ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน(ปุณทิน) ณ ราศีเมษ[ตอนที่ 2]

ปริศนา “สารัมภ์” ตอน กรณีศึกษาการหาอุณทิน(ปุณทิน) ณ ราศีเมษ[ตอนที่ 2]

จากตอนที่แล้ว ได้อธิบาย ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การหาค่าอุณทิน ณ ราศีเมษ ที่เป็นปัญหาคาใจมานาน แต่ช่วงที่เกิดนั้น เป็นกรณีเกิดอุปราคา หลังวันเถลิงศกไปแล้ว และการแก้ปัญหาด้วยกรณีพิเศษ ก็สามารถจัดการได้และให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
ในการทดลองเก็บสถิติย้อนหลังกลับไปถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ น่าแปลกใจ ที่พบว่า แม้แต่การเกิดอุปราคาในช่วงระหว่างวันเถลิงศกหรือวันมหาสงกรานต์ ค่าคตมาสเกณฑ์ที่ใช้ในราศีเมษ ก็ไม่ใช่ 365 เช่นกัน แต่ใช้เป็นเลขศูนย์ไปเลย(ตรงนี้ เคยเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียนมาแล้ว ว่า น่าจะใช้ค่านี้ได้ ในช่วงระหว่างวันมหาสงกรานต์ ถึง วันเถลิงศกแต่เมื่อลองคำนวณดู กลับพบว่า ไม่เป็นไปตามนั้น)
ในตอนนี้ เราจะมาว่ากันต่ออีกสักสองตัวอย่าง ที่เป็นกรณีเกิดอุปราคาในช่วงเวลาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ว่า ทำอย่างไร แต่ช่วงเวลาที่พบเจอนั้น เรียกได้ว่า ไม่นานนัก คือ ไม่เกิน 100 ปี มานี่เอง
ตัวอย่างที่หนึ่ง
ตัวอย่างนี้ เกิดจันทรุปราคา เดือน เมษายน 2473 ณ วันที่ 13 เมษายน 2473 เป็นวันมหาสงกรานต์ และ
วันเถลิงศกคือ วันที่ 15 เมษายน 2473
พบว่า อุปราคานี้ เกิดขึ้น ก่อนวันเถลิงศก และเป็นวันมหาสงกรานต์ด้วย ถ้าคำนวณโดยใช้หรคุณอัตตา ก็แค่ย้อนกลับไปใช้ค่าหรคุณอัตตาเถลิงศกในปีก่อนหน้า แต่ถ้าเป็นกรณีหา   อุณทินด้วยมหาศักราชนี่ล่ะ จะทำอย่างไร
สำหรับ องศา อาทิตย์โคจรนี้ จะอยู่ที่ ราศีเมษ (ราศี 0) 0 องศา 24 ลิปดา
คำนวณอุณทินตามมหาศักราช
แปลงเป็นทรุพ
() จุลศักราช 1292+ 560 = 1852 เป็นมหาศักราช
1852 – 1065 = 787 เป็นทรุพ
คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ
กระจาย คูณค่า ไปตามฐาน วัน / มหานาที / มหาวินาที(เพ็ชนาที)/ พลอักษร
787 คูณ 365 = 287255 เป็นวัน
787 คูณ 15 = 11805 เป็นมหานาฑี
787 คูณ 31 = 24397 เป็น มหาวินาที /เพ็ชนาฑี
787 คูณ 30 = 23610 เป็นพลอักษร
23610
หาร 60 = 393 เศษ 30 ฐานพลอักษร ปัดทบ ป็น 394
24397 + 394= 24791 หาร 60 = 413 เศษ 11 ฐานมหาวินาที / เพ็ชนาที ค่าไม่ปัดทบ
11805 + 413 = 12218 หาร 60 = 203 เศษ 38 ฐานมหานาที ไม่ปัดทบ
