บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

จันทรุปราคา ปี 2561

จันทรุปราคา ปี 2561 ในปีหน้า 2561 ณ ไทยแลนด์ แดนสาระขัน มีโอกาสได้เห็นจันทรุปราคา เต็มดวง อยู่ สองครั้ง โดยครั้งแรก เกิด ณ วันสิ้นเดือนมกราคม ปีหน้า(2561) กับ อีกครั้งหนึ่งช่วงเดือน กรกฎาคม แต่กรุณาอย่าหวังน้ำบ่อหน้า ในเมื่ออีกไม่ถึงสองเดือนอันใกล้นี้จะเกิดอุปราคา ก็จงดูให้เต็มที่ ถามว่า ทำไม เพราะ ถ้าไปรอเจออุปราคาหน้าฝน คุณจะพบกับความแสบชนิดที่เรียกว่า ลืมไม่ลง กันเลยทีเดียว (ความรู้สึก รำคาญก้อนเมฆขนาด 5 กิโลเมตร ใต้ฟ้าแถวบ้าน ลอยอยู่อย่างนั้น ขณะเกิดอุปราคา ยังคงไม่จางหาย) เอาล่ะ ร่ายยาวกันมาก็เยอะ นำเสนอกันเลย     ผลการคำนวณ อุปราคา เต็มดวง มกราคม 2561 คำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์และผลลัพธ์ที่ได้จากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว - แรกจับ  เกิดเวลา 18:48:10  ( เร็วกว่าข้อมูลที่ได้จาก เวบ  nasa ไปราว 17 วินาที ) - เวลาปล่อย เกิดเวลา 22:12:21 (ช้ากว่า ข้อมูลจากเวบ nasa อยู่ราว 1 นาที 10 วินาที) - กึ่งกลางคราส เกิดเวลา 20:30:16 (ช้ากว่า ข้อมูลของเวบของ nasa แค่ 27 วินาทีกว่า แค่นั้น) เป็นเทคนิคที่มาจากการวางจุดที่คิดว่า น่าจะไม่หนีไปไหนจากนี้อีกแล้ว เพียงแต่อาจจะยังคงมึนๆอยู่ในรายละเอี

จะแน่วแน่ แก้ไขในสิ่งผิด

จะแน่วแน่ แก้ไข ในสิ่งผิด จากการคำนวณอุปราคาแรก ในรัชกาลนี้ ของครั้งก่อน ด้วยเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว และได้ผลลัพธ์มาอันหนึ่ง ซึ่งต่อมา ทำการคำนวณตรวจสอบกลับอีกครั้ง กลับพบกับความช็อค จากการกำหนดนิยามจุดคำนวณวันผิด ไหนๆก็ตรวจสอบกลับแล้ว เลยใช้เวลาในการปรับปรุงเทคนิค วิธีการกำหนดของตัวเองไปด้วยพร้อมกัน ซึ่งก็ใช้เวลาทำค่อนข้างจะนาน ฝ่าฟันอะไรหลายต่อหลายอย่าง งานทับถม แถมบางครั้งก็ป่วย ลากยาวกันมา จนมันใกล้จะถึงรอบของอุปราคาที่สองของ รัชกาลนี้ แต่เป็นอุปราคาใหม่ ในรอบปีหน้า เสียอย่างนั้น       ร่ายยาวมาก็เยอะ นำเสนออีกทีก็แล้วกัน    ผลการคำนวณ อุปราคา บางส่วน 7-8 สิงหาคม 2560 คำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์และผลลัพธ์ที่ได้จากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว Rev02 - แรกจับ  เกิดเวลา 00:23:31  ( ช้ากว่าข้อมูลที่ได้จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ไปราว 31 วินาที ) - เวลาปล่อย เกิดเวลา 02:18:15 (ช้ากว่า ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย อยู่ราว 4 วินาที) - กึ่งกลางคราส เกิดเวลา 01:20:53 (ผิดจาก ข้อมูลของสมาคมดาราศาสตร์ไทย แค่ 25 วินาทีกว่า แค่นั้น) เป็นเทคนิคที่มาจากการวางจุดที่คิดว่า น่าจะไม่หนีไปไหนจากนี้อีกแล้ว

