บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2016

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน(ปุณทิน) ณ ราศีเมษ[ตอนที่ 2]

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน ( ปุณทิน ) ณ ราศีเมษ [ ตอนที่ 2] จาก ตอนที่แล้ว ได้อธิบาย ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การหาค่าอุณทิน ณ ราศีเมษ ที่เป็นปัญหาคาใจมานาน แต่ช่วงที่เกิดนั้น เป็นกรณีเกิดอุปราคา หลังวันเถลิงศกไปแล้ว และการแก้ปัญหาด้วยกรณีพิเศษ ก็สามารถจัดการได้และให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ในการทดลองเก็บสถิติย้อนหลังกลับไปถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ น่าแปลกใจ ที่พบว่า แม้แต่การเกิดอุปราคาในช่วงระหว่างวันเถลิงศกหรือวันมหาสงกรานต์ ค่าคตมาสเกณฑ์ที่ใช้ในราศีเมษ ก็ไม่ใช่ 365 เช่นกัน แต่ใช้เป็นเลขศูนย์ไปเลย ( ตรงนี้ เคยเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียนมาแล้ว ว่า น่าจะใช้ค่านี้ได้ ในช่วงระหว่างวันมหาสงกรานต์ ถึง วันเถลิงศกแต่เมื่อลองคำนวณดู กลับพบว่า ไม่เป็นไปตามนั้น ) ในตอนนี้ เราจะมาว่ากันต่ออีกสักสองตัวอย่าง ที่เป็นกรณีเกิดอุปราคาในช่วงเวลาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ว่า ทำอย่างไร แต่ช่วงเวลาที่พบเจอนั้น เรียกได้ว่า ไม่นานนัก คือ ไม่เกิน 100 ปี มานี่เอง ตัวอย่างที่หนึ่ง ตัวอย่างนี้ เกิด จันทรุปราคา เดือน เมษายน 2 473 ณ วันที่ 13 เมษายน 2 473 เป็นวันมหาสงกรานต์ และ วั

ปริศนา สารัมภ์ ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน(ปุณทิน) ณ ราศีเมษ[ตอนที่ 1]

ปริศนา สารัมภ์ ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน ( ปุณทิน ) ณ ราศีเมษ [ ตอนที่ 1] ใน กรณีศึกษาที่ผ่านมา เราสามารถคำนวณ อุณทิน ได้ตามสมการต่อไปนี้ อุณทิน = ผลบวกฐานวันของ ทรุพ + 157 + ค่าคตมาสเกณฑ์ ประจำราศี + ค่าองศาอาทิตย์ โคจรอยู่ ณ ราศีนั้น พบว่า เมื่อเกิดอุปราคาในราศีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ราศีเมษ การแทนค่าทั้งหลายในสมการนี้ เพื่อคำนวณ ผลลัพธ์ที่ได้มีความใกล้เคียงกับการใช้เลขหรคุณ นั่นคือ ถ้าไม่เป็นเลขเดียวกันเลย ก็ผิดกันแค่หนึ่งวัน เท่านั้น คราวนี้ ขอให้ดู สิ่งที่เป็นปัญหาคาใจกัน มาตลอด 2 ปีที่ผ่านมาดูบ้าง ซึ่งเป็นการเกิดอุปราคา ณ ราศีเมษ โดยยกเอาวิธีการที่ได้ ใช้ใ นกรณีศึกษา การหาค่าอุณทิน ที่เคยนำเสนอในตอนก่อนๆ มาแสดง ต้นเหตุ เกิดจากการ ทดลอง คำนวณ ในวันที่เกิด สุริยุปราคา วงแหวน เมื่อ 29 เมษายน 2557 ซึ่ง มี องศาอาทิตย์โคจร ณ ราศีเมษ 15 องศา 16 ลิปดา ในปีนี้ ได้ใช้ค่า จุลศักราช เป็น 1376 ทดลองคำนวณดูก่อน ผลที่ได้ เป็นดังนี้ คำนวณอุณทินตามมหาศักราช แปลงเป็นทรุพ ( ก ) จุลศักราช 1376 + 560 = 1936 เป็นมหาศักราช 1936 – 1065 = 871 เป็นทรุพ คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ ก