ตรรกะแปลกๆ ในคัมภีร์สารัมภ์ #2

ตรรกะแปลกๆ ในคัมภีร์สารัมภ์ #2

ถ้าใครยังพอจะจำกันได้ ผมเคยกล่าวไว้ ถึง ตรรกะที่ดูค่อนข้างจะแปลกๆและทำให้มึนงง ในคัมภีร์สารัมภ์มาแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคคำนวณสุริยุปราคา ที่มีการเล่นสองทางเลือก แต่ใช้ลักษณะการตีความค่ามากน้อย
ด้วยประโยคและถ้อยคำที่แตกต่างจากภาษาในปัจจุบัน จนทำให้หลงทางมาแล้ว หลายต่อหลายครั้ง
สำหรับ 18 สค. 2560 ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้ง ที่ไปขุดเจอลักษณะแปลกๆอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในวิธีการคำนวณ
ขอสรุปคร่าวๆ ตามที่พอเข้าใจลางๆไปก่อน ก็คือ
พบว่า ในการคำนวณสุริยุปราคา มีการตีความของสิ่งที่เรียกว่า คต กับ เอต อันเป็นลักษณะคราส ซ้อนกันอยู่ ถึงสองชั้น
ทำให้เมื่ออ่านวิธีการออกมาแล้ว ก็จะเจอว่า ตัวหนึ่ง ให้เปรียบเทียบสองค่า แล้วมีผลออกมา เป็น คต หรือเอต แต่เก็บเอาไว้ก่อน ขณะที่เมื่อเลื่อนลงไปอีก สองถึงสามขั้นตอน จะพบว่า สำหรับการเลือกคต กับ เอต ออกมา มีการใช้เป็นค่าอืน ในการเปรียบเทียบ ส่งผลให้ชุดคำนวณคราสเดียวกัน เราจะพบทั้งการใช้ เอต และ คต ที่แตกต่างปริบท แต่กลับอยู่ร่วมกันในการคำนวณชุดเดียวกันได้
สุดท้าย ก็เลยเดาทางไม่ถูกว่า ตกลง มันเป็น คต หรือเป็น เอต กันแน่!!!!
และจากผลที่ว่านี้เอง ทำให้ทราบด้วยว่า ถ้าเป็นมือใหม่ หรือ ใคร ที่ไม่มีประสบการณ์ในการคำนวณแบบนี้ มาบ่อยๆล่ะก็
โอกาสหลงทาง หรือว่า ผิด มีไม่น้อยกว่า 90% ครับ คือ ต้องมีหลักโดยพื้นฐาน แน่น จริงๆ ถึงจะพอ มอง และตีความออกครับ

ส่วน สาเหตุที่ขุดเจอ เป็นเพราะ ตัวเองเคยคำนวณทิ้งไว้ กะตามรอยพญาอินทรี สักหน่อย(ก็จาก ไฟล์ excel แนวๆนั้นนั่นแหละ)
ประกอบกับ เมื่อวาน(18 สค.60)ก็ครบรอบ สุริยุปราคาหว้ากอ พอดี เลยไปขุดค้นจากแหล่งตำราเก่าของ เวบหอสมุดในมหาวิทยาลัยที่ตัวเองเคยเรียนมา(ของดี อยู่ใต้จมูกกรูนี่เอง) เป็นรายงาน ผลการคำนวณสุริยุปราคา ณ หว้ากอ อยู่ในสมุดโบราณ เพื่อมาเปรียบเทียบ ตัวเลขกันดู นิดๆหน่อยๆ(ของเดิมที่มี ตัวเลขดูไม่ชัด แถมเป็นเลขไทยหางยาว เฟี้ยวฟ้าวด้วยสิ -*-)
พอไล่ตัวเลขแล้ว ก็เลยถึงบางอ้อ อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างบน แต่ก็ทำได้เพียงแค่เช็คจากสูตรในตำราที่มันล็อคพิกัดไว้แค่ กรุงเทพฯ เท่านั้น
ซึ่ง ตัวเลขที่ใช้ มันมาจากตำราที่เก่ากว่านั้นอีก(บางตัวเลข มีบอกไว้ในตำราชั้นหลัง ของ อ.หลวงวิศาลฯ)
แถมตัวเลขกลุ่มสุดท้าย ที่มีแบ่งเป็นสองฟากซ้ายขวาด้วย ด้านซ้ายน่าจะเป็นของ กรุงเทพฯ เพราะเช็คแล้วตรงหมด(โดยใช้เกณฑ์เก่า)
ส่วนฝั่งขวาของสมุดโบราณนั่น ดูแล้ว เข้าใจว่า น่าจะเป็นตัวเลขของหว้ากอ ซึ่งก็น่าสงสัยว่า
มันมาได้ยังไงหว่า เห็นแล้วก็มึน แต่ อันที่จริง มันก็มึนกันมา ร้อยกว่าปีแล้วล่ะครับ และน่าจะยังคงมึนๆกันต่อไป -*-