เรื่องสุดช็อคจากการคำนวณด้วยคัมภีร์สารัมภ์

"นิยาม ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเริ่มต้นมาจากอะไรก็ตาม" หาก มี อุปราคา ซึ่งมันเกิดในเวลา ช่วงใกล้เที่ยงคืน ถึง ตีหนึ่ง ของพิกัดที่กำหนด คุณเลือกจะใช้วันไหน ในการคำนวณ การเกิดขึ้นของเหตุการณ์

อัพเดต คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม modern style

อัพเดต คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม modern style  ยังคงจำเรื่องการหาอัฑฒาธิกรรม ด้วย excel จากโพสก่อนหน้านี้ คัมภีร์สารัมภ์ อัฑฒาธิกรรม และ Excel ได้ใช่ไหม ในตอนท้ายของโพสนั่น ได้ทิ้งเอาไว้ว่า สำหรับโปรแกรมอื่นที่เหลือพวก matlab scilab อะไรพวกนั้น ยังไม่เคยลองทำ มาวันหนึ่ง มีเหตุจำเป็นให้ได้ใช้พวกโปรแกรมสกุลที่ว่านี้เข้า ก็เลยขอลองคำสั่งดูเสียหน่อย ผลจากการทดลองที่ได้ก็คือ เป็นไปตาม แบบที่สอง ที่อ้างถึงไว้ ในโพสที่แล้ว กล่าวคือ ในตอนแรก เราจะได้ค่าของตัวเลขที่มาจากการคำนวณค่าอุณทินลบหนึ่งคูณกับค่าคงที่ ที่ใช้ทำพล มาค่าหนึ่ง ให้ตั้งตัวแปร รับค่านี้ ชื่อว่า X หรืออะไรก็ได้ สุดแล้วแต่ ความสะดวกในการคำนวณ จากนั้น ให้เอา 10000000 มาหารค่า X นี้ แล้ว ค่อยใช้ คำสั่ง round(x) เพื่อเข้าสู่การปัดค่า ก็จะได้ผลลัพธ์ แบบเดียวกับ ที่ใช้ ใน excel หรือ spreadsheet อื่นๆ ซึ่ง คำสั่ง round (x) นี้ ต้องดูในคู่มือ การใช้ของแต่ละโปรแกรม ว่า มีวิธีการใส่ค่าตัวแปรในคำสั่งนี้ อย่างไร เพราะแต่ละโปรแกรม มีความแตกต่าง ในวิธีการใช้งาน ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ขอจบ การอัพเดต แต่เพียงเท่านี้ โปรดคอยติ

ตรรกะแปลกๆ ในคัมภีร์สารัมภ์ #2

ตรรกะแปลกๆ ในคัมภีร์สารัมภ์ #2 ถ้าใครยังพอจะจำกันได้ ผมเคยกล่าวไว้ ถึง ตรรกะที่ดูค่อนข้างจะแปลกๆและทำให้มึนงง ในคัมภีร์สารัมภ์มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคคำนวณสุริยุปราคา ที่มีการเล่นสองทางเลือก แต่ใช้ลักษณะการตีความค่ามากน้อย ด้วยประโยคและถ้อยคำที่แตกต่างจากภาษาในปัจจุบัน จนทำให้หลงทางมาแล้ว หลายต่อหลายครั้ง สำหรับ 18 สค. 2560 ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้ง ที่ไปขุดเจอลักษณะแปลกๆอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในวิธีการคำนวณ ขอสรุปคร่าวๆ ตามที่พอเข้าใจลางๆไปก่อน ก็คือ พบว่า ในการคำนวณสุริยุปราคา มีการตีความของสิ่งที่เรียกว่า คต กับ เอต อันเป็นลักษณะคราส ซ้อนกันอยู่ ถึงสองชั้น ทำให้เมื่ออ่านวิธีการออกมาแล้ว ก็จะเจอว่า ตัวหนึ่ง ให้เปรียบเทียบสองค่า แล้วมีผลออกมา เป็น คต หรือเอต แต่เก็บเอาไว้ก่อน ขณะที่เมื่อเลื่อนลงไปอีก สองถึงสามขั้นตอน จะพบว่า สำหรับการเลือกคต กับ เอต ออกมา มีการใช้เป็นค่าอืน ในการเปรียบเทียบ ส่งผลให้ชุดคำนวณคราสเดียวกัน เราจะพบทั้งการใช้ เอต และ คต ที่แตกต่างปริบท แต่กลับอยู่ร่วมกันในการคำนวณชุดเดียวกันได้ สุดท้าย ก็เลยเดาทางไม่ถูกว่า ตกลง มันเป็น คต หรือเป็น เอต กันแน่!!!! และจากผ

