สุริยสิทธานตะ-เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ReBoot

 สุริยสิทธานตะ-เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ReBoot

          ขอต้อนรับอีกครั้งอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ห่างหายไปนานและคงค้างอยู่ที่สูตรการหาอหรคุณแล้วก็ไม่ได้ทำอะไรต่อสำหรับการคำนวณสำหรับคัมภีร์สุริยสิทธานตะ

          จากการทดสอบ ทดลองการใช้งานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้ข้อสรุปเริ่มต้นอันเป็นข้อควรกระทำ(หรือประมาณ Rule Of Thumb) ว่า ให้สอบทานเช็คเวลากับค่าตัวเลขของ JulianDate ให้ดีก่อน เพราะเป็นค่าหลักที่ใช้ในดาราศาสตร์สากลที่ถือกันว่ามีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วในระดับหนึ่ง

          นอกจากนี้ เพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้น จะขอใช้อหรคุณกลียุคศักราชที่มีจำนวนเพียง 6 หลัก

และใช้วิธีการคำนวณอหรคุณผ่านความสัมพันธ์ของ อหรคุณกลียุคศักราชKali Ahargana กับ JulianDate โดยใช้ JulianDate เป็นตัวตั้งแทน

 เริ่มใหม่กับการหาอหรคุณ

          ในที่นี้ เราจะใช้งานอหรคุณกลียุคศักราช(Kali Ahargana) เป็นหลัก เนื่องจากสามารถสอบกลับไปยังค่าของ JulianDate ได้ เพื่อหาความสอดคล้องกับการสังเกตเหตุการณ์เดียวกันผ่านระบบดาราศาสตร์สากล

สรุป สูตรคำนวณ Kali Ahargana

Kali Ahargana = JulianDate – 588465.5 (สำหรับการใช้ Astronomical JulianDate ตัดเวลาตอนเที่ยงคืน เลข JulianDate นั้นมีทศนิยม 0.5)

หรือ

Kali Ahargana = JulianDate – 588466 (กรณีที่ใช้ JulianDate ตามแบบนิยามดั้งเดิมที่ตัดเวลา ณ เที่ยงวันของวัน เลข JulianDate นั้นเป็นจำนวนเต็ม)

จากสูตรนี้ เราจะได้อหรคุณกลียุคศักราช ตามต้องการ ซึ่งจะเป็นตัวตั้งต้นใช้งานสำหรับการคำนวณในลำดับถัดไป

ข้อควรจำอีกอย่าง นั่นก็คือ ตัวเลขการแปลงค่า เพื่อใช้ประกอบการคำนวณ หรือเลขตั้งต้น อหรคุณกลียุค   ในที่นี้ จะใช้ค่าเป็น 588465.5  และหากใช้งานกับ JulianDate ตามนิยามดั้งเดิม(คือคิดตัดเวลาที่เที่ยงวัน) ก็จะเป็น 588466

หมายเหตุ จากแหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนใช้งานอยู่ ก็มีผู้วิจัยผู้รู้ระดับโปรเฟสเซอร์ท่านหนึ่งได้แนะนำให้ใช้ค่าแก้ชุดนี้ในการคำนวณผ่านเอกสารผลงานตำราของท่านเองด้วยเช่นกัน จึงตัดสินใจขอลองใช้งานกันดูสักหน่อย เพราะต่อจากนี้ ทางผู้เขียนก็จะใช้แนวทางตามที่ท่านผู้รู้นี้ แนะนำกันอยู่แล้ว

แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดี.    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์