287255 + 203 = 287458 ผลบวกฐานวัน(ของทรุพ)
287458 + 157 = 287615
พักเอาไว้ รอบวกเข้ากับ คตมาสเกณฑ์ประจำราศี
ณ จุดนี้ น่าสงสัยว่า ควรแทนค่าคตมาสเกณฑ์ เท่าใดแน่ เมื่อเกิดอุปราคา ณ ราศีเมษ ระหว่าง ศูนย์หรือ 365!!!
เพราะเคยเข้าใจผิดมาแล้ว ว่า ช่วงเวลาตรงนี้ น่าจะแทนด้วย 365 ได้
ขอคิดให้ดูไปเลย ทั้งสองแบบ เพื่อให้เห็นว่า เป็นอย่างไร
แบบที่ใช้ คตมาสเกณฑ์ตามตำรา
287615 + 365 คตมาสราศีเมษ ตามตำรา= 287980
287980 + 0 องศา = 287980
จะได้ 287980เป็นอุณทิน (ซึ่งไม่ตรง)
แบบที่ใช้ คตมาสเกณฑ์พิเศษ
287615 + 0 คตมาสราศีเมษ เกณฑ์พิเศษ= 287615
287615 + 0 องศา = 287615
จะได้ 287615เป็นอุณทิน
-------------------------------
คำนวณด้วย หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา
(1) (หรคุณอัตตาเถลิงศก + สุทิน) ลบ 184298เป็นอุณทิน หรคุณอัตตาเถลิงศก ปี 2472 = 471550
แม้จะเกิดในวันมหาสงกรานต์ แต่ก็ยังไม่ถึงวันเถลิงศก ดังนั้นต้องคิดย้อนกลับไปใช้หรคุณอัตตาเถลิงศกของปีก่อนหน้า
(471550 + 363 )– 184298 = 287615 เป็นอุณทิน
พบว่า ค่าที่ได้จาก ข้อ ก ในแบบแรกคือ แทนคตมาสเกณฑ์เมษจากตำราเป็น 365 ไม่ตรงกันกับ ข้อ 1 ขณะที่ ค่าจากข้อ ก ในแบบที่สอง กลับตรงกันกับข้อ 1 อย่างไม่ผิดเพี้ยน!!!
หมายเหตุ มีข้อให้สังเกตนิดหน่อย ตรงค่าสุทิน ที่นับมาจากหรคุณอัตตาเถลิงศกปีก่อนจนกระทั่งถึงวันมหาสงกรานต์ จะมีค่าอยู่ที่ 363 แปลว่า ขาดอีก 2 วันจะครบรอบปี ถ้านับมาจากจุดเถลิงศกของปีที่แล้ว แต่ในมุมของคาบการโคจร ถือว่า ตัดครบรอบไปเรียบร้อย ณ จุดศูนย์องศา ราศีเมษครับ
------------------------------
ตัวอย่างที่สอง
ตัวอย่างนี้ เกิดจันทรุปราคา ในวันที่ 15 เมษายน 2538 อาทิตย์สถิตย์ ณ ราศีเมษ 1 องศา 33 ลิปดา
วันเถลิงศก คือ วันที่ 16 เมษายน 2538
พบว่าเกิดช่วงระหว่างวันมหาสงกรานต์กับวันเถลิงศก กรณีนี้ ไม่ต่างจาก ตัวอย่างแรก นั่นคือ ใช้ค่าคตมาสเกณฑ์พิเศษประจำราศีเมษ คือ ศูนย์ ในการคำนวณ
คำนวณอุณทินตามมหาศักราช
แปลงเป็นทรุพ
() จุลศักราช 1357 + 560 = 1917 เป็นมหาศักราช
1917 – 1065 = 852 เป็นทรุพ
คำนวณหาผลบวกฐานวันของทรุพ
กระจาย คูณค่า ไปตามฐาน วัน / มหานาที / มหาวินาที(เพ็ชนาที)/ พลอักษร
852 คูณ 365 = 310980 เป็นวัน
852 คูณ 15 = 12780 เป็นมหานาฑี
852 คูณ 31 = 26412 เป็น มหาวินาที /เพ็ชนาฑี
852 คูณ 30 = 25560 เป็นพลอักษร