สรุปผล การทดลอง ถ่ายภาพอุปราคา 7-8 สค. 2560

รูปภาพ
สรุปผล การทดลอง ถ่ายภาพอุปราคา 7-8 สค. 2560 - อุตุนิยมวิทยา สำคัญมากกกกกกกกกกกกกกกก ต้องอยู่ในที่ที่แน่ใจว่า สภาพอากาศปลอดโปร่ง เอื้ออำนวย เพราะจากพิกัดที่ตัวเองอยู่ เจอเมฆก้อนใหญ่ ขนาดน่าจะ 2-5 กิโลเมตร ดักเต็มฟ้าไปหมด เห็นแต่สภาพแสง ที่จากจ้า แล้วจู่ๆก็กลับมัวลงไป กว่าจะเห็น ก็ล่อเอาตอนเกือบจะคลายออกแล้ว -*- ไม่รู้ว่า ศูนย์ดาราศาสตร์ที่เชียงใหม่ จะเจอลักษณะเดียวกันนี่ไหม เพราะเห็นน้องในเฟสแถวเชียงใหม่ โพสสถานะที่ บ่งบอกว่า ท้องฟ้าน่าจะมีปัญหา เพราะว่า เจอฝนกระหน่ำ ตอนช่วงเย็นๆครับ ส่วนพิกัดอื่นๆนอกนั้นไม่รู้เหมือนกัน แต่จะว่าไปแล้ว อุปราคาหน้าฝน นี่เป็นอะไรที่แสบที่สุดแล้วล่ะครับ บ้านเราพลาดโอกาสเห็นอุปราคาที่เป็นที่สุดในรอบหลายปี ก็หลายครั้งอยู่ -*- ที่ดูจะสบายใจหน่อย ก็อุปราคาหน้าร้อนกับหน้าหนาว (เฉพาะตอนกลางคืนนะครับ เพราะเมฆดูจะน้อยๆหน่อย)

บอกเล่า เรื่องราว อุปราคา ปีนี้ 2560

ช่วงนี้ ค่อนข้างจะเหนื่อย เลยขี้เกียจ ขอเอาบทความที่แปะในเฟส มาวางไว้ก่อนละกัน พวกดาราศาสตร์เนี่ย ทำความเข้าใจมันค่อนข้างจะยาก แถมยาวและเยอะอีก แต่ก็ยังคงต้องทำต่อไปอยู่ดี ไม่งั้น ไม่มีคำตอบ -*- อีก หนึ่งเดือนข้างหน้า จะเกิดอุปราคา ที่ประเทศไทยสามารถสังเกตเห็นได้ ในปีนี้ (ตอนต้นปี เป็นเงามัวนี่ไม่นับ ดูยากเกิน) พร้อมทั้งเป็นอุปราคาแรก แห่งสมัยของรัชกาลใหม่ ด้วยความที่ยังคงมึนๆกับ ตำราต้นตำรับอยู่ ตามมาด้วยการเรียนรู้ขั้นตอนของดาราศาสตร์ปัจจุบัน ซึ่งดูแล้วไม่ง่าย (แค่อาซิมุธ มุมในตำนานมุมเดียวนี่ก็มึนเกินพอแล้วล่ะ!!!!) สุดท้าย เลยต้องอาศัยของเก่ากินไปก่อน มีผลการคำนวณที่ได้มาจากตำราเก่าพร้อมเทคนิคปรับปรุงให้เรียบร้อยแล้ว ดังต่อไปนี้           อุปราคา บางส่วน 7-8 สิงหาคม 2560 คำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์และผลลัพธ์ที่ได้จากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว  - แรกจับ  เกิดเวลา 00:32:08  ( ช้ากว่าข้อมูลที่ได้จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ไปราว 10 นาที ) - เวลาปล่อย เกิดเวลา 02:10:32 (เร็วกว่า ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย อยู่ราว 8 นาที) - กึ่งกลางคราส เกิดเวลา 01:21:12 (ผิดจาก ข้อมูลของสมาคมดาราศาสตร์ไทย แค