ทีนี้ ทางแก้ ทำไงกันดี ก็ทำซื่อๆไปเลยสิ ตำราบอกขั้นตอนไหน เอาอันไหน เทียบอันไหน มาก น้อย
เป็น คต เอต ดูไปตามนั้นได้เลย
เพียงแต่ต้องระวังตอนเอา คต เอต ไปใช้น้บนาที เจ้านี่ล่ะครับ ปัญหาใหญ่ ต้องคอยระวัง ในเรื่องตรรกะ
เพราะอย่างที่บอกไป มันสามารถ มีทั้งคตและเอตได้ในชุดคำนวณสุริยุปราคาชุดเดียวกัน อยู่ที่ว่า จะใช้ตรงจุดไหน
(แต่ก็ยัง งง อยู่ดี แล้ว จะวางเกณฑ์ให้มันตีกันเล่นทำไม !!!????) เพราะมันจะเป็นผลที่ต่อเนื่อง ยาวดุจหางว่าว
ยกตัวอย่างเช่น ในเคส คราสของหว้ากอ แต่คำนวณที่กรุงเทพฯ ขั้นตอนหนึ่ง เช็คแล้ว ระบุมาเป็น เอต แต่พอตอนนับนาที
เท่านั้นแหละ ไปเทียบจากอีกค่าหนึ่ง กลายเป็นคต เสียอย่างนั้น แถมพอไล่ๆไป ตัวเลขมันใช่ตามที่เขาเคยคำนวณไว้ก่อนหน้านี้ อีกด้วย
-*- ถึงกับ งง ไปเลย ทีเดียว
(สำหรับ เคสของ พญาอินทรี ตอนนี้ เหลือแค่ว่า เลขปริศนา ณ หว้ากอนั่น มาได้ยังไง ใช้วิธีไหน
คำนวณมันออกมา ในเมื่อตำรา รุ่นถัดมา พี่ท่าน ล็อคไว้แค่ กรุงเทพฯ !!!!)
อีกทางที่ช่วยได้คือ ทวนซ้ำ ทั้งเชิงตัวเลขและตรรกะ ให้แน่ใจว่า มันเป็นไปตามนี้ แน่นอน
ส่วนจะหาอะไรมาคานสอบ
ก็แล้วแต่วิธีการเลยล่ะครับ (ตำราน่ะ แน่ แต่คนน่ะ ไม่แน่!!!!)

ยังไงๆ เมื่อเทียบกับ จันทรุปราคาแล้ว สุริยุปราคายังถือเป็นสุดยอดของสิ่งที่โคตรสุดแสนยากอยู่ดีนั่นแหละครับ
ทั้งในแง่การคำนวณตามตำราต่างๆ เรื่องการทำนายการเกิด และการถ่ายภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปอุปราคานั่น
(ซึ่งเมื่ออ่านกระทู้เรื่องนั้นไม่ว่ากี่ครั้ง ก็ยังเสียวลูกตาอยู่ไม่หาย น่ากลัวชะมัด ร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ทีเดียว)

ฝากไว้เพียงเท่านี้ สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์