เรื่องสุดช็อคจากการคำนวณด้วยคัมภีร์สารัมภ์

"นิยาม ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเริ่มต้นมาจากอะไรก็ตาม"

หาก มี อุปราคา ซึ่งมันเกิดในเวลา ช่วงใกล้เที่ยงคืน ถึง ตีหนึ่ง ของพิกัดที่กำหนด
คุณเลือกจะใช้วันไหน ในการคำนวณ การเกิดขึ้นของเหตุการณ์


ซึ่งคำตอบจริงๆของมัน ขึ้นอยู่กับ วิธีการและเครื่องมือที่คุณจะใช้อีกนั่นแหละ ว่า
เขากำหนด "นิยาม"ของการคำนวณเอาไว้ ว่าเป็นอย่างไร

เหตุที่เกริ่นมาก่อนหน้านี้ สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบย้อนกลับผลการคำนวณอุปราคาในคืนวันที่7-8 สค.60 ที่ผ่านมานั่นแหละ
แล้วพบว่า
เกิดความผิดพลาดในแง่ของการกำหนดนิยามของการนับวันจากคัมภีร์ ทำให้เกิดลักษณะที่
เรียกว่า "คำนวณผิดแต่คำตอบถูก" เพราะการกำหนดวันของเหตุการณ์ที่ออกมาเหลื่อมกัน
จากการนิยามคนละจุดจากคัมภีร์คนละตัว นั่นเอง

โดยคำตอบที่แท้จริง จะใช้ค่าของคืนวันที่ 7 สค. เป็นตัวคำนวณทั้งหมด ซึ่งทำให้ได้
ค่าบ่งชี้ ทุกค่า ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามตำรา ไม่มีผิดเลย
ที่สำคัญ เมื่อทำการปรับผลการคำนวณด้วยเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว ได้ผลลัพธ์ที่ชวนให้ประหลาดใจยิ่งขึ้นไปอีก
เพราะได้ตัวเลขออกมาในระดับที่ใกล้เคียงกับตัวเลขที่มาจากสมาคมดาราศาสตร์ไทยมาก
บางตัวแทบจะเหมือนกันเลยด้วยซ้ำ มีความแม่นยำในระดับนาที!!!
(อันที่จริง ก็มีส่วนของความคาบเกี่ยวกันนิดหน่อย อย่างที่บอก มันอยู่ระหว่างคืนวันที่ 7-8 สค. ครับ)

สรุป
นิยามของการคำนวณตามคัมภีร์สารัมภ์นั้น การกำหนดวัน จะเริ่มจาก หกโมงเช้าวันหนึ่ง ไปจนถึง หกโมงเช้าของวันถัดไป
ซึ่งก็แลดูเป็นไปตามปกติวิสัยของคนโดยทั่วๆไป
ขณะที่อีกคัมภีร์หนึ่งคือ สุริยยาตร์กำหนดการตัดเวลาที่ เที่ยงคืน แบบเดียวกับ สากล เพียงแต่สามารถอ้างอิงสมผุสให้นำไปใช้กับการคำนวณในคัมภีร์สารัมภ์ได้เป็นบางจุด
ฉะนั้น จะต้องระวังสำหรับการคำนวณ โดยต้องเลือกการกำหนดวันเวลาให้เป็นไปตามนิยามของคัมภีร์ที่ใช้ด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์