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์[ภาคต่อ]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ภาคต่อ] เนื่องในโอกาส ครบรอบ 2 ปีของการเกิดอุปราคาตัวนี้ เลยขอนำเสนอ ผลการคำนวณที่ปรับปรุง ด้วยเทคนิคพิเศษบางประการ ซึ่งจะขอยกไว้และนำมากล่าวถึงในภายหลัง จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน 2558 ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้ เวลาแรกจับ ตามตำรา คำนวณไม่ได้ เวลาปล่อย ตามตำรา คือ 6 มหานาฑี 21 มหาวินาฑี คิดเป็นเวลานาฬิกาปัจจุบัน คือ 20 นาฬิกา 32 นาที 24 วินาที สำหรับเวลาปล่อยจริงที่คำนวณได้ในปัจจุบัน (คำนวณเฉพาะที่เวลาสิ้นสุดการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน) อยู่ที่ 20 นาฬิกา 44 นาที 48 วินาที ต่างกันอยู่ 12 นาที 4 วินาที เพราะคำนวณหา เวลา แรกจับ ไม่ได้ ทำให้คำนวณเวลากึ่งกลางคราสไม่ได้ไปด้วย จึงไม่มีข้อมูลของเวลากึ่งกลางคราสที่คำนวณไว้ ตามตำรานี้ สำหรับข้อมูลดังกล่าว ข้างต้น เป็นเวลาที่ กรุงเทพฯ โดยเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากทางดาราศาสตร์แล้ว ผลการคำนวณ จาก การคำนวณด้วย เทคนิคพิเศษเพื่อการปรับปรุงผลลัพธ์ ผลลัพธ์ ที่มาจากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว ได้ตัวเลขออกมาเป็น ดังต่อไปนี้

บทแทรกการคำนวณจันทรุปราคา ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอุปราคา

บทแทรกการคำนวณจันทรุปราคา ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอุปราคา    บทแทรกการคำนวณจันทรุปราคา ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอุปราคา ขนาดปรากฎของดวงจันทร์และขนาดเงาของโลก   ปัจจุบัน สำหรับการคำนวณอุปราคา ในแต่ละครั้ง จะมีการคำนวณหาขนาดของเงาและขนาดปรากฎของวัตถุที่ก่อให้เกิดอุปราคาเอาไว้ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบลักษณะของการบังกันในครั้งนั้น ว่าเป็นอย่างไร กินลึกเท่าใด ทิศทางอยู่ตรงไหน ฯลฯ เพื่อบันทึกเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการเกิดอุปราคา(saros)ในแต่ละชุด ในสมัยโบราณเอง ก็มีหลักการและวิธีการในทำนองเดียวกัน ที่ทำให้ทราบได้ถึง ลักษณะการเกิดอุปราคา ว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งดูคล้ายคลึงกับในสมัยปัจจุบัน ดังจะได้แสดงไว้ต่อไปนี้

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 6]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 6] จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้ เวลาแรกจับ ตามตำรา คำนวณไม่ได้ เวลาปล่อย ตามตำรา คือ 6 มหานาฑี 21 มหาวินาฑี คิดเป็นเวลานาฬิกาปัจจุบัน คือ 20 นาฬิกา 32 นาที 24 วินาที สำหรับเวลาปล่อยจริงที่คำนวณได้ในปัจจุบัน (คำนวณเฉพาะที่เวลาสิ้นสุดการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน) อยู่ที่ 20 นาฬิกา 44 นาที 48 วินาที ต่างกันอยู่ 12 นาที 4 วินาที และได้ทิ้งท้าย เอาไว้ ว่า มีการคำนวณ อีกแบบหนึ่ง ที่มาจากตำราอื่น(อ.หลวงพรหมโยธีฯ) ที่อ. ท่านได้แนะนำไว้ให้ ในตอนนี้ เราจะมาทดลองคำนวณกันดู

