เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก Special EP

 เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก Special EP

          มีของแถมเพิ่มเติม จากการคำนวณหาอุปราคา ในวันที่ 16 พ.ค. 2565 ณ อเมริกา เล็กน้อย

โดยเรื่องนี้ มีที่มาจากความเมาหมัดระหว่างการทดสอบคำนวณ เนื่องด้วยความสับสนในค่าที่ต้องคำนวณบางส่วนระหว่างหน่วยองศากับลิปดา ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในบางขั้นตอนของการคำนวณพร้อมกับกระทบเป็นลูกโซ่มายังการหา Half Durations

          เนื่องจากขั้นตอนการคำนวณในคัมภีร์ จะมีการหา Half Durations Of Eclipse และ  Half Durations Of Total Obscuration(การบังกัน) อยู่สองรอบ โดยหาค่าไว้ในรอบแรกก่อนหนึ่งรอบ แล้วค่อยวนซ้ำ แยกย่อยคำนวณหากันในแต่ละจุดต่อไป แต่เมื่อมันสะดุดที่รอบแรก ผลก็คือ ไปต่อไม่ได้ คำนวณอะไรต่อไม่ได้เลย

          แล้วต้องทำอย่างไร ในเมื่อเราจะต้องสรุปตัวเลขแบบคร่าวๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบ เลยหวนนึกถึงวิธีการอันหนึ่งของท่านอารยภัฎขึ้นมาได้ เพราะวิธีการนี้ มีงานค้นคว้าที่บ่งชี้ได้ว่า หลักการของมันได้ถูกส่งต่อมายังคัมภีร์สารัมภ์และคัมภีร์ดาราศาสตร์โบราณอย่างอื่นๆที่ปรากฎอยู่ในแถบภูมิภาคอุษาอาคเนย์แห่งนี้
ซึ่งวิธีการที่ใช้ก็คือ นำค่าจากการหา Half Durations Of Eclipse และ  Half Durations Of Total Obscuration เข้ามาใช้เลย

ไหนๆก็ไหนๆ แล้ว ลองกันดูสักหน่อยไม่เสียหาย สรุปก็คือ หยิบจับเฉพาะตัวเลขที่เป็นการคำนวณจาก Half Duration ซึ่งมีสองส่วนคือ  Half Duration Of Eclipse กับ Half Durations Of Total Obscuration(การบังกัน) มานำเสนอกันดู ผลที่ได้ เป็นไปดังแสดงด้านล่างนี้

Arayabhat Style Half Duration Calculations                                                             

                                                   UJMT LocBhjSM LocBhjSMN UJBhjSM UJBhjSMN Modern

                                                      เวลา    เวลา        เวลา               เวลา        เวลา           UTC-4

เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน  U1      21:54   22:21      22:21           22:57     22:21      22:34       

เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง   U2      22:58   23:49     23:49            23:22     23:49     23:32        

จันทร์เข้าเงาลึกสุด         Mx          0:11    0:15      0:15                 0:12    0:15         0:12         

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง U3     0:39    0:40      0:40                0:38    0:40         0:53         

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน U4    1:42    2:08      2:08                1:41    2:08         1:51              

สำหรับผลที่ได้บางตัวอาจแลดูโดดๆไปจากกลุ่มบ้าง ราวๆ 20 นาทีหรือมากกว่านั้น แต่ในภาพรวมก็ยังคงมีความใกล้เคียงกันอยู่ในบางเฟส การที่จะได้คำตอบที่ดีขึ้นนั้น ต้องอาศัยการทำซ้ำ ตามหลักและวิธีการเพื่อให้แน่ใจในความถูกต้อง แต่การทำซ้ำนั้นเป็นงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน รวมถึงค่อนข้างใช้เวลาในระดับหนึ่ง ในยุคสมัยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ จึงถือเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถของคนทำได้ดีพอสมควร

          ขอจบการนำเสนอพิเศษแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี.

หมายเหตุเพิ่มเติม

          สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจวิธีการดังกล่าว
อธิบายง่ายๆก็คือ เริ่มต้นที่การคำนวณหาจุดกึ่งกลางคราสมาให้ได้ก่อน

ต่อจากนั้น ค่อยคำนวณหาทั้ง Half Duration Of Eclipse และ Half Duration Of Total Obscuration ตามลำดับ ก่อนจะนำค่า Half ทั้งสองนี้ มาลบออกและบวกเข้าจากจุดกึ่งกลางคราส เท่านี้ก็จะได้ห้วงเวลาทั้งหมดของปรากฎการณ์ ซึ่งบรรดาขั้นตอนเหล่านี้ ได้ถูกถ่ายทอดมายังวิธีการคำนวณแบบดาราศาสตร์สากลสมัยใหม่อีกด้วย โดยข้อแตกต่างจะอยู่ที่วิธีการและขั้นตอนในการตามหาค่าของจุดกึ่งกลางคราส ,Half Duration Of Eclipse และ Half Duration Of Total Obscuration ที่มีความละเอียด แม่นยำมากยิ่งขึ้น ตามเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นตามกาลเวลา.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์