กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์[ภาคต่อ]

กรณีศึกษา การคำนวณจันทรุปราคาด้วยคัมภีร์สารัมภ์ [ภาคต่อ]
เนื่องในโอกาส ครบรอบ 2 ปีของการเกิดอุปราคาตัวนี้ เลยขอนำเสนอ ผลการคำนวณที่ปรับปรุง ด้วยเทคนิคพิเศษบางประการ
ซึ่งจะขอยกไว้และนำมากล่าวถึงในภายหลัง
จาก กรณีศึกษา การคำนวณหา จันทรุปราคา ปี 2558 วันที่ 4 เมษายน 2558
ผลการคำนวณ ด้วยวิธีการตามตำรา ได้ผลออกมาเป็นดังนี้
เวลาแรกจับ ตามตำรา คำนวณไม่ได้
เวลาปล่อย ตามตำรา คือ 6 มหานาฑี 21 มหาวินาฑี
คิดเป็นเวลานาฬิกาปัจจุบัน คือ 20 นาฬิกา 32 นาที 24 วินาที
สำหรับเวลาปล่อยจริงที่คำนวณได้ในปัจจุบัน (คำนวณเฉพาะที่เวลาสิ้นสุดการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน)
อยู่ที่ 20 นาฬิกา 44 นาที 48 วินาที
ต่างกันอยู่ 12 นาที 4 วินาที
เพราะคำนวณหา เวลา แรกจับ ไม่ได้ ทำให้คำนวณเวลากึ่งกลางคราสไม่ได้ไปด้วย
จึงไม่มีข้อมูลของเวลากึ่งกลางคราสที่คำนวณไว้ ตามตำรานี้
สำหรับข้อมูลดังกล่าว ข้างต้น เป็นเวลาที่ กรุงเทพฯ โดยเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากทางดาราศาสตร์แล้ว
ผลการคำนวณ จาก การคำนวณด้วย เทคนิคพิเศษเพื่อการปรับปรุงผลลัพธ์
ผลลัพธ์ ที่มาจากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว ได้ตัวเลขออกมาเป็น ดังต่อไปนี้

เวลาแรกจับ คือ 17 นาฬิกา 15 นาที 12 วินาที
เวลาคลายออก คือ 20 นาฬิกา 46 นาที
สำหรับเวลากึ่งกลางคราส คิดจาก เวลาแรกจับ บวก เวลาปล่อย หารสอง
(พูดง่ายๆคือ จับเฉลี่ยกันนั่นแหละ)
ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นไปตามนี้
เวลากึ่งกลางคราส คือ 19 นาฬิกา 0 นาที 36 วินาที
ขอยกเอาค่าที่ได้จากทางดาราศาสตร์ คำนวณเป็นเวลา ณ กรุงเทพฯ มาเสนออีกครั้ง ดังนี้
  1. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 17:15:44 (เทียบกับเท่าเวลาแรกจับ)
  2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด 19:00:15 (ตรงนี้ เป็นเวลากึ่งกลางคราส)
  3. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 20:44:48 (เทียบเท่าเวลาคลายออก)
สำหรับเวลาเข้าสู่เงามัวและพ้นจากเงามัว ไม่ได้แสดงไว้ เพราะในตำราเดิม ก็ไม่มีวิธีการคำนวณเช่นกัน
จากเวลาทั้งสามข้อ ผลต่างของเวลาทั้งสาม เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเป็นดังนี้
ข้อ 1 แรกจับ ต่างกันอยู่ 32 วินาที
ข้อ 2 กึ่งกลางคราส ต่างกันอยู่ 21 วินาที
ข้อ 3 คลายออก ต่างกันอยู่ 1 นาที 12 วินาที
ทั้งนี้ คิดผลต่าง ของเวลาในระดับนาที ตัวเศษวินาที จากทศนิยม ไม่ได้คิด
นี่คือ ผลที่ได้จาก หนึ่งในบางเทคนิค ที่พยายามคิดปรับปรุง โดยไม่เข้าไปแตะต้อง แกนหลักของคัมภีร์เลย
แต่อิงอาศัยหลักการสำคัญบางประการที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์มาปรับประยุกต์ใช้ให้ดีขึ้น ผลที่ได้ ก็เป็นอย่างที่ได้แสดงให้เห็นแล้ว
หมายเหตุ พบว่า เวลาที่ใช้สำหรับคำนวณ ล็อกเอาไว้สำหรับ กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ ยังหาวิธีโยงไปที่พิกัดอื่นๆในประเทศไทย ไม่เจอ -___-’
จบ. แค่นี้ก่อน สวัสดี.
แถมอีกนิด
จาก ชุดคำนวณด้านบน คิดเฉพาะตัวเลขในหลักนาที
ทีนี้ พอย้อนกลับมาคิดตัวเลขในหลักวินาทีเข้าไป ผลที่ได้เป็นดังนี้

เวลาแรกจับ คือ 17 นาฬิกา 15 นาที 12 วินาที
เวลากึ่งกลางคราส คือ 19 นาฬิกา 0 นาที 24 วินาที
เวลาคลายออก คือ 20 นาฬิกา 45 นาที 36 วินาที
เปรียบเทียบกับดาราศาสตร์
ข้อ 1 แรกจับ ต่างกันอยู่ 32 วินาที เท่าเดิม
ข้อ 2 กึ่งกลางคราส ต่างกันอยู่ 9 วินาที
ข้อ 3 คลายออก ต่างกันอยู่ 0 นาที 48 วินาที
พบว่า เศษระดับ วินาที มีความสำคัญมาก
ให้คิดคำนวณ ถึงในระดับ วินาที เอาไว้เลย มีประโยชน์ ด้านความใกล้เคียง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์