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 5]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ ตอนที่ 5 จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 เราได้คำนวณมาจนถึง ค่าราหูภุช ซึ่งเป็นจุดบ่งชี้สำคัญว่า มีคราสในวันนั้นจริงหรือไม่ ฉะนั้น ในตอนนี้ เราจะคำนวณในส่วนที่ต่อเนื่องจาก ค่าของราหูภุชต่อไป แต่ก่อนอื่น จะขอย้อนกลับไปยังการคำนวณราหูภุชกันก่อน ซึ่งการคำนวณหาราหูภุช จริงๆ ทั้งหมด มีการคำนวณเป็นดังนี้ ตักกลาราหู-ตักกลาจันทร์ (9890 + 21600)-10227 = 21263 21263 หาร 5400 = 3 เป็นโกลัง เศษ 5063 โกลัง 3 เศษ ยังไม่เป็นราหูภุช ต้องเอาเศษลบเชิงหารก่อน 5400-5063 = 337 เป็นราหูภุช 337 เอา 720 หารไม่ได้ มีคราส จันทร์ภุกดภุกดิเป็น 733 มากกว่าราหูภุช มีคราส โกลัง 3 จับข้างทักษิณ ตักกลาจันทร์ลบตักกลาราหูมิได้เป็นพิปริต ทิศจับจริงคือ อุดร จาก ราหูภุช 337 คูณ 9 หาร 2 = 1516 หาร 60 = 25 เศษ 16 เพราะฉะนั้น 25 มหานาฑีกับ 16 มหาวินาฑี เป็น ราหูวิกขิป

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 4] จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 เราได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา ออกมาเป็นดังนี้ มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868 มัธยมจันทร์ปฐม = 9966 มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425 มัธยมราหูปฐม = 11708 มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927 มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756 มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432 มัธยมราหูทุติยะ = 11711 และได้ตำแหน่งแท้จริงหรือสมผุส ของวัตถุ ตามตำรา ออกมาเป็นดังนี้ สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996 สมผุสจันทร์ปฐม = 9837 สมผุสราหูปฐม = 9892 สมผุสอาทิตย์ทุติยะ = 21055 สมผุสจันทร์ทุติยะ = 10570 สมผุสราหูทุติยะ = 9889 จะได้ ค่าการคำนวณเป็นผลลัพธ์ทั้งหมด จำนวน 7 ชุด แบ่งออกเป็น ค่ามัธยมปฐมและทุติยะอย่างละ 4 ชุด และ สมผุสปฐมและทุติยะ อีก อย่างละ 3 ชุด และต้องทำการหาค่าตั้งต้นอีก 5 ค่า สำหรับใช้เพื่อการคำนวณคราสทั้งอาทิตย์และจันทร์ดังนี้

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 3] จากตอนที่แล้ว ใน กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 เราได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาอุปราคา คือ อาทิตย์ จันทร์ อุจจ์ และ ราหู โดยค่าทั้งหมดที่ได้จาก การคำนวณ ในขั้นตอนที่ผ่านมา มีดังนี้ มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868 มัธยมจันทร์ปฐม = 9966 มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425 มัธยมราหูปฐม = 11708 มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927 มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756 มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432 มัธยมราหูทุติย ะ = 11711 และหลังจากได้ ตำแหน่งเฉลี่ย มาแล้ว ก็ทำการคำนวณ การหาค่า ตำแหน่งที่แท้จริงของ อาทิตย์ จันทร์ และ ราหู(จุดตัด – node) หรือ ค่าสมผุส ตามที่ปรากฎอยู่ในตำรา ซึ่งสมผุสทั้งหมด ที่คำนวณได้ เป็นดังนี้ สมผุสอาทิตย์ปฐม = 20996 สมผุสจันทร์ปฐม = 9837 สมผุสราหูปฐม = 9892 สมผุสอาทิตย์ทุติยะ = 21055 สมผุสจันทร์ทุติยะ = 10570 สมผุสราหูทุติยะ = 9889

