ข้อเปรียบเทียบ ทินประมาณกับ daylight duration


ข้อเปรียบเทียบ ทินประมาณกับ daylight duration

มีข้อมูลน่าสนใจ อีกเล็กน้อย เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุริยุปราคา 21 มิ.ย. 2563 ที่จะถึงนี้
นั่นคือ เรื่องของทินประมาณกับ daylight duration
คำว่า ทินประมาณ เป็นค่าที่ต้องคำนวณในคัมภีร์สารัมภ์ เป็นตัวบ่งชี้ว่า ช่วงเวลากลางวันนั้น แบ่งเป็นกี่ชั่วโมง นาที โดยจะมีค่าคู่กันอีกค่าหนึ่งคือ รัตติประมาณ ที่บ่งชี้ถึงระยะเวลาช่วงกลางคืน ซึ่งจะใช้กับการคำนวณจันทรุปราคา
ตามหลักการของคัมภีร์นั้นจะแบ่ง 1 วัน เท่ากับ 30 มหานาที และกลางคืนอีก 30 มหานาที
รวม 1 วันก็คือ 60 มหานาที และ แบ่งย่อยทั้งสองช่วงเวลานั้น ออกมาเป็นหลักมหานาทีและมหาวินาทีตามลำดับในการคำนวณ

สำหรับค่าทินประมาณที่คำนวณได้ ตามหลักของคัมภีร์สารัมภ์ ในวันที่ 21 มิ.ย. 2563 ที่จะถึงนี้คือ
32 มหานาที 6 มหาวินาที
เอ แล้วมันกี่ชั่วโมง นาทีกันเล่า
โชคดีที่มีวิธีการแปลงไว้ให้เรียบร้อยในตำรา โดยเมื่อแปลงค่าแล้ว จะได้ออกมาอยู่ที่
12:50:24  ชั่วโมง หรือ 12 h 50 m 24 s ตามลำดับ
สำหรับการบ่งชี้ว่า ช่วงระยะเวลากลางวัน/กลางคืน เป็นกี่ชั่วโมงนั้น
ทางดาราศาสตร์สากล ก็มีบอกไว้เช่นกันครับ ดังที่เรามักจะได้ยินเขาประกาศกันว่า วันครีษมายัน วันวิษุวัติ วัน เหมายัน กลางวัน กลางคืน ยาว สั้น เท่านี้ กี่ชั่วโมง นาที ก็ว่าไป
ซึ่งส่วนใหญ่ ตำราท่านก็มักจะว่ากันเฉพาะช่วงเวลากลางวันก็พอ
ในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า
daylight duration ครับ
สำหรับวันที่ 21 มิ.ย. 2563 นี้ ซึ่งทางดาราศาสตร์ จัดว่าเป็นวันครีษมายันด้วย
ดังนั้น ช่วงกลางวันยาวสุด กลางคืนสั้นสุดครับ สำหรับค่า
daylight duration นี้
ขอยกค่ามาจากเวบ
suncalc.org เลยก็แล้วกันครับ ซึ่ง ค่าที่ได้จากเวบนั้น จะอยู่ที่ 12h 56m 52 s
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าทั้งสอง คือ ทินประมาณกับ daylight duration
พบว่า แตกต่างกันอยู่ที่ 00:06:28 ชั่วโมง หรือ 6 นาที 28 วินาที แค่นั้นเอง
ถือได้ว่า เข้าใกล้ค่าทางดาราศาสตร์อยู่ไม่น้อย
แลดูไม่เลวทีเดียวนะครับ สำหรับค่าที่หาได้จากคัมภีร์โบราณ .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Julian Date หรรษา

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์