สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 7

 สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 7

          การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860

การหา ตำแหน่งจริงและTrue Daily Motion ของราหู (Node or Moon’s Node)
         
จากข้อมูลเดิม เราทราบแล้วว่า Mean Daily Motion ของราหู(Moon’s Node) มีค่าเป็นดังนี้

                   ราหู Moon’s node  3’ 11”

ในตอนนี้ เราทำการหา True Daily Motion และ ตำแหน่งจริงของราหูไปพร้อมกัน

 

ตำแหน่งของ ราหู ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน

                                                                   ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ตำแหน่งของราหู ณ เวลาเที่ยงคืน อุชเชนี             9        24      26      4                 

          บวก ค่าแก้เทศานตรผล                            +                        -1     21     

          ตำแหน่งของราหู ณ เวลาเที่ยงคืน วอชิงตัน           9        24      24      43

       จะได้   9 ราศี 24 องศา 24 ลิบดา 43 ฟิลิบดา เป็นตำแหน่งของราหู ณ เวลาเที่ยงคืน วอชิงตัน

           สำหรับการหาตำแหน่งจริงของราหู นั้น เราสามารถใช้ปริมาณสัมพันธ์ที่คำนวณหาค่าการเคลื่อนที่แท้จริงของจันทร์มาช่วยในการหาค่าได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจาก ราหูหรือ Node  แท้จริงแล้ว ก็คือ จุดตัดของวงโคจรระหว่างโลกกับดวงจันทร์(มุมมองของดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง-heliocentric) หรือ จุดตัดวงโคจรของจันทร์กับระนาบสุริยวิถี(ในมุมมองของคนบนโลกหรือ geocentric)  นั่นเอง

          โดยลักษณะการเคลื่อนที่ของ Node นั้นจะมีการเคลื่อนแบบถดถอยเชิงเส้นตรง กระเถิบไปช้าๆในทิศทางที่สวนกันกับการเคลื่อนที่ของดาวอื่นๆ

          สำหรับขั้นตอนการคำนวณ ทำได้ดังนี้

          นำขนาด epicycle เชิงมุม ณ จุดนั้น ของจันทร์มาเข้าสัดส่วนดังต่อไปนี้

รอบวงเชิงมุม / ขนาด epicycle เชิงมุม ณ จุดนั้นของจันทร์  = อัตราเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันของ Node / อัตราการเคลื่อนที่แท้จริงต่อวันของ Node

ตัวหน่วยในการคำนวณ จะใช้เป็นองศาหรือว่าลิบดาหรือเล็กกว่านี้ก็ได้ แต่ขอให้เป็นการใช้หน่วยแบบเดียวกันและแปลงหน่วยให้ถูกต้องกันเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มการคำนวณ

จากนั้น นำอัตราการเคลื่อนที่แท้จริงต่อวันของ Node ไปหักลบจากอัตราการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวัน

จะได้ ระยะเคลื่อนที่ตอวันที่แทจริงของ Node (Node’s True Daily Motion)

จากตัวอย่างนี้ เริ่มแรก ให้นำขนาดของ epicycle เชิงมุม ของจันทร์ที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้ กลับมาใช้งานกันอีกครั้ง

epicycle เชิงมุม ที่คำนวณได้ ของจันทร์ คือ  31 องศา 47 ลิบดา

อัตราการเคลื่อนที่เฉลี่ยของ Node คือ 3 ลิบดา 10 ฟิลิบดา

รอบวงเชิงมุม คือ 360 องศา หรือ 21600 ลิบดา หรือ 1296000 ฟิลิบดา

จากสูตร สัดส่วนดังกล่าว จะได้ว่า

รอบวงเชิงมุม / ขนาด epicycle เชิงมุม ณ จุดนั้น  = อัตราเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันของ Node / อัตราการเคลื่อนที่แท้จริงต่อวันของ Node

360/31 47 =3 10 /อัตราการเคลื่อนที่แท้จริงต่อวันของ Node

คำนวณแล้วได้ว่า อัตราการเคลื่อนที่แท้จริงต่อวันของ Node คือ 17 ฟิลิบดา

จากนั้น นำอัตราการเคลื่อนที่แท้จริงต่อวันของ Node ไปหักลบจากอัตราการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวัน

จะได้ ระยะเคลื่อนที่ตอวันที่แทจริงของ Node (True Daily Motion Of Node)

3’ 10” - 17” = 2’ 53”

เมื่อนำมาลบกับ moon’s node mean long midnight washington จะได้
                                                                  
ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา
         
ตั้งมัธยม ราหู ณ เวลาเที่ยงคืน วอชิงตัน               9        24      24      43                         

          ลบ ระยะเคลื่อนที่ตอวันที่แทจริงของ Node  -                           2       53     

          ตำแหน่งจริง True long. Node                       9        24      21       50

 

          ในที่นี้ การคำนวณตำแหน่งจริงของราหู พึงระวังไว้เสมอว่า ราหูนั้น มีทิศโคจรที่สวนทางกับดาวอื่นๆ ฉะนั้น 

ตัวเลขอัตราการเคลื่อนที่จะต้องมีเครื่องหมายลบ นำหน้า เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างกัับทิศทางโคจรของดาวอื่นๆ

และการเคลื่อนที่ของ Node นั้นเป็นการเคลื่อนแบบถดถอยเชิงเส้นตรง พูดง่ายๆคือ ถอยหลังไปเรื่อยๆแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีการเดินหน้า โปรดใช้ความระมัดระวังในการคำนวณ.

          หมายเหตุประกอบการคำนวณ

          วิธีการที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ เรียบเรียงวิธีการมาจากการคำนวณหาสุริยุปราคาตามเอกสารของคุณเกียรติขจร ชัยเธียร เจ้าเดิมจากลิงค์นี้ http://jayadhira.blogspot.com/2010/09/blog-post_1600.html ซึ่งในภาคผนวกท้ายของเอกสารส่วนหนึ่ง มีขั้นตอนในการหาระยะเคลื่อนที่ตอวันที่แทจริงของจุดปาท ของดวงจันทร์ (Node ของดวงจันทร์)หรือที่เรียกกันว่า ราหู อยู่ เมื่อได้มาแล้ว ก็เทียบเคียงเข้ากับวิธีการของการหา epicycle True Daily Motion ของจันทร์อีกทอดหนึ่ง จึงได้มาเป็นดังสูตรที่แสดงไว้แล้วข้างต้น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์