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 2]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 2]   ในตอนที่แล้ว จากกรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน2558 โดย จันทรุปราคา นี้ มีค่าเริ่มต้น หรือ อุณทิน ที่คำนวณได้ออกมาเป็น 318652 และจากค่าเริ่มต้น ก็ทำการคำนวณเรื่อยมา จนกระทั่งได้ ตำแหน่งเฉลี่ย ของวัตถุ ทั้ง 4 ตามตำรา เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาอุปราคา คือ อาทิตย์ จันทร์ อุจจ์ และ ราหู โดยค่าทั้งหมดที่ได้จาก การคำนวณ ในขั้นตอนที่ผ่านมา มีดังนี้ มัธยมอาทิตย์ปฐม = 20868 มัธยมจันทร์ปฐม = 9966 มัธยมอุจจ์ปฐม = 8425 มัธยมราหูปฐม = 11708 มัธยมอาทิตย์ทุติยะ = 20927 มัธยมจันทร์ทุติยะ = 10756 มัธยมอุจจ์ทุติยะ = 8432 มัธยมราหูทุติยะ = 11711

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 1]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ตอนที่ 1]   ตัวอย่างการคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ จันทรุปราคา 4 เมษายน 2558   ว่ากันว่า การศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ควรที่จะลงมือทำมันเสีย ฉะนั้น เราจึงไม่รอช้า ที่จะนำเสนอออกมาเลย กับ กรณีศึกษา การทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้จากตัวคัมภีร์ (ตำรา) ว่า มีค่าเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับ ค่าที่คำนวณได้ ณ ปัจจุบัน โดยตัวอย่างที่จะใช้ ก็เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ ประมาณ 2 ปีเท่านั้นเอง คือ จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน สำหรับ จันทรุปราคา 4 เมษายน 2558 นี้ ได้เคยนำเสนอวิธีการหาค่าเริ่มต้น ที่ชื่อว่า อุณทิน ไว้ เรียบร้อยแล้ว จึงไม่ขออธิบายซ้ำอีก สำหรับผล ที่คำนวณได้ สำหรับค่าเริ่มต้นหรืออุณทิน เราจะได้ค่าเริ่มต้นออกมาเป็น 318652 ในตำรา มีจุดให้ตรวจสอบ วันที่เกิดเหตุตั้งแต่ต้น เพื่อความแน่ใจว่า เป็นวันที่เกิดอุปราคาจริงๆ โดยใช้วิธีการคือ นำอุณทินที่คำนวณได้ มาหารด้วย 7 เศษการหารที่ได้ นำไปบวกกับ 2 ค่าที่ได้คือ วันที่จะเกิด ซึ่งตัวเลขนี้ จะแทน ลำดับของวันในรอบสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ 1 วันอาทิตย์ ไปจนจบที่ 7 วันเสาร์ (หมาย

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [บทนำ]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [บทนำ] ตัวอย่างการคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์   สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นคำนวณ จันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา นั่นก็คือ การตรวจสอบ วัน และ เวลาที่คาดว่าจะเกิด ให้แม่นยำ แน่นอน เสียก่อน ต่อเมื่อ ตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่า มีอุปราคาเกิดขึ้นแน่ๆ จึงค่อยเริ่มทำตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ขั้นแรกเริ่มสุด ให้คำนวณหาค่าอุณทิน(ปุณทิน กรณีที่ใช้ตำราของ อ.หลวงพรหมโยธีฯ) ให้เรียบร้อย และถูกต้อง โดยตรวจสอบในทั้งสองวิธีการคือ คำนวณมาจากมหาศักราชด้วยคตมาสเกณฑ์ และ คำนวณจาก จุลศักราช ด้วยค่าหรคุณอัตตา ณ วันที่เกิดอุปราคา พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง จากการหารอุณทิน ซึ่งเศษที่ได้ จะเป็นตัวพิจารณาว่า ใช่วันนั้นจริงหรือไม่

บอกกล่าวกันก่อน [สารัมภ์คำนวณ]

