ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565

 ประกาศอุปราคา จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565

เป็นจันทรุปราคาที่น่าสนใจ เพราะเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ก็คืออีกราว 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นวันลอยกระทงพอดี ในปีที่แล้ว ทุกอย่างเกิดขึ้นใต้ขอบฟ้าเมืองไทย ทำให้สุดท้าย สิ่งที่สังเกตได้เหลือเพียงแค่ FullMoon เท่านั้น

แต่ในปีนี้ ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้า ตั้งแต่เวลา 17:44 น.(ณ เวลา กทม.) ทำให้มีโอกาสเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง(เข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวง)อยู่นานพอสมควร

และปีนี้ เป็นปีแรก ที่ขอสละเรือจากการคำนวณผ่านคัมภีร์สารัมภ์ ไปลองของกับคัมภีร์ทางต้นสายอันมีชื่อว่า สุริยสิทธานตะ ซึ่งเคยทดสอบมารอบหนึ่งแล้วกับจันทรุปราคา ณ เวอร์จิเนียบีช สหรัฐอเมริกา กับการทดสอบหา FullMoon มาแล้วสักระยะหนึ่ง

ผลการคำนวณอุปราคา จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565

สรุปข้อมูล Eclipse 8 November 2022 จากบรรดาข้อมูลทางดาราศาสตร์

ในที่นี้ จะขอแสดงเฉพาะช่วงระยะเวลาระหว่าง U1 ไปจนถึง U4 เท่านั้น เพื่อให้สามารถพิจารณาร่วมกับการคำนวณอุปราคาด้วยคัมภีร์โบราณ เนื่องจากของเดิมนั้น วัดกันที่เวลาเริ่มเข้าสู่เงามืดเป็นสำคัญ

ข้อมูลหลักจาก Nautical Almanac 2022  เป็นดังนี้

09:14 UTC begin of partial eclipse (U1)

10:19 UTC begin of total eclipse (U2)

11:00 UTC moment of greatest eclipse

11:41 UTC end of total eclips (U3)

12:46 UTC end of partial eclipse (U4)

แปลงให้เป็นเวลาบ้านเรา(เวลา ณ ประเทศไทย) แล้วจะอยู่ที่

16:14  begin of partial eclipse (U1)

17:19  begin of total eclipse (U2)

18:00  moment of greatest eclipse

18:41  end of total eclips (U3)

19:46  end of partial eclipse (U4)

*********************************************

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565                              

โดย สมาคมดาราศาสตร์ไทย       

เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน       16:09:12                           

เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง        17:16:39                           

ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด       17:59:10                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง         18:41:39                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน        19:49:05                           

*********************************************

ค่าคำนวณจากสูตรของ Jean Meeus J2000

Delta T=72 s

สรุปตัวเลข

เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน       16:13:47                           

เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง        17:14:55                           

ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด       17:57:09                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง         18:39:23                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน        19:46:27

คำนวณจากสูตรยุคหิน J1900 by Jean Meeus

Delta T =72 s

สรุปตัวเลข

เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน       16:08:45                           

เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง        17:15:51                           

ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด       17:58:02                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง         18:40:13                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน        19:47:19

***************************************************

คำนวณโดยใช้คัมภีร์สุริยสิทธานตะ ผลการคำนวณเป็นดังนี้

สำหรับการคำนวณ ผ่านวิธีการของตำรา Surya Siddhanta
Kali Ahargana = 1871426

แบ่งการคำนวณออกเป็น 2 รูปแบบ กล่าวคือ

หนึ่ง วางพิกัดไว้ ณ เส้นแวง 105 องศา หรือ (GMT+7:00,UTC+7:00)  อันเป็นเวลาท้องถิ่น จ.อุบลราชธานี ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเวลามาตรฐานของประเทศไทยปัจจุบัน ผ่านค่าแก้เทศานตรผล จากนั้น ทำการคำนวณไปตามขั้นตอน

สรุปตัวเลข

เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน       16:09:22                           

เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง        17:12:45                          

ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด       18:00:00                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง         18:48:49                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน        19:52:13

        สอง ปรับพิกัดย้อนคืนสู่ จุดเริ่มต้น คือ เมืองอุชเชนี แล้วอาศัย การคำนวณช่วงห่างของเวลา ผ่านค่าแก้เทศานตรผล

ย้อนกลับมายังประเทศไทย

สำหรับค่าแก้เทศานตรผล เส้นแวงในพิกัดเวลามาตรฐานประเทศไทย(เส้นแวง 105 องศา) =1.95

สรุปตัวเลข

เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน       16:06:28                           

เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง        17:09:56                 

ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด       17:57:00                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง         18:48:49                           

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน        19:49:11

มีข้อควรพิจารณาสำหรับข้อมูลที่ได้จากการคำนวณผ่านวิธีการของ Surya Siddhanta โดยพบว่า

ค่ากึ่งกลางคราสที่ได้มานั้น มีค่าที่แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับค่าจากทางดาราศาสตร์สากล กล่าวคือ

ค่าที่มาจากการตั้งพิกัดที่ อุชเชนี ได้เวลาน้อยกว่าดาราศาสตร์สากลราว 2-3 นาที แต่ เมื่อตั้งพิกัดไว้ที่จุดของประเทศไทย เส้นแวง 105 องศาเวลามาตรฐาน เวลาที่ได้มากลับใกล้เคียงกันกับดาราศาสตร์สากล ซึ่งรวมถึงเวลาแรกจับด้วย คือ แทบจะเป็นเวลาเดียวกัน (16:09:xx) แตกต่างกันแค่หลักวินาทีเท่านั้น   แต่กลับพบว่า ค่าเวลาคลายออกนั้น แตกต่างออกไป โดยค่าที่คำนวณจากการตั้งพิกัดอุชเชนีแล้วเทียบกลับมายังประเทศไทย เวลาคลายออกมีความใกล้เคียงกับดาราศาสตร์สากล โดยมีความแตกต่างอยู่ในระดับหลักวินาที ขณะที่เวลาคลายออกที่คำนวณจากพิกัดเส้นแวง 105 องศาเวลามาตรฐานของไทยเองนั้น มีความต่างมากกว่ากันราว 2 นาที จากดาราศาสตร์สากล ถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกอยู่พอสมควร

สำหรับเรื่องของหลักวิชานั้น ยังเป็นอะไรที่ต้องศึกษาค้นคว้ากันอยู่ต่อไป เพราะสูตรการคำนวณแต่ละแบบก็ให้คำตอบที่ออกมาไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นวัตถุฟ้าเดียวกัน  ทั้งนี้ เนื่องมาจากบรรดาค่าแก้และการผูกสูตรต่างๆที่ไม่เหมือนกันครับ.

สำหรับอุปราคารอบนี้ ใครที่ชอบการถ่ายรูป สมควรแก่การตระเตรียมอุปกรณ์กันไว้แต่เนิ่นๆ อย่าได้ชะล่าใจ หากพลาดไปแล้ว โอกาสแก้ตัวใหม่คงต้องรอกันอีกทีหนหน้า ที่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ หากไม่ได้ติดตาม

ทางที่ดีเตรียมตัวให้พร้อมไว้ก่อนจะดีกว่า สำหรับปีนี้ มีอุปราคาให้ดูเพียงเท่านี้ ไว้ว่ากันใหม่อีกที ในปีหน้า

 ขอจบแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์