สรุปผล การทดลอง ถ่ายภาพอุปราคา 7-8 สค. 2560

สรุปผล การทดลอง ถ่ายภาพอุปราคา 7-8 สค. 2560
- อุตุนิยมวิทยา สำคัญมากกกกกกกกกกกกกกกก
ต้องอยู่ในที่ที่แน่ใจว่า สภาพอากาศปลอดโปร่ง เอื้ออำนวย เพราะจากพิกัดที่ตัวเองอยู่ เจอเมฆก้อนใหญ่ ขนาดน่าจะ 2-5 กิโลเมตร ดักเต็มฟ้าไปหมด
เห็นแต่สภาพแสง ที่จากจ้า แล้วจู่ๆก็กลับมัวลงไป กว่าจะเห็น ก็ล่อเอาตอนเกือบจะคลายออกแล้ว -*-
ไม่รู้ว่า ศูนย์ดาราศาสตร์ที่เชียงใหม่ จะเจอลักษณะเดียวกันนี่ไหม
เพราะเห็นน้องในเฟสแถวเชียงใหม่ โพสสถานะที่ บ่งบอกว่า ท้องฟ้าน่าจะมีปัญหา เพราะว่า เจอฝนกระหน่ำ ตอนช่วงเย็นๆครับ
ส่วนพิกัดอื่นๆนอกนั้นไม่รู้เหมือนกัน
แต่จะว่าไปแล้ว อุปราคาหน้าฝน นี่เป็นอะไรที่แสบที่สุดแล้วล่ะครับ
บ้านเราพลาดโอกาสเห็นอุปราคาที่เป็นที่สุดในรอบหลายปี ก็หลายครั้งอยู่ -*-
ที่ดูจะสบายใจหน่อย ก็อุปราคาหน้าร้อนกับหน้าหนาว






(เฉพาะตอนกลางคืนนะครับ เพราะเมฆดูจะน้อยๆหน่อย)


- สภาพเลนส์ ที่เลือกมา คือ ตัว 8x ถือว่า มันทำหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์สุดๆแล้ว พร้อมๆกันกับ ข้อพิสูจน์ สิ่งที่เคยสรุปไว้ก่อนหน้า สำหรับเครื่องมือของตัวเอง
คือ ต้องใช้ tablet ถ่าย ถึงจะได้ภาพที่ดูโอเค แต่ก็ต้องแลกมาด้วย อาการมือล้า (แทบเลตมันเบาเมื่อไหร่ล่ะนั่น) และการคลิก ที่อาจทำให้ ภาพสั่น
แนวทางแก้ไข คงต้องหาซื้ออันใหม่ เลือกตัวที่ 10x-40x และหามือจับแข็งแรงมั่นคงมาอันนึงแล้วเลือกจับที่ตัวของเลนส์นั่นแทน รับรองได้ ไม่สั่นแน่!!! ที่สำคัญ ราคาไม่แพงมากนัก ดูแล้วไม่ถึงพัน (รวมมือจับด้วยก็ไม่เกิน 2 พันน่ะ) หรือ ถ้าใจหน่อย เอากล้องดิจิตอล ซูมสัก 8x น่าจะเพียงพอ
คุณภาพรูป น่าจะดูดีกว่า แต่ก็อาจจะต้องโหลดลงคอมก่อนถึงจะออกสื่อได้ นี่ยังไม่นับ พวก กล้องดิจิตอลราคากลางๆไปจนถึงพวก DSLR +เลนส์เทเล ยาวๆ พวกนั้น ผมขอยอมแพ้!!!!!!!!!!!
จะให้ดีกว่านั้น คงเป็นกล้องโทรทรรศน์ ราคาพันกว่าๆที่ สามารถต่อกับคอมได้ หรือว่า มีช่องให้เอามือถือไปเก็บเอาภาพมาได้ ซึ่งคิดว่าน่าจะมีขาย ใครที่สนใจ ควรสอบถามข้อมูลจากผู้จำหน่ายดูครับ
ในส่วนของมือถือ ถ้าเป็นพวกที่ราคากลางๆหน่อย คุณภาพกล้อง คิดว่าสูสีกันกับพวกกล้องดิจิตอลเลยล่ะ (ไอโฟน กับ samsung ระดับกลางๆถึงตัวท็อป เป็น ตัวเลือกที่ดีทีเดียว สำหรับใครที่ใช้อยู่ ถือว่า โชคดี คุณมีของดีอยู่กับตัวแล้วครับ แต่พวกระดับราคาถูกๆ อย่าน้อยใจไป ผมก็มีและใช้มันอยู่ อาจต้องปรับใช้อุปกรณ์อะไรอีกนิดหน่อย แต่ถ้ามีงบ เปลี่ยนได้ก็ดีครับ ไม่อย่างนั้นก็หากล้องมาใช้ น่าจะเข้าท่ากว่า)