บอกกล่าวกันก่อน[สารัมภ์คำนวณ]   หลังจากที่จบไปกับการหาอุณทิน และ เรื่องราวของ คตมาสเกณฑ์ ที่ตั้งหน้าตั้งตาหากันเป็นเรื่องเป็นราว คราวนี้ ก็มาถึง สิ่งสำคัญ ก็คือ การนำหลักวิชาทั้งหมดที่ได้ศึกษาจากในตำราหรือคัมภีร์สารัมภ์ มาทดลองใช้งานจริงกันบ้าง สำหรับผู้เขียนนั้น อย่างที่เคยบอกไป เจอปัญหาคาใจมาตั้งแต่อุณทิน จาก คตมาสเกณฑ์ แต่ก็ผ่านมันมาได้ พร้อมกันนี้ได้หาแรงบันดาลใจ จากการใช้ excel ทำคัมภีร์สุริยยาตร์ของบรรดาเหล่าผู้รู้จำนวนหนึ่ง จนกระทั่งได้ผลออกมาเป็น ไฟล์ spreadsheet อันหนึ่งที่สามารถเปิดใช้งานได้ ทั้ง excel และ spreadsheet ของฝั่ง opensource เช่น libreoffice , openoffice(ผู้เขียนใช้ ubuntu ด้วย ) ซึ่งไฟล์นี้ ได้กำหนดสูตร ที่สามารถใช้คำนวณเป็นผลลัพธ์ตรงตามตำรา แต่ เป็นแบบถึกๆ อย่าถามหาหน้าตา เพราะ แค่เอาไว้เน้นแต่ผลลัพธ์ เท่านั้น (อย่าถามเลยว่า จะทำขายไหม บอกเลยว่าไม่ ที่สำคัญ เคยเข็ดกับ พี่จิ๋วระทม(เล็กนิ่มนั่นแหละ) มาแล้ว เลยไม่อยากลงลึก เพราะหลายเจ้าก็เคยโดนกันไปแล้ว!!! เปิดไม่ออกกันก็หลายรายอยู่!!! ทำไงได้!!!) ทุกวันนี้ ก็ยังคงใช้งานมันอยู่ หนึ่งในกรณีศึกษาที่จะนำมาข

ตรรกะแปลกๆในคัมภีร์สารัมภ์

ตรรกะแปลกๆในคัมภีร์สารัมภ์ สวัสดี เช้า วันปีใหม่ 1-1-2560 วันนี้ ก็ยังคงพักผ่อน เบาๆ แต่จะขอส่งเรื่องมึนๆปานกลางมาบริหารสมองกันก่อนเล็กน้อย อันเนื่องมาจากคัมภีร์สารัมภ์ เมื่อศึกษาไปสักพัก จะเริ่มมึนงง กับ ประโยคหรือวลีหนึ่ง นั่นคือ “น้อยลบมาก” ซึ่งจะเจอบ่อยมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องการคำตอบที่มาจากการลบกันของตัวเลขสองตัว ที่แย่ไปกว่านั้น บางครั้ง คำตอบของการลบ จะเป็นตัวนำไปสู่ทางเลือกอันใด อันหนึ่ง ในขั้นตอนของการคำนวณซึ่งแยกการคำนวณออกจากกัน ผลลัพธ์ที่ได้ จะแตกต่างกัน ไปด้วย แน่นอนว่า ถ้าตีความผิด ทุกอย่างก็พัง ต้องเริ่มนับหนึ่งกันใหม่หมด เช่นเคย !!! เดิมที เคยทำพลาด ด้วยการทำตามตำราเป๊ะๆ ผลที่ได้คือ ค่าที่ติดลบ แต่ เอ๊ะ !!! ตำราไทยโบราณ ไม่รู้จักจำนวนติดลบนี่ !!!! นี่ ผิดไปแล้ว หนึ่ง แถมบางที เมื่อคำนวณแบบไม่ติดลบได้แล้ว แต่เพราะการตีความประโยคคำนวณผิด ค่าที่ได้ก็ดูแปลกๆ สุดท้าย ก็ทำมันทั้งสองทางนั่นแหละ เลยไม่รู้ว่า อันไหนถูก กันแน่ !!!! เพราะมึนงง จึงทำให้ สูงสุดคืนสู่สามัญ ต้องไปหาอ่านตำราเด็กชั้นประถมหรืออนุบาล เพื่อดูนิยามและความหมายจริงๆของ การลบ ซึ่งทำให้เข้าใจอะไรบางอ