คัมภีร์สารัมภ์กับอุปราคาเงามัว


คัมภีร์สารัมภ์กับอุปราคาเงามัว
          ในปี พ.ศ. 2563 มีสิ่งที่เรียกว่า อุปราคาเงามัว เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ถึง 3 ครั้ง (สำหรับประเทศไทย) ในปีนี้ สำหรับชาวดาราศาสตร์ปัจจุบัน ดูจะไม่แปลกใจ เพราะมีบอกไว้หมดแล้ว ตามการคำนวณโดยหลักวิชา แต่ถ้าเป็นแนวดาราศาสตร์โบราณนี่ล่ะ จะมีกล่าวเอาไว้บ้างไหม หรือ มีวิธีคำนวณบอกไว้อยู่หรือเปล่า ???
          ในที่นี้ ขอยกเอาคัมภีร์ที่ใกล้ตัวที่สุด นั่นคือ คัมภีร์สารัมภ์ 
และขอยกตัวอย่าง ใกล้ที่สุดคือ วันพรุ่งนี้ (05/06/2563) มาอธิบาย

เนื่องจากในทางดาราศาสตร์ปัจจุบัน พบว่า จะเกิดจันทรุปราคาแบบเงามัว
โดยมีรายละเอียดดังนี้
เวลาแรกจับ อยู่ที่ 00:45:50
เวลาเข้าไปในเงามัวลึกสุด 02:25:04
เวลาพ้นเงามัว 04:04:08
จากการตรวจสอบและวิเคราะห์ค่าที่ได้ในการคำนวณตามคัมภีร์ เป็นดังนี้
ค่ากึ่งกลางคราส 02:09:12 (คำนวณกันเดี๋ยวนั้น ไม่มีอะไรปรับแก้ชดเชย)
ผลปรากฏว่า ทำได้แค่นั้น ที่เหลืออย่างอื่น คำนวณหาต่อไม่ได้เลย
เพราะค่าราหูภุชที่ได้นั้น คือ 798
ตามตำรานั้นกล่าวไว้ว่า จะดูว่า หาคราสได้ หรือไม่ ให้ดูจากราหูภุช
หาก ราหูภุช หาร 720 ไม่ได้ แปลว่า มีคราส แน่ๆ
แต่ถ้าราหูภุช หาร 720 ได้ นั่นหมายความว่า ยังไงๆก็ไม่มีคราส (เหมือนกับว่าวัตถุไม่เข้าสู่เงามืด)
แสดงให้เห็นว่า นิยามของการเกิดคราสหรืออุปราคาของดาราศาสตร์โบราณนั้น แตกต่างจากปัจจุบัน
เข้าใจว่า น่าจะเน้นเอาเกณฑ์การเคลื่อนเข้าสู่เงามืดเป็นหลัก
เพราะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างจะชัดเจนกว่า 

สรุปเลยแล้วกันว่า ไม่มีการคำนวณหาอุปราคาเงามัว ในคัมภีร์สารัมภ์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์