เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 2

เพ็ญจันทร์วิสาขบูชา พร้อมอุปราคาในอีกหนึ่งซีกโลก EP 2

          ในคราวก่อนได้บอกกันไปว่า วันที่ 16 .. 2565 นอกจากเป็นวันเพ็ญแล้วยังมีอุปราคาเกิดในวันนั้นอีกด้วย แต่ยังไม่ได้บอกถึงผลการคำนวณ ในตอนนี้ เราจะมาสาธยายเรื่องนี้กัน

          อันดับแรก ขอยกข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยและ Nautical Almanac

มาให้ชมกันก่อนตามนี้

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 16 พฤษภาคม 2565                              

เหตุการณ์                                     เวลา              UTC    UTC-4 

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก          8:32:06          1:40    21:40   P1

2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน              9:27:53          2:34    22:34   U1

3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง               10:29:04        3:32    23:32   U2

4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด             11:11:30        4:12    0:12    Mx

5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง                11:53:57        4:53    0:53    U3

6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน               12:55:09        5:51    1:51    U4

7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก           13:50:51        6:45    2:45    P4                         

(ขนาดอุปราคา = 1.4137)        

          ซึ่งจะเห็นได้ว่า มันเกิดเพ็ญกันเวลากลางวันของบ้านเรา แต่ ณ เวลานั้น ในอีกซีกโลก จะเกิดเป็นอุปราคาแน่ๆ ในส่วนตัวเลขของเวลาสากล UTC และเวลาท้องถิ่นที่เกิด ได้ขอยืมใช้โซนเวลาของ Virginia Beach มาทดสอบโดยเวลาในโซนนี้จะช้าไปจาก UTC อยู่ 4 ชั่วโมง(ส่วน ของบ้านเรานั้น ก็จะเร็วกว่า UTC ไป 7 ชั่วโมงครับ) (พิกัด Longitude ของ Virginia Beach คือ 75.9779 deg W)


สำหรับชุดเวลาจากผลการคำนวณด้วยกรณีต่างๆ ที่กล่าวเอาไว้ในตอนที่แล้ว แสดงไว้ที่ด้านล่างนี้

                                     LocW UJMT LocBhjSM  LocBhjSMN  UJBhjSM  UJBhjSMN

เหตุการณ์                               เวลา   เวลา     เวลา         เวลา         เวลา       เวลา        Phase

เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน    22:21  22:16  22:21         22:22     22:58      22:57         U1

เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง     23:33  23:15  23:19         23:24     23:22      23:22         U2

จันทร์เข้าเงาลึกสุด              00:09  00:11  0:15          00:15     00:12       00:12         Mx

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 00:44  00:53  0:40          01:06     00:38      00:38         U3

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 01:56 01:30  2:08          02:09     01:41      01:41         U4

         

Abbrv. LocW= 1 LocalTime Wrong Desantara, UJMT=2 Ujjain Mean Time,
          LocBhjSM=301 LocalTime With Bhujantara Of Sun And Moon,

          LocalBhjSMN=302 LocalTime With Bhujantara Of Sun Moon and Node,
          UJBhjSM = 401 Ujjain Mean Time with Bhujantara Of Sun And Moon,

          UJBhjSMN = 402 Ujjain Mean Time with Bhujantara Of Sun Moon and Node

หมายเหตุ สำหรับ UJBhjSM และ UJBhjSMN นั้น พบความไม่สมมาตรของเวลาส่วน Half Duration

ยกตัวอย่างเช่น Half Duration สำหรับเฟส U1 ของ UJBhjSMN นั้น มีค่าเป็น 0.841834466 แต่ Half Duration ในเฟส U4 กลับมีค่าเป็น 1.901463428 ไม่ใช่ค่าที่มีความใกล้เคียงกับเฟส U1 แต่ประการใด ซึ่งตามปกติแล้ว ในการคำนวณ ค่าสำหรับเฟส U1 และ U4 จะมีค่าใกล้เคียงกัน และค่าของเฟส U2,3 จะลดหลั่นกันลงไปตามสัดส่วนที่น้อยกว่าเฟส U1,4 เพราะใช้วิธีการหารเฉลี่ยแบบแบ่งครึ่งมาจากจุดกึ่งกลางคราส แสดงให้เห็นว่า ในการใช้ค่าภูจันทร์มาช่วยงานนั้น มีผลกระทบต่อสัดส่วนของค่า Half Duration ในแง่ของความสมมาตรอยู่ระดับหนึ่ง

          อีกอย่างคือ ในส่วนของผลการคำนวณนั้น ชุดตัวเลขต่างๆขอให้ลองเปรียบเทียบกันดูกับผลจากดาราศาสตร์สากลก่อน ว่า เป็นอย่างไร ใกล้เคียงหรือแตกต่าง มากน้อยเพียงไร โดยใช้ค่าจากดาราศาสตร์สากลเป็นเครื่องเทียบเคียง เพื่อเป็นแนวทางให้เห็นว่า หลักเกณฑ์ในตำรายังคงมีการใช้งานได้ดีมากน้อยหรือไม่ อย่างไร และมีจุดไหนที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมได้อีก ในอนาคต

          สำหรับช่วงนี้ ผู้เขียนจะขอเสนอผลการคำนวณอะไรต่างๆผ่านการคำนวณด้วยคัมภีร์สุริยสิทธานตะไปพลางก่อน สำหรับแนวทางในการคำนวณ ต้องขอติดเอาไว้ เพราะต้องใช้เวลาในการเรียบเรียงขั้นตอน จากบรรดาตำราที่ได้เก็บข้อมูลมาให้เรียบร้อยก่อน จริงอยู่ ที่ขั้นตอน มองแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรมาก แต่ลักษณะในการคำนวณดูจะยุ่งยากและซับซ้อน อีกทั้ง ตัวตำราเอง มีการใช้ตาราง sine แบบเฉพาะตัว ประกอบในการคำนวณค่อนข้างมากพอสมควร อาจทำให้ผู้คำนวณในยุคปัจจุบัน ที่มีพื้นฐานความรู้ ในการใช้ตารางตรีโกณมิติแบบปัจจุบัน เกิดความปวดหัวได้ ต้องอาศัยการดัดแปลงตามแนวทางที่ผู้รู้ได้วางไว้ให้ ซี่งผู้เขียนก็เลือกที่จะเดินตามแนวทางนี้เช่นกัน เพราะใช้เวลาในการทำความเข้าใจที่ง่ายกว่า (ของเดิมที่เป็นตำราแสดงวิธีการมาก่อนหน้านั้น แทบจะเรียกว่าจับทางอะไรแทบไม่ได้เลยครับ เพราะผู้เรียบเรียงท่านนั้น ได้ทิ้งอะไรไว้กลางทางเยอะมากๆ คิดดูว่า แม้แต่ชาวพื้นถิ่นที่เป็นต้นฉบับของตำราเองยังตำหนิอยู่เลยครับ ส่วนผู้เขียนเองก็เกือบจะเป็นสยมภูไปแล้วเหมือนกัน ส่วนของใหม่ นี้ ผู้รู้เป็นศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญและเป็นชาวพื้นถิ่นเจ้าของตำรามาเอง แบบนี้รู้เรื่องครับ หายห่วงแน่นอน)

 

แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดี.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

Julian Date หรรษา

กรณีศึกษา การทดสอบใช้สมการสุริยยาตร์ หาสมผุสดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์