 -สุขภาพ ร่างกาย สำคัญ ไม่แพ้กัน เพราะ สองอุปราคา มีอะไรที่ต้องระมัดระวังไม่เหมือนกัน
ถ้าเป็นจันทรุปราคา สำหรับตอนเย็นถึงหัวค่ำไม่น่ามีปัญหา
ที่จะเริ่มมีปัญหาคือ เมื่อ เกิดตั้งแต่ สี่ทุ่มเป็นต้นไป เพราะมันไม่ใช่ ฟุตบอลอังกฤษ หรือบอลยุโรป ที่หลับแล้ว เผลอ กลับมาดูผลย้อนหลังได้ เจ้านี่ พลาดแล้ว พลาดเลย และมันก็น่าเบื่อกว่า ฟุตบอลยุโรป ที่มีทั้งโฆษณา หรืออะไรต่ออะไรให้น่าตื่นตา ตื่นใจ โดยเฉพาะพวกที่พากย์บอล ฮาๆ สนุกๆ
แต่ก็อาจจะตื่นเต้นหน่อย ถ้าได้เห็นภาพนั้น จะจะ กับตาตัวเอง พูดง่ายๆคือ ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะบางที เกิดตอนตีหนึ่ง กว่าจะจบคลายออก เช้ามืดพอดี -*-
(ปีหน้า 2561 มีแน่นอนครับ เดือนกรกฎาคมด้วย!!!!!!!)
ส่วนของ สุริยุปราคา อันนี่ ขาโหด เท่านั้น ถึงจะรอด เพราะประกายแสงขณะเกิด เป็นอันตรายต่อดวงตา เป็นอย่างมาก การส่อง ต้องแน่นอน รวดเร็ว เพื่อความปลอดภัย เพราะมีรังสีที่เป็นอันตรายต่อดวงตา รวมถึงเซนเซอร์ของกล้อง ต้องใช้การฝึกหัด จนชำนาญ และรู้จักการใช้ตัวกรองแสงเป็นอย่างดี
ถ้าเป็นไปได้ สำหรับมือสมัครเล่น ให้ใช้ภาพสะท้อนจากกล้องโทรทรรศน์น่าจะปลอดภัยต่อดวงตาที่สุด(ถ้ามี) หรือจะเป็นกล้องรูเข็มก็ได้
(รายละเอียดมีอยู่อย่าง ยืดยาวจากกระทู้หนึ่งในเวบ pantip.com ที่ควรอ่านอย่างยิ่ง ลองค้นหาดู เพราะเป็นประโยชน์อย่างมาก อ่านไป เสียวลูกตาไป น่ากลัวชะมัด!!!!!!!!)



- การคำนวณ เวลา ที่เกิด ณ พิกัดที่ตัวเองอยู่ ตรงนี้ ใช้แบบคร่าวๆเอาก็ได้ครับ
แอพ ช่วยพร้อมใช้ มีอยู่เยอะแยะ มากมาย ให้โหลด เต็มไปหมด หรือจะใช้ข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ อย่างเช่น ในไทย ก็สมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยครับ
หรือ ใครอยากโชว์พาว ก็เชิญได้เลยครับ สูตรคำนวณใดๆ ทั้ง โบราณ หรือว่าสมัยใหม่ มีเสนออยู่ทั่วไป ในอินเตอร์เน็ต
อันที่จริง ในเวบไซต์ต่างประเทศ มีสอนดาราศาสตร์ เบื้องต้นถึงขั้นกลาง สำหรับพวกตากล้องส่องดาว ด้วยเหมือนกัน ถ้าสนใจก็ลองศึกษาอ่านดูได้ ของไทย คงต้องไปหาๆดูตาม เวบพวกสอนวิชาดาราศาสตร์ในมหาวิทยาลัย หรือพวก ฟรี e-book ของม.ราม ก็ได้ เท่าที่อ่านดูก็พอไหว แต่มึนๆนิดนึงครับ ศัพท์แสง วิชาการเยอะแยะ ไปหมด หรือจะเป็น ดาราศาสตร์อิสลาม ก็พอไปกันได้เหมือนกันครับ
ถามว่า ทำไม แค่คร่าวๆ เพราะว่า ถ้าเป็นมือสมัครเล่น ยังไงๆก็ไม่จำเป็นต้องได้เวลาเป๊ะๆ แบบครบทุกวินาที เนื่องจากต้องเผื่อเวลาในการเตรียมอุปกรณ์ เพื่อการเก็บภาพ เว้นแต่จะตั้งกล้องรอ ตั้งแต่ตอนมันเกิด หรือเพื่อการบันทึกผลทางดาราศาสตร์ ซึ่งอันนั้น คงต้องมีทีมงานกันบ้างแหละ
แต่อย่างน้อยๆ ก็ขอให้พอกะเป็นช่วงๆได้ เช่น เวลาตั้งแต่แรกจับ เวลากึ่งกลางคราส ไปจนถึง เวลา คลายออก เป็นต้น

(ของผมแย่หน่อย มันล่อเอาเกือบตลาดจะวายแล้ว!!!!!!!!!!! เมฆ ก้อนมหึมานั่น ช่าง แสบทรวงดีแท้!!!!!!!!! -*-)




สรุปเลยว่า ถ้าต้องการจะถ่ายวัตถุฟ้า หรือ ปรากฎการณ์พวกอุปราคาต่างๆ ข้อมูลต้องพร้อม อุปกรณ์ต้องพร้อม สภาพร่างกาย จิตใจต้องพร้อม
ที่สำคัญ ตรวจสอบสภาพอากาศ ณ สถานที่ ที่จะเกิดด้วย จะดีที่สุด (โดยเฉพาะ สุริยุปราคา ถ้าเกิด ณ สถานที่นั้น แต่ฟ้าปิดและเป็นต่างประเทศ เสียดายค่าเครื่องบินแย่!!!)
ปล ขอเวลา เก็บเงิน ซื้อ ตัว 10x-40x พร้อมที่จับมือถือมา น่าจะดี (น่าจะพอใส่แทบเลตได้นะ ไม่งั้นก็คงต้องเปลี่ยนมือถือ แล้วแต่ งบจะเอื้ออำนวยครับ -*-)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์