รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 4 ภาคสูตรมัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 4 ภาคสูตรมัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

ในตอนที่แล้ว ได้มีบทส่งท้ายของสมการสุริยยาตร์ อันเนื่องมาจากเหตุของราหู เพราะท่านผู้รู้ได้พบว่า
ค่าตำแหน่งของราหูในคัมภีร์สุริยยาตร์กับสารัมภ์ มีความแตกต่างอันหนึ่งอยู่ จึงได้ทำการค้นคว้าเพิ่มเติม
จนได้มาซึ่งสูตรพิเศษเกี่ยวกับตำแหน่งของราหูที่ปรับปรุงใหม่ สำหรับรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ขอเชิญพิจารณาได้เลย

มัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

มัธยมราหู (ที่ถูกต้อง)

มัธยมราหู = กำลังพระเคราะห์ *(1/20+1/265) / 60 + 107.5 {หน่วยเป็นองศา}

( หากเขียนแบบตำราเก่าซึ่งเป็นแบบตัดประมาณ

ก็จะสามารถเขียนได้ สมการ ดังนี้

มัธยมราหู = INT[กำลังพระเคราะห์ / 20] + INT[กำลังพระเคราะห์/265] + 6450 {หน่วยเป็นลิปดา} 

--------------------------------------------------------------------------

สมผุสราหู (ที่ถูกต้อง)

สมผุสราหู = 360 - มัธยมราหู {หน่วยเป็นองศา}

(ซึ่งจะมีลักษณะทำนองเดียวกับ สูตร สมผุสเกตุไทย )

--------------------------------------------------------------------------

สรุปส่งท้ายว่า

มัธยมราหูแบบที่ถูกต้อง ของตำราสุริยยาตร์

โดยเมื่อเทียบทั้ง ตำราสารัมภ์ และ ดาราศาสตร์สากล แล้ว

เราจะต้องทำการยัก 107.5 องศา หรือ 6450 ลิปดา ไปรวมด้วย

และจะได้ สูตรสมผุสราหู แบบที่ถูกต้องของสุริยยาตร์

จะมีสูตรเป็น สมผุสราหู = 360 - มัธยมราหู

โดยสุดท้าย ค่าจาก สมผุสราหูแบบสมการที่ถูกต้อง

และ ค่าจากสมผุสราหูแบบเดิม ก็จะยังได้ค่าที่เท่ากัน

=====================================================

เนื้อหาใจความย่อๆ สั้นๆ สรุปมาได้เพียงเท่านี้ ที่เหลือก่อนหน้านั้น เคยมีอารัมภบทของท่าน แต่ถูกตัดหายไปหมดแล้ว
เนื่องจากเป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตถึง รูปแบบสมการสมผุสของพระเกตุ เทียบเคียงกับสมการสมผุสของราหู
ในข้อแตกต่าง บางประการ จนนำมาซึ่งการค้นคว้า และพิสูจน์ทดลอง จนได้ออกมาเป็นสูตรสำเร็จปรับปรุงใหม่ ดังกล่าว

สำหรับ วิธีการใช้งาน รวมถึงการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของสูตรนี้ จะได้ทำการทดลองและนำเสนอ ในโอกาสต่อไป

ถึงตอนนี้ ถือว่า เป็นอันจบสิ้น การนำข้อมูลสำคัญและทรงคุณค่า มาเก็บเอาไว้ที่นี่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ เรื่องราวใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับสมการเหล่านี้ ก็ยังจะไม่จบสิ้นไปง่ายๆนัก

ในโอกาสต่อไป จะนำเสนอ ในแง่มุมของการสร้างสูตร สมการมัธยม ทั้ง มัธยมอาทิตย์ และมัธยมจันทร์ ว่า
ท่านผู้รู้นั้น สร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งแน่ล่ะ ท่านไม่เคยบอก ไม่เคยเฉลย ว่า มันมาเป็นแบบนั้นได้อย่างไร

เรื่องนี้ เกิดจากวิธีการ ที่เรียกว่า Reverse Engineering กัน ทั้งในแง่ของตัวเกณฑ์เก่าและตัวของสมการ

และการทดลองในแบบ ลองผิดลองถูก จนได้มาซึ่ง เอกสารการพิสูจน์ สำหรับ ทั้งสองสมการนั้น ร่วมๆ 20 หน้า
ของกระดาษ
A4 กันเลยทีเดียว
(แยกกันแต่ละสมการด้วยนะ แปลว่า รวมๆกัน จริงๆแล้วก็คือ 40 กว่าหน้ากระดาษ A4!!!)

ถึงตรงนี้ ต้องขอยอมรับนับถือในความรู้ความสามารถของท่านจริงๆ ครับ

เข้าใจว่า ท่านเอง คงมีหลักวิชา แหล่งข้อมูล ค้นคว้า และแนวทางวิชาการพิสูจน์ อย่างเป็นระบบ

ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือ สมการมัธยมและสมผุส เหล่านั้น ดังที่ผ่านมาแล้ว นั่นเอง

สำหรับผู้เขียนแล้ว แค่เล่นพิสูจน์ สองสมการมัธยม(อาทิตย์กับจันทร์) มาได้แบบมวยวัด นี่ก็รากเลือดกันแล้วล่ะครับ นับถือ นับถือ

แล้วพบกันใหม่ ตอนหน้า สวัสดี.

*************************************************************

หมายเหตุผู้เขียน

บันทึกเพิ่มเติม 21/11/2020

 เรื่องราวตอนท้าย เขียนไว้ เมื่อราว 1 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันนี้ เฉพาะมัธยมอาทิตย์ กับ มัธยมจันทร์เท่านั้น ที่พอเข้าใจ
โดยเฉพาะมัธยมอาทิตย์ ที่พบทางพิสูจน์อีกทางหนึ่งจากเกณฑ์เก่าและพบข้อบกพร่องต่างๆมากมาย
ของสมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์แบบตัดพจน์ 373/800 จนนำมาซึ่งการพิสูจน์หาบทสรุปและบทอวสานของสมการว่า
มันไม่มีอยู่จริง แท้จริงแล้ว มันก็คือ สมการที่มีพจน์
373/800 อยู่นั่นแหละ

แต่คงมีการทำพจน์หล่นหายระหว่างทางจากการบันทึกข้อมูลหรือเหตุขัดข้องอื่นๆ

แต่จุดที่ภูมิใจจริงๆ คือ การพิสูจน์แบบมวยวัด สำหรับมัธยมจันทร์ เพราะใช้แค่เกณฑ์ในตำราเดิม คลำทางไปเพียงอย่างเดียว
ทั้งที่ความจริง เปิดเวบไซต์ดูก็พอจะทราบเกณฑ์บางประการอยู่
แต่ที่หาไม่ได้เลยก็คือ วงรอบโคจรของจันทร์ตามคัมภีร์สุริยยาตร์
ซึ่งพบว่า หลบซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ ไม่พบจะแจ้งเหมือนของมัธยมอาทิตย์

เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดคอยติดตามกันต่อไป.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์