25560 หาร 60 = 426 เศษ 0 ฐานพลอักษร
26412 + 426 = 26838 หาร 60 = 448 เศษ 18 ฐานมหาวินาที / เพ็ชนาที
12780 + 448 = 13227 หาร 60 = 220 เศษ 27 ฐานมหานาที
310980 + 220 = 311200 ผลบวกฐานวัน(ของทรุพ)

31
1200 + 157 = 311357

311357 + 0 คตมาสราศีเมษ เกณฑ์พิเศษ = 311357
311357 + 1 องศา = 311358
เพราะฉะนั้น 311358 เป็นอุณทิน
-------------------------------
คำนวณด้วย หรคุณอัตตา ณ วันเกิดอุปราคา
(1) (หรคุณอัตตาเถลิงศก + สุทิน) ลบ 184298เป็นอุณทิน หรคุณอัตตาเถลิงศก ปี 2537 = 495292
ย้อนกลับไปใช้หรคุณอัตตาเถลิงศกของปีก่อนหน้า นำมาคำนวณ
(495292 + 364 )– 184298 = 311358 เป็นอุณทิน
พบว่า ค่าที่ได้ทั้ง ข้อ ก และ ข้อ 1 มีค่าเดียวกัน ถูกต้อง ตรงกัน
-------------------------------
ในที่นี้ จะสังเกตเห็นว่า ค่าสุทินจากวิธีในข้อ 1 เป็น 364 แปลว่า ขาดอีกแค่วันเดียวคือ วันเถลิงศกก็จะครบรอบปี แล้ว
สำหรับช่วงเวลาระหว่าง วันสงกรานต์กับ วันเถลิงศกนี้ เคยสร้างความสับสนให้ผมมาแล้ว เพราะไปเข้าใจว่า เลขเกณฑ์คตมาสราศีเมษ 365อาจจะมีโอกาสได้ใช้ ในช่วงนี้ แต่พอเจอสองตัวอย่างนี้ จบทันที ไม่ต้องคิดมาก สำหรับความสัมพันธ์ของเลข 0 กับ 365 ก็คือสิ่งที่เคยอธิบายเอาไว้ในตอนก่อนๆนั่นแหละ ไม่ขออธิบาย
แต่ขอสรุปซ้ำอีกที ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เกิดอุปราคา ณ ราศีเมษ ไม่ว่าจะเป็นช่วงวันมหาสงกรานต์ วันเถลิงศกหรือหลังวันเถลิงศก ไม่มีการใช้ค่าคตมาสเกณฑ์ 365 ทั้งหมด ในการคำนวณ ให้เปลี่ยนเลขเกณฑ์ 365 ที่จะใส่ในสมการไปเป็นเลขเกณฑ์พิเศษ คือเลขศูนย์แทน คำตอบที่ได้ จะถูกต้อง ตรงกันกับ วิธีการใช้ เลขหรคุณอัตตามาคำนวณ
ขอจบเลย ก็แล้วกัน สำหรับ กรณีศึกษา ตัวอย่าง เรื่องของคตมาสเกณฑ์ ทั้ง ในแบบแทนค่าคตมาสเกณฑ์ไปตามปกติ 11 ราศี และแบบที่ต้องใช้คตมาสเกณฑ์ค่าพิเศษ จากกรณีของราศีเมษ ซึ่งสร้างความปวดหัวให้กับผมมานานถึงสองปี ก่อนจะพบว่า มันเป็นเส้นผมบังภูเขา ต้องอาศัยความเฉลียวใจ ถึงจะพบกับคำตอบ (แต่ช่องทางที่ค้นพบ ก็มาจากการลองผิดลองถูกด้วย!!! โชคดีที่ว่า บังเอิญ มันถูก!!!)
พบกันใหม่ ในตอนต่อไปครับ ซึ่งคราวนี้ คงจะก้าวข้ามเรื่องของอุณทิน(ปุณทิน) ไป เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่างๆ ของการคำนวณอุปราคาตามกระบวนวิธีการ ของคัมภีร์สารัมภ์ กันเสียที แต่จะเป็นอะไร น่าสนใจหรือไม่ ต้องคอยติดตามกันดู สวัสดี .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์