ปริศนา สารัมภ์ ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน(ปุณทิน) ณ ราศีเมษ[ตอนที่ 1]

ปริศนา สารัมภ์ ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน(ปุณทิน) ณ ราศีเมษ[ตอนที่ 1]

ในกรณีศึกษาที่ผ่านมา เราสามารถคำนวณอุณทินได้ตามสมการต่อไปนี้
อุณทิน = ผลบวกฐานวันของทรุพ + 157 + ค่าคตมาสเกณฑ์ประจำราศี+ค่าองศาอาทิตย์โคจรอยู่ ณ ราศีนั้น
พบว่า เมื่อเกิดอุปราคาในราศีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ราศีเมษ การแทนค่าทั้งหลายในสมการนี้ เพื่อคำนวณ
ผลลัพธ์ที่ได้มีความใกล้เคียงกับการใช้เลขหรคุณ นั่นคือ ถ้าไม่เป็นเลขเดียวกันเลย ก็ผิดกันแค่หนึ่งวัน เท่านั้น
คราวนี้ ขอให้ดู สิ่งที่เป็นปัญหาคาใจกันมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมาดูบ้าง ซึ่งเป็นการเกิดอุปราคา ณ ราศีเมษ
โดยยกเอาวิธีการที่ได้ใช้ในกรณีศึกษา การหาค่าอุณทิน ที่เคยนำเสนอในตอนก่อนๆ มาแสดง
ต้นเหตุ เกิดจากการ ทดลอง คำนวณ ในวันที่เกิด สุริยุปราคา วงแหวน เมื่อ 29 เมษายน 2557
ซึ่งมี องศาอาทิตย์โคจร ราศีเมษ 15 องศา 16 ลิปดา
ในปีนี้ ได้ใช้ค่า จุลศักราช เป็น 1376 ทดลองคำนวณดูก่อน ผลที่ได้ เป็นดังนี้
คำนวณอุณทินตามมหาศักราช
แปลงเป็นทรุพ
() จุลศักราช 1376 + 560 = 1936 เป็นมหาศักราช
1936 – 1065 = 871 เป็นทรุพ
คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ
กระจาย คูณค่า ไปตามฐาน วัน / มหานาที / มหาวินาที(เพ็ชนาที)/ พลอักษร
871 คูณ 365 = 317915เป็นวัน
871 คูณ 15 = 13065 เป็นมหานาฑี
871 คูณ 31 = 27001 เป็น มหาวินาที /เพ็ชนาฑี
871 คูณ 30 = 26130 เป็นพลอักษร

26130
หาร 60 = 435 เศษ 30 ฐานพลอักษร ปัดทบอีก 1 ก่อนนำไปบวกกับฐานมหาวินาที
27001 + 436 = 27437หาร 60 = 457 เศษ 17 ฐานมหาวินาที / เพ็ชนาที
13065 + 457 = 13522 หาร 60 = 225 เศษ 22 ฐานมหานาที
317915 + 225 = 318140 ผลบวกฐานวัน(ของทรุพ)

318140 + 157 = 318297

318297 + 365 คตมาสราศีเมษ = 318662
ตรงจุดนี้ แทนค่าเข้าไปตรงๆตามที่ตำราบอกทุกประการ เพราะตอนนั้น ยังไม่ทราบว่า
จริงๆแล้ว ณ ราศีเมษนีเป็นกรณีพิเศษ!!!
318662 + 15 องศา = 318677
เพราะฉะนั้น 318677 เป็นอุณทิน (ค่านี้ผิดครับ!!!)
-------------------------------
คำนวณด้วย หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา
(1) (หรคุณอัตตาเถลิงศก + สุทิน) ลบ 184298เป็นอุณทิน หรคุณอัตตาเถลิงศก ปี 2557 = 502597
(502597 + 13 )– 184298 = 318312 เป็นอุณทิน
พบว่า ค่าที่ได้ทั้ง ข้อ ก และ ข้อ 1 ไม่ตรงกัน โดย ค่าที่ได้จาก ข้อ 1 เป็นค่าที่ถูกต้องครับ(เป็นค่าที่คำนวณด้วยหรคุณอัตตา)
-------------------------------
คราวนี้ ้อนกลับมาที่ ขั้นตอนของวิธีคำนวณอุณทินตามมหาศักราช
ากรูปแบบสมการหาอุณทินใน ขั้นสุดท้าย
อุณทิน = ผลบวกฐานวันของทรุพ + 157 + ค่าคตมาสเกณฑ์ประจำราศี+ค่าองศาอาทิตย์โคจรอยู่ ณ ราศีนั้น
ัดมาเฉพาะ ช่วงที่คำนวณผลบวกฐานวันของทรุพเรียบร้อยแล้ว รอบวกกับค่าคงที่ 157 จะเขียนในรูปสมการได้ดังนี้
อุณทิน = 318140 + 157 + 365 + 15 ซึ่งผลลัพธ์จากการบวก จะได้ออกมาเป็น 318677 ที่ไม่ถูกต้อง
แต่เมื่อทดลองแทนค่า 365 ด้วย เลขศูนย์ (0) (เป็นการแทนค่าแบบลองผิดลองถูก ในวันที่ 21 พค. 2559 ที่ผ่านมา)
ผลที่ได้ กลับพบว่า เป็นค่าที่ถูกต้อง ดังนี้
อุณทิน = 318140 + 157 + 0 + 15 = 318312
ในจุดนี้ จากแนวทางที่แสดงไว้ 3-4 ตอนก่อนหน้านี้ สรุปได้ว่า หากจะคำนวณอุณทินจากมหาศักราช กรณีอุปราคาราศีเมษ ให้ใช้ค่า คตมาสเกณฑ์พิเศษ นั่นคือ เลขศูนย์ ค่าที่ได้จะถูกต้อง ครับ
จริงๆแล้ว มีวิธีการที่ทำให้สามารถใช้ค่า 365 นี้ ได้อย่างถูกต้อง โดยการคิดย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น 1 ปี แทน ให้ใช้ค่าจุลศักราชเป็น 1375 ค่าอุณทินที่ได้จะมีลักษณะการบวกกันเป็นแบบนี้
อุณทิน = 317775 + 157 + 365 + 15 = 318312 ซึ่งเป็นค่าที่ถูกต้อง

-------------------------------
สำหรับกรณีนี้ที่เป็นปัญหาคาใจ กว่าสองปี เป็นการเกิดอุปราคาในลักษณะเกิดหลังวันเถลิงศกไปแล้ว
ซึ่งการแก้ปัญหาที่แสดงไว้ข้างต้น ที่มาได้มาจากการลองผิดลองถูก เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแล้ว จึงค่อยหาเหตุผลมาอธิบายย้อนกลับโดยยกสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้และอยู่บนพื้นฐานของระบบการคิดคำนวณในตัวคัมภีร์ จนได้ออกมาเป็นแนวทาง ตามที่แสดงไว้แล้วใน 3-4 ตอนก่อนหน้านี้
มีอีกคำถามที่ตามมา นั่นก็คือ กรณีที่มีอุปราคา ไม่ว่าจะเป็นในวันมหาสงกรานต์ ช่วงระหว่างวันเถลิงศก หรือในวันเถลิงศกล่ะ ตรงนี้จะทำอย่างไร ซึ่งจุดนี้ เคยเป็นความเข้าใจผิด ของผมมาแล้วเช่นกันว่า ช่วงเวลาตามที่แสดงไว้ข้างบนนั่น สามารถใช้ค่า 365 ได้แน่ๆ ไม่น่าผิดอะไร แต่มีกรณีที่เป็นลักษณะนี้ในอดีต ที่ได้ทดลองคำนวณดูแล้ว ผลที่ได้ปรากฎออกมาว่า ไม่ใช่!!! ยังไงๆ คุณต้องแทนค่ามันด้วย เลขศูนย์เท่านั้น!!!
ในตอนหน้า จะเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างต่อไป ในกรณีที่เกิดอุปราคาในช่วงระหว่างวันมหาสงกรานต์ถึงวันเถลิงศกให้ดู อีกสักสองตัวอย่าง พบกันตอนหน้าครับ .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์