สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 6

 สุริยสิทธานตะ- Reboot-คำนวณตำแหน่งดาว-ตอนที่ 6

          การหาตำแหน่งดาว ณ วอชิงตัน เวลาเที่ยงคืน วันที่ 1 มกราคม 1860

การหา True Daily Motion ของแต่ละวัตถุ

          ข้อมูลที่ควรมีคือ Mean Daily Motion ของแต่ละวัตถุ ดังนี้

          อาทิตย์   59’ 8”

          จันทร์  13 10’ 34” 52’’’ หรือ 790’ 35”

          อุจจ์จันทร์  Moon’s apsis  6’ 41”

          ราหู Moon’s node  3’ 11”

 

ในตอนนี้ เราหา True Daily Motion ของอาทิตย์ กันต่อ

          ตัวอย่างที่สี่ คำนวณหา True Daily Motion ของ ดวงอาทิตย์

         

          หาตำแหน่ง mean anomalistic ของอาทิตย์

                                                                                   ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ตำแหน่งมัธยม อุจจ์อาทิตย์ ณ วันคำนวณ            2        17      17      24     

          สำหรับอุจจ์อาทิตย์นี้ ให้ถือว่า ไม่เคลื่อนที่ (จริงๆแล้วเคลื่อนที่ แต่มีค่าน้อยมากๆ สามารถตัดทิ้งได้)

          ฉะนั้น  

          sun's mean anomalistic                                    0        0        59      8

         

          จากการหา True Place ของอาทิตย์

          เราได้ sun's mean anomaly     เป็น                   5        29      4        11

 

          หาค่า sine ของ มุม mean anomaly คือ  56 ลิบดา

          กรณีนี้ ค่า sin มีค่าน้อยกว่า ค่าที่เล็กที่สุดในตาราง โดยค่าที่เล็กที่สุดในตารางคือ 3 องศา 45 ลิบดา หรือ 225 ลิบดา

            จากการเปิดตารางค่า sin ได้ค่า ผลต่าง sin เป็น 224 ซึ่งเป็นค่าผลต่าง sin ที่เล็กที่สุด

          ดังนั้น สำหรับมุมที่น้อยกว่า 3 องศา 45 ลิบดา ให้ใช้ค่าผลต่าง sin เป็น 224 แทนทั้งหมด

          จากนั้น เอามาเทียบสัดส่วนกันดังนี้

          225 / ผลต่าง sin = ค่า mean anomalistic / ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น

          จะได้ 225 ลิบดา/ 224 ลิบดา= 59 ลิบดา 8 ฟิลิบดา / ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น

          ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น = 59’ 8” x (224 / 225)

          ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น = 58.8705 ลิบดา

          dimension ของ epicycle True Daily Motion สำหรับอาทิตย์ ไม่เปลี่ยน

          สัดส่วนที่ได้ เป็นดังนี้

รอบวงเชิงมุม / ขนาด epicycle เชิงมุม ณ จุดนั้น= ผลต่างความเร็วเชิงมุม ณ จุดนั้น/ epicycle True Daily Motion

 

          จะได้  360 องศา/ 14 องศา = 58.8705 ลิบดา / epicycle True Daily Motion

          epicycle True Daily Motion = 58.8705 x (840 / 21600)

         

          epicycle True Daily Motion =2’ 18”

                   ในทำนองเดียวกัน กับ sin bhujajya phala

          ค่า mean anomaly ถ้า มากกว่า 9 ราศี หรือ น้อยกว่า 3 ราศี 

          ค่าแก้ epicycle True Daily Motionนำไปหักลบ

          แต่ถ้าจะนำไปบวก ถ้า ค่า anomalyน้อยกว่า 9 ราศี หรือ มากกว่า 3 ราศี

     ตรวจสอบจาก sun anomaly  แล้ว พบว่า มากกว่า 3 ราศี อยู่ใน q2 ฉะนั้น ค่าแก้นี้ นำมาบวก

          เมื่อนำมาบวกกับ sun mean daily motion หรือ ความเร็วโคจรเฉลี่ยต่อวัน ของอาทิตย์จะได้

                                                                               ราศี     องศา    ลิบดา   ฟิลิบดา

          ความเร็วโคจรเฉลี่ยต่อวันของอาทิตย์             0        0        59      8                                    

          บวก epicycle True Daily Motion +               0        0        2        18

          ความเร็วโคจรจริง True Motion Sun              0        0        61      26

 

          จะได้   61 ลิบดา 26 ฟิลิบดา เป็นความเร็วโคจรจริง True MotionSun ณ เวลาที่คำนวณ

 

สำหรับขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมด คือ สิ่งที่ผู้เขียนสรุปมาได้จากวิธีการภายในตำราของ E.Burgess เท่าที่สามารถเรียบเรียงออกมาได้ตามความสามารถของตัวเอง ณ ขณะนั้น แต่ในภายหลัง เมื่อได้พบวิธีการของท่านศาสตรจารย์ S.Balachandra Rao. และใช้งานออกมาแล้ว จึงพบว่า ยังคงขาดอยู่อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ ซึ่งมีการสืบทอดต่อกันมาในคัมภีร์สารัมภ์และสุริยยาตร์ด้วย นั่นก็คือ การหาค่าของสมผุสราหู หรือ True Long. Node นั่นเอง

          ในการหาค่าสมผุสราหูหรือ  True Long. Node  เข้าใจว่า อาจมีเขียนบอกไว้ในเอกสารของ E.Burgess เพียงแต่ความสามารถของผู้เขียน ณ ขณะนั้น อาจจะยังไม่มีความเข้าใจที่ดีพอ จึงไม่ทันได้สังเกตก็เป็นได้

          อย่างไรก็ดี นับว่ายังโชคดีที่มี เอกสารของคุณเกียรติขจร ชัยเธียร เจ้าเดิมจากลิงค์นี้ http://jayadhira.blogspot.com/2010/09/blog-post_1600.html   ที่ได้กรุณาเรียบเรียงวิธีการคำนวณหาสุริยุปราคา ณ วันที่ปรากฎในบทความ เอาไว้ให้ ซึ่ง ผู้เขียนได้อาศัยแนวทางนี้ ในการตามหาวิธีคำนวณหาสมผุสราหู

ที่ในเอกสารใช้คำว่า ระยะเคลื่อนที่ตอวันที่แทจริงของจุดปาท ของดวงจันทร์ โดยคำว่า จุดปาทของดวงจันทร์นั้นก็คือ จุด Node ของดวงจันทร์หรือว่า ราหู นั่นเอง

          และโดยการเทียบเคียงสิ่งนี้ เข้ากับวิธีการของ . Rao ที่ได้ศึกษามาเพิ่มเติมในภายหลัง ทำให้สามารถเรียบเรียงออกมาเป็นวิธีการคำนวณหาสมผุสราหู ต่อยอดออกมาจากข้อมูลเดิมที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงไว้เพียงแค่การหาตำแหน่งเฉลี่ยของราหู ณ เมืองวอชิงตัน จนได้เป็นสมผุสราหู ณ เมืองวอชิงตัน ในที่สุด ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในตอนหน้า.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์