่งผลให้ชุดคำนวณคราสเดียวกัน เราจะพบทั้งการใช้ เอต และ คต ที่แตกต่างปริบท แต่กลับอยู่ร่วมกันในการคำนวณชุดเดียวกันได้ สุดท้าย ก็เลยเดาทางไม่ถูกว่า ตกลง มันเป็น คต หรือเป็น เอต กันแน่!!!! และจากผ

สรุปผล การทดลอง ถ่ายภาพอุปราคา 7-8 สค. 2560

รูปภาพ
สรุปผล การทดลอง ถ่ายภาพอุปราคา 7-8 สค. 2560 - อุตุนิยมวิทยา สำคัญมากกกกกกกกกกกกกกกก ต้องอยู่ในที่ที่แน่ใจว่า สภาพอากาศปลอดโปร่ง เอื้ออำนวย เพราะจากพิกัดที่ตัวเองอยู่ เจอเมฆก้อนใหญ่ ขนาดน่าจะ 2-5 กิโลเมตร ดักเต็มฟ้าไปหมด เห็นแต่สภาพแสง ที่จากจ้า แล้วจู่ๆก็กลับมัวลงไป กว่าจะเห็น ก็ล่อเอาตอนเกือบจะคลายออกแล้ว -*- ไม่รู้ว่า ศูนย์ดาราศาสตร์ที่เชียงใหม่ จะเจอลักษณะเดียวกันนี่ไหม เพราะเห็นน้องในเฟสแถวเชียงใหม่ โพสสถานะที่ บ่งบอกว่า ท้องฟ้าน่าจะมีปัญหา เพราะว่า เจอฝนกระหน่ำ ตอนช่วงเย็นๆครับ ส่วนพิกัดอื่นๆนอกนั้นไม่รู้เหมือนกัน แต่จะว่าไปแล้ว อุปราคาหน้าฝน นี่เป็นอะไรที่แสบที่สุดแล้วล่ะครับ บ้านเราพลาดโอกาสเห็นอุปราคาที่เป็นที่สุดในรอบหลายปี ก็หลายครั้งอยู่ -*- ที่ดูจะสบายใจหน่อย ก็อุปราคาหน้าร้อนกับหน้าหนาว (เฉพาะตอนกลางคืนนะครับ เพราะเมฆดูจะน้อยๆหน่อย)