บอกเล่า เรื่องราว อุปราคา ปีนี้ 2560

ช่วงนี้ ค่อนข้างจะเหนื่อย เลยขี้เกียจ ขอเอาบทความที่แปะในเฟส มาวางไว้ก่อนละกัน
พวกดาราศาสตร์เนี่ย ทำความเข้าใจมันค่อนข้างจะยาก แถมยาวและเยอะอีก แต่ก็ยังคงต้องทำต่อไปอยู่ดี ไม่งั้น ไม่มีคำตอบ -*-

อีก หนึ่งเดือนข้างหน้า จะเกิดอุปราคา ที่ประเทศไทยสามารถสังเกตเห็นได้ ในปีนี้ (ตอนต้นปี เป็นเงามัวนี่ไม่นับ ดูยากเกิน) พร้อมทั้งเป็นอุปราคาแรก แห่งสมัยของรัชกาลใหม่
ด้วยความที่ยังคงมึนๆกับ ตำราต้นตำรับอยู่ ตามมาด้วยการเรียนรู้ขั้นตอนของดาราศาสตร์ปัจจุบัน ซึ่งดูแล้วไม่ง่าย (แค่อาซิมุธ มุมในตำนานมุมเดียวนี่ก็มึนเกินพอแล้วล่ะ!!!!)
สุดท้าย เลยต้องอาศัยของเก่ากินไปก่อน
มีผลการคำนวณที่ได้มาจากตำราเก่าพร้อมเทคนิคปรับปรุงให้เรียบร้อยแล้ว ดังต่อไปนี้
          อุปราคา บางส่วน 7-8 สิงหาคม 2560 คำนวณจากคัมภีร์สารัมภ์และผลลัพธ์ที่ได้จากเทคนิคที่ปรับปรุงแล้ว 
- แรกจับ  เกิดเวลา 00:32:08  ( ช้ากว่าข้อมูลที่ได้จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ไปราว 10 นาที )
- เวลาปล่อย เกิดเวลา 02:10:32 (เร็วกว่า ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย อยู่ราว 8 นาที)
- กึ่งกลางคราส เกิดเวลา 01:21:12 (ผิดจาก ข้อมูลของสมาคมดาราศาสตร์ไทย แค่ 1 นาทีกว่า ช้ากว่ากันนิดเดียว)

ส่วนนี่ เป็นข้อมูลจากทางสมาคมดาราศาสตร์ไทย
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2017eclipses.html#3



 ส่วนเรื่องเทคนิคนี่ ยังไง ขอติดไว้ก่อน เพราะตอนนี้ มีแนวทางแล้วกว่า 90 % อีก 10 % ขอดูให้แน่ใจอีกที
แต่ใบ้คร่าวๆว่า มาจากดาราศาสตร์เบื้องต้นนี่แหละ ยืมมานิดหน่อย ค่อยว่ากันใหม่ ภายหลัง

สำหรับการคำนวณอุปราคาจากตำราเก่า รอบนี้ พบว่า มีอะไรที่น่าประหลาด เพราะต้องเชื่อจริงๆว่า มันมีปรากฏการณ์ เกิดขึ้น แล้วดำน้ำทำไปเลย เพราะผลที่ได้ก็ปรากฎออกมาว่า มันมี และดาราศาสตร์พบ ว่า เป็นชนิดบางส่วนแบบ ไม่ทับศูนย์กลาง (ดูจากรูปในเวบ ลอยไปเกือบจะพ้นเงาโลกแล้วด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่พ้น!!!) เหตุเป็นเพราะค่าที่ตำราบอกให้เอาไว้เช็คน่ะ มันบอกเลยว่า ไม่ถูก!!! ขยี้ตาดูก็แล้ว กดคอมคิดก็แล้ว กระดาษ ปากกา ก็แล้ว มันไม่มีที่ผิดเลย -*-(คือ ดูตัวเลขแล้วไม่มีตรงไหนหลุดเลย แต่มันกลับไม่เท่ากัน)
ส่วนตัวขอให้ข้อสังเกตไว้อย่างนี้
 สงสัยว่า วิธีการที่ให้คำนวณไว้นี้ อุปราคาที่ได้จะต้องเป็นประเภทเข้ามาหากันและบังกันไปเลย ดูเหมือนว่า แนวทางของตำราจะไปแบบนั้น ดูจากอุปราคา 7-8 สค. 2560 นี่ก็ได้ สมัยใหม่นี่นับนะ ว่าเป็น มีด้วย แต่ ของโบราณที่อุปกรณ์การสังเกตยังไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่นัก บางที อาจไม่นับเจ้านี่ เป็นอุปราคาก็ได้ (ส่วน เงามัวนี่ สุดวิสัยจริงๆครับ ดูยาก มองด้วยตาเปล่า ยังไม่รู้เลยว่า มี) แสดงให้เห็นว่า จริงๆแล้ว ตัวของตำรานี้ มีข้อจำกัด ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วย การกลับไปขุดหารากเหง้าและต้นตอกันใหม่ ซึ่งก็ไม่ทราบว่า อยู่ ณ ที่ใด (มีเพียงข้อสันนิษฐานจากนักวิจัยที่บอกเอาไว้ว่า น่าจะมาจากอินเดีย ยุคหลายร้อยถึงหลายพันปีก่อนหน้านี้) ก็ว่ากันไป ตามหลักวิชา ตอนนี้ขอพักไว้แค่นี้ก่อน ลาแล